ประโยชน์ของน้ำมันถั่วลิสง ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประโยชน์ของน้ำมันถั่วลิสง ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

น้ำมันถั่วลิสง คือน้ำมันพืชชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากถั่วลิสงที่เราคุ้นตากันนั่นเอง โดยมีกลิ่นและกรดไขมันเฉพาะตัวที่เหมาะสำหรับการนำมาประกอบอาหารเป็นอย่างมาก ช่วยชูรสชาติให้กับเมนูอาหารต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่หลายปีที่ผ่านมานั้น น้ำมันถั่วลิสงมักจะถูกคิดว่าเป็นน้ำมันที่มีคอเลสเตอรอลสูงอันเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ แต่ในความจริงแล้ว น้ำมันชนิดนี้กลับมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการอย่างมาก ซึ่งเราจะพาคุณไปติดตามดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมันถั่วลิสง

น้ำมันถั่วลิสงในจำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงานทั้งหมด 45 แคลอรี ซึ่งเป็นไขมันทั้งหมด 4.8 กรัม ประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัว 0.7 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1.9 กรัม และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 1.5 กรัม อุดมไปด้วยวิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค โพแทสเซียม ไอโอดีน และกรดต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น Myristic acid, Palmitic acid, Stearic acid, Oleic acid, Linoleic acid, Linolenic acid, Arachidic acid และ Behenic acid ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประโยชน์ของน้ำมันถั่วลิสง

ถั่วลิสงที่ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแล้ว เชื่อหรือไม่ว่าในส่วนของน้ำมันถั่วลิสงก็อุดมไปด้วยประโยชน์ที่มีดีต่อร่างกายไม่แพ้กัน เราไปดูกันว่ามีดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

  1. ช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด น้ำมันถั่วลิสงอุดมไปไขมันดีที่ช่วยกระตุ้นต่อมหมวกไต ถุงน้ำดี และฮอร์โมนต่างๆ โดยสามารถดึงเอาไขมันไปใช้งานได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไขมันดีในน้ำมันถั่วลิสงจะเข้าไปเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) ช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง และเส้นเลือดตีบ
  2. ป้องกันรักษาโรคหัวใจ น้ำมันถั่วลิสงมีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษาโรคหัวใจให้กับคุณได้ เนื่องจากน้ำมันถั่วลิสงมีส่วนประกอบของกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้ไขมันไม่ไปอุดตันการทำการของระบบเลือดและระบบหัวใจ หัวใจจึงแข็งแรงและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจลงได้
  3. ระบบขับถ่ายดีขึ้น น้ำมันถั่วลิสงมีสรรพคุณในการดูแลระบบขับถ่ายให้เป็นปกติยิ่งขึ้น ช่วยแก้ปัญหาด้านการขับถ่ายต่างๆ เช่น ท้องผูก ถ่ายยาก ท้องเสีย หรืออุจจาระไม่สุด โดยสามารถรับประทายน้ำมันถั่วลิสงอย่างเป็นประจำ ก็จะช่วยปรับสมดุลและเสริมสร้างระบบขับถ่ายให้กลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติยิ่งขึ้น
  4. ลดอาการปวดไมเกรน ผลการวิจัยจากหลายสถาบันทางการแพทย์ทำให้พบว่า พลังงานจากไขมันของน้ำมันถั่วลิสงนั้นสามารถช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น จนทำให้สามารถลดอาการปวดไมเกรนหรืออาการปวดหัวต่างๆ เสริมระบบก้านสมองให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ กระตุ้นการทำงานของสมองให้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดไมเกรนลงได้

ไอเดียการใช้น้ำมันถั่วลิสงเพื่อสุขภาพ

น้ำมันถั่วลิสง นอกจากการนำมาทานบำรุงสุขภาพร่างกายเหมือนเช่นน้ำมันชนิดอื่นๆ แล้ว เรายังสามารถนำมาใช้สำหรับการดูแลบำรุงร่างกายภายนอกได้อีกด้วย ซึ่งก็มีไอเดียการนำมาใช้ดังนี้

  1. ลดอาการปวดเมื่อย นอกจากน้ำมันถั่วลิสงจะสามารถนำไปรับประทานได้แล้ว ยังสามารถนำมานวดเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกายได้อีกด้วย เนื่องจากความร้อนจากน้ำมันถั่วลิสงจะช่วยทำให้เส้นประสาทใต้ผิวหนังคลายตัวและยังทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี
  2. พอกหน้าเพิ่มความอ่อนเยาว์ น้ำมันถั่วลิสงมีสารโพลีฟีนอลและวิตามินอีเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสรรพคุณในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี จึงช่วยทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดีขึ้น หน้าใส เปล่งปลั่ง และลดจุดด่างดำได้ดี เพียงนำน้ำมันถั่วลิสงมาทาและพอกบนใบหน้า ปล่อยไว้ประมาณ 5 – 10 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาด แนะนำให้ทำก่อนนอนเป็นประจำ จะรู้สึกได้ว่าสภาพผิวหน้าดีขึ้นมาก โดยเฉพาะริ้วรอยต่างๆ จะเริ่มลดลง ผิวหน้าเปล่งปลั่ง เนียนนุ่มและอ่อนเยาว์มากยิ่งขึ้นทีเดียว

ไอเดียการกินน้ำมันถั่วลิสงเพื่อสุขภาพ

น้ำมันถั่วลิสง อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันนักกับการนำมาประกอบเมนูอาหาร อย่างการนำมาผัดหรือทอด แต่วันนี้เราจะขอนำเสนอไอเดียการนำน้ำมันถั่วลิสงมาใช้กินเพื่อสุขภาพ ไปติดตามกันได้เลยดังนี้

1.แครกเกอร์หน้าตั้ง

แครกเกอร์ถือเป็นของทานเล่นที่ใครหลายคนชอบ แต่หากนำมาทานเปล่าๆ อาจจะไม่มีรสชาติและไม่ได้รับประโยชน์มากนัก เราจึงมีไอเดียการสร้างสรรค์เมนูแครกเกอร์หน้าตั้งเพื่อให้น่าทานมากขึ้นมาฝาก โดยเริ่มจากการนำกระเทียม พริกไทย และรากผักชีมาตำให้เรียบร้อย จากนั้นนำส่วนที่ตำมาผัดกับกะทิและน้ำมันถั่วลิสงเล็กน้อยให้แตกมันหอมฉุย ใส่กุ้งสับและหมูสับ ตามด้วยหอมแดงสับ ถั่วบด และกะทิที่เหลืออยู่ลงไปผัด ปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือ และน้ำปลาตามชอบ เคี่ยวต่อไปจนเข้ากันดี นำน้ำมันพริกเผาใส่ตามลงไป เสร็จแล้วนำมาเสิร์ฟและรับประทานกับแครกเกอร์ หรือจะโรยหน้าด้วยผักชีสักเล็กน้อยก็ได้

2.ผัดขนมผักกาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมนูสุขภาพที่มีส่วนผสมของผักเป็นส่วนประกอบหลัก เริ่มด้วยการเตรียมส่วนผสมอย่างน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู/พริกน้ำส้ม 1-2 ช้อนโต๊ะ และพริกป่น 1 ช้อนโต๊ะ นำขนมผักกาดมาหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ จากนั้นตั้งกระทะและใส่น้ำมันถั่วลิสงลงไป เมื่อร้อนดีแล้วให้นำขนมผักกาดลงไปทอดจนด้านนอกกรอบดี ให้เทน้ำมันถั่วลิสงออกแล้วเทซอสที่ผสมไว้ในตอนแรกลงไป ผัดต่อพร้อมกับใส่ถั่วงอกลงไป จากนั้นให้ชิมและปรุงรสจนได้รสชาติที่ชอบ แต่ต้องไม่ให้แห้งเกินไป หากแห้งสามารถเติมน้ำลงไปได้ ใส่ผักชีและคื่นช่าย ผัดต่อเล็กน้อย โรยหน้าด้วยถั่วดำเป็นอันเสร็จ เมนูนี้อาจจะใช้วัตถุดิบน้อย แต่เมื่อทำเสร็จแล้วรับประกันความอร่อยและได้ประโยชน์จากน้ำมันถั่วลิสงครบแน่นอน

3.ถั่วทอดเกลือ

นำถั่วลิสง 500 กรัมมาล้างน้ำให้สะอาดหลายๆ น้ำและนำมาพักเพื่อให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นตั้งกระทะด้วยไฟอ่อนและใส่น้ำมันถั่วลิสงลงไป เมื่อน้ำมันร้อนดีให้นำถั่วลิสงที่แห้งดีแล้วลงไปทอดจนเหลืองน่ารับประทาน นำขึ้นมาพักไว้เพื่อให้สะเด็ดน้ำมันและนำมาคลุกกับเกลือป่นเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เค็มมาก สำหรับใครที่กำลังมองหาเมนูทานเล่นหรือกับแกล้มในช่วงงานปาร์ตี้ เราขอแนะนำเมนูนี้ที่ทำง่ายและยังอร่อยยิ่งขึ้นเมื่อทอดด้วยน้ำมันถั่วลิสง

4.สลัดเต้าหู้ขาว

เตรียมเต้าหู้ 1 ก้อนนำไปจี่หรือย่างในกระทะด้วยไฟกลางจนเหลืองน่าทานทั้ง 2 ด้าน จากนั้นนำลงมาและหั่นเต้าหู้ให้เป็นแผ่นบางๆ มาต่อกันที่ส่วนผสมของน้ำสลัดอย่างหอมแดงสับ 1 หัว น้ำเต้าหู้ 1/2 ถ้วย น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสงคั่วบด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันถั่วลิสง 1 ช้อนชา เกลือป่นและงาขาวคั่วเล็กน้อย เตรียมงานสำหรับวางผักให้เรียบร้อยโดยคุณสามารถเลือกผักมาใช้ได้ตามความชอบ นำเต้าหู้ที่ทอดไว้ตอนแรกมาไว้ลงบนจานอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นราดด้วยน้ำสลัดที่ได้เตรียมไว้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เมนูนี้อัดแน่นไปด้วยผักที่มีประโยชน์ต่อสุขาพ นอกจากนี้ ยังมีคุณประโยชน์จากน้ำมันถั่วลิสงอีกด้วย

5.เนยถั่ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมนูนี้เป็นเมนูเพิ่มพลังงานและนำมาเป็นเมนูทานเล่นได้ด้วย เริ่มด้วยการนำถั่วลิสง 150 กรัม และเม็ดมะม่วง 50 กรัมมาคั่วด้วยไฟอ่อนประมาณ 30 นาที นำทั้ง 2 อย่างมาลงเข้าโถปั่นหรือเครื่องบดถั่ว พร้อมปรุงรสด้วยน้ำผึ้ง 1.5 ช้อนโต๊ะ น้ำมันถั่วลิสง 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะกอก 1 ช้องโต๊ะ และเกลือ 1/4 ช้อนชา ปั่นส่วนผสมทั้งหมดอย่างน้อยสองรอบเพื่อให้แน่ใจว่าถั่วและส่วนผสมทั้งหมดละเอียดจนเข้ากันดี จากนั้นนำออกมาลองชิมดู หากเหนียวไม่พอสามารถเติมน้ำผึ้งลงไปได้ เมนูนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบทำขนมหรืออยากจะหาเมนูเพิ่มพลังงานสำหรับใช้ในการออกกำลังกาย โดยสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อใช้รับประทานได้หลายวัน

ข้อควรระวัง

น้ำมันถั่วลิสงอาจจะมีข้อเสียในเรื่องของการคงสภาพของน้ำมันที่น้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ ทำให้เกิดไขและเกิดเหม็นหืนได้ง่าย ดังนั้น ก่อนนำมาประกอบอาหารหรือรับประทานควรตรวจสอบกลิ่นและสภาพของน้ำมันถั่วลิสงทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รวมไปถึงประมาณในการนำมาประกอบอาหารหรือรับประทานควรให้พอดีในแต่ละวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคคอเลสเตอรอลสูง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วลิสงควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดนี้อย่างเด็ดขาด

น้ำมันถั่วลิสงอาจจะไม่ได้รับความนิยมมากในนักบ้านเรา แต่ถือเป็นน้ำมันสำหรับปรุงอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะด้วยประโยชน์ของการทำให้อาหารมีรสชาติที่ดีขึ้น มาพร้อมสารอาหารต่างๆ หลากหลาย และยังมีราคาที่ไม่แพงมาก สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจหรือสนใจอยากจะนำน้ำมันถั่วลิสงมาใช้เพื่อประกอบอาหารกันดูบ้าง บทความนี้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยในการตัดสินใจให้คุณได้มากขึ้น

 

 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Physicochemical characteristics, functional properties, and nutritional benefits of peanut oil: a review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24580558)
Peanut Oil: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-483/peanut-oil)
Is Peanut Oil Healthy? The Surprising Truth. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/is-peanut-oil-healthy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป