กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

หลังจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แพร่กระจายในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน จนกระทั่งเกิดการระบาดไปยังหลายประเทศรวมถึงไทยด้วย ทำให้ทั้งแพทย์และประชาชนไทยต่างตื่นตัว และหาวิธีป้องกันรวมถึงพยายามหาตัวยาที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการรักษา

อ่านเพิ่มเติม: รู้จักไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรงพยาบาลราชวิถีอาจพบสูตรยารักษาไวรัสโคโรนา 2019

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทีมแพทย์จากโรงพยาบาลราชวิถี ประกอบด้วย นพ. เกรียงศักดิ์ อติพรวณิช และ รศ. นพ. สืบสาย คงแสงดาว

ร่วมแถลงข่าวหลังจากรักษาอาการผู้ป่วยชาวจีนด้วยยาต้านไวรัสที่มีอยู่แล้วมากกว่า 1 ตัวร่วมกันจนอาการดีขึ้น ไข้ลดลง สามารถรับประทานอาหารได้ ภายใน 12 ชั่วโมง

โดยผู้ป่วยติดเชื้อปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นชาวจีนอายุ 70 กว่าปี ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในอำเภอหัวหิน ติดเชื้อมาแล้ว 10 วัน ก่อนมาถึงโรงพยาบาลราชวิถีวันที่ 29 มกราคม 2563

เดิมคนไข้ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีมาก่อนแล้วเป็นเวลา 2 วัน จากโรงพยาบาลในหัวหิน แต่ยังคงมีอาการทรุดหนัก ทั้งปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด รวมถึงตรวจวัดค่าอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate: ESR) แสดงว่ามีการอักเสบมากขึ้น ออกซิเจนในเลือดต่ำ จนมีแนวโน้มต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ

ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลราชวิถีจึงพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในขนาดที่สูง ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ตั้งแต่วันแรกที่ผู้ป่วยเข้ารักษา

ผลปรากฎว่า ผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้นจากอ่อนเพลียมาก ไม่มีแรง จนอาการดีขึ้น และไข้ลดลงภายใน 12 ชั่วโมง และผลตรวจเชื้อจากทางเดินหายใจโดยห้องแล็บโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าเป็นลบภายใน 48 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ณ วันที่แถลงข่าว (2 กุมภาพันธ์ 2563) ผู้ป่วยอาการดีขึ้นมากอย่างชัดเจน

สูตรยาที่อาจรักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาเป็นอย่างไร?

ทางการจีนได้มีการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีอยู่แล้ว เนื่องจากมีประวัติว่าเคยใช้รักษาโรคเมอร์สซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสตระกูลเดียวกับไวรัสโคโรนาได้

แต่เมื่อแพทย์จากโรงพยาบาลราชวิถีเห็นอาการผู้ป่วยรุนแรง จึงมีการปรับเพิ่มยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย แล้วคอยสังเกตดูผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ขนาดยาสูง จึงมียาต้านไวรัสหลักๆ ที่ใช้ในการรักษาเบื้องต้นดังนี้

  • ยาเม็ดต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งมีตัวยา 2 ตัว ได้แก่ โลพินาเวียร์ (Lopinavir) และริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • ยาเม็ดต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีตัวยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)

อย่างไรก็ตาม สูตรยาดังกล่าวยังคงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมก่อนจะกำหนดเป็นวิธีการรักษามาตรฐานต่อไป เนื่องจากขณะนี้มีผู้ป่วยใช้สูตรยานี้รักษาเพียง 3 รายเท่านั้น

โดยนอกเหนือจากชาวจีนวัย 70 ที่อาการดีขึ้นดังรายงานไปแล้ว อีก 1 รายมีอาการแพ้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนอีกรายเป็นชายวัย 33 ปี กำลังรอผลการตรวจเชื้ออยู่

หากป่วยและสงสัยว่าติดไวรัสโคโรนา สามารถซื้อยากินเองได้ไหม?

ยาทั้ง 2 ตัวที่แพทย์จากโรงพยาบาลราชวิถีใช้รักษาคนไข้ร่วมกันนั้น กำลังอยู่ในระหว่างตรวจสอบการต้านไวรัสโคโรนา 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฉะนั้น ไม่ควรซื้อยาทั้ง 2 ชนิดมากินเองโดยที่ไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เชื้อจะดื้อยาได้

หากมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดเชื้อไวรัส ควรรีบมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อประเมินอาการและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ยาโอเซลทามิเวียร์ คืออะไร?

โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาที่ใช้รักษาไข้หวัดนก (H5N1) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A virus) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (Influenza B virus)

ตัวยาจะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ของเชื้อไวรัส ชะลอการแพร่พันธุ์ของไวรัสให้ช้าลง

อย่างไรก็ตาม ยาโอเซลทามิเวียร์ไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้ เพราะฉะนั้นถึงแม้จะได้รับยาแล้ว ก็ยังคงต้องหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้หรือใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย

อ่านเพิ่มเติม: หน้ากากอนามัย ป้องกันโคโรนาไวรัสได้จริงหรือ?

ยาเม็ดโลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์คืออะไร?

ยาโลพินาเวียร์ (Lopinavir) และริโทนาเวียร์ (Ritonavir) คือ ยาที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อ HIV-1 มีผลในการควบคุมเชื้อ HIV ในเลือด 

โลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์จะยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 และ HIV-2 protease และยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จึงทำให้ไวรัสโตได้ไม่เต็มที่


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย, ผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ดื้อยาต้านไวรัสสูตรเริ่มต้นด้วยยา Generic Lopinavir/Ritonavir ในโรงพยาบาลปทุมธานี, (https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=158336), 2558.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแพร่, ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir), (https://phrae.pharmacy.in.th/www3/public_file/content/3_20161013103322_phar_news_11_59_oseltamivir.pdf), 15 มีนาคม 2559.
องค์การเภสัชกรรม, LOPINAVIR & RITONAVIR TABLETS 200mg/50mg, (http://scm.gpo.or.th/vmi/document/LOPINAVIR-paper.pdf).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

มารู้จักเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่มี ณ ต้นปี 2020 พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงติดเชื้อ ไขคำตอบ มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม