การพูดคุยกับบุตรหลาน

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การพูดคุยกับบุตรหลาน

การบอกเด็กๆ บุตรหลานของคุณว่าตัวคุณกำลังเป็นโรคมะเร็งสามารถทำให้เด็กๆ  รู้สึกกลัวได้ แต่ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณรู้จักลูกคุณดีที่สุด คุณจะเข้าใจปฏิกิริยาตอบโต้ของพวกเขาและรู้ว่าพวกเขาต้องการสนับสนุนอะไรบ้าง

การเลือกบอกเด็กๆ ไปตรงๆ และใช้ภาษาง่ายๆ คือวิธีที่ดีที่สุด ปฏิกิริยาที่เด็กจะตอบโต้กับสิ่งที่เด็กๆ ต้องการรู้เพิ่มเติมจะขึ้นกับอายุของตัวเด็กเอง  ในเด็กที่ยังไม่โตมากนัก การใช้ภาพวาดหรือการใช้หนังสืออาจช่วยให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นวัยรุ่นคุณต้องกระตุ้นให้เด็กตั้งคำถามกับคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ให้บอกเด็กๆ ถึงชื่อของมะเร็งที่คุณกำลังเป็น, มะเร็งนั้นอยู่ที่ใดของร่างกาย และจะรักษามะเร็งชนิดนี้ได้อย่างไร การใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กๆ จะกระตุ้นให้เด็กๆ แสดงความรู้สึกและช่วยชี้นำการสนทนาของเด็กได้

คุณควรพิจารณาว่ามีใครที่ควรรู้เรื่องนี้อีกบ้าง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์หากบอกคุณครู ผู้ปกครองเด็กคนอื่น หรือเจ้าหน้าที่สถานรับเลี้ยงเด็กเพื่อให้พวกเขาตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณนี้  สำหรับวัยรุ่น การพูดคุยกับวัยรุ่นตรงๆ เป็นอันดับแรกคือวิธีที่ดีที่สุด หากคุณกำลังกังวลว่าเด็กๆ จะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ขอให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการรับคำปรึกษาหรือการรับบริการด้านจิตวิทยา

อธิบายเกี่ยวกับการรักษาให้เด็กๆ ทราบ

การอธิบายถึงการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นให้เด็กๆ ได้รู้ก่อนถือเป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้เด็กๆ รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้เด็กมีความกังวลน้อยลง

ในการรักษาด้วยการผ่าตัด, การใช้เคมีบำบัด และการใช้รังสีรักษา สามารถอธิบายให้เด็กๆ เข้าใจได้ง่ายๆ ตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ เพื่อกำจัดก้อนเนื้อมะเร็ง, เพื่อทำลายหรือชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เป็นต้น และให้พยายามอธิบายถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาให้เป็นสิ่งที่เด็กสังเกตเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน หรือ คุณจะมีลักษณะภายนอกร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือจะมีอารมณ์เปลี่ยนไปอย่างไร ตัวอย่างเช่น ให้บอกเด็กๆ ว่า ลักษณะภายนอกของร่างกายคุณจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งจะทำให้เด็กๆ ปรับตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

ผลข้างเคียงจากการรักษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเด็กๆ มองเห็นคุณในสภาพที่ไม่ค่อยสบาย เด็กบางคนอาจคิดว่าคุณเป็นโรคมะเร็งซ้ำอีกครั้ง หรือโรคมะเร็งมีอาการแย่ลงก็เป็นได้ ดังนั้นคุณต้องบอกเด็กๆ ว่า อาการที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และไม่ได้หมายความว่าโรคมีอาการแย่ลง

ภายหลังการรักษาเสร็จสิ้น คุณต้องเตรียมพร้อมเด็กให้รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกซักพักกว่าที่คุณจะกลับมามีพลังงาน และกระฉับกระเฉงเหมือนแต่ก่อน ลองให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในสิ่งที่คุณทำเพื่อช่วยให้คุณฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ดี และการนอนหลับให้เพียงพอ และสิ่งสำคัญที่สุดคือบอกเด็กว่า พวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรับมือกับปัญหาแบบวันต่อวัน

แต่ละครอบครัวมีความแตกต่างกัน มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เด็กได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโรคมะเร็งที่แตกต่างกัน ดังนั้นการแบ่งปันความรู้สึกของคุณกับเด็กๆ ถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แม้กระทั่งการร้องไห้ต่อหน้าเด็กๆ เป็นวิธีที่สำคัญวิธีหนึ่งในการับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะมีความรู้สึกอันยากลำบากนี้

กิจวัตรประจำวันตามปกติของคุณอาจถูกรบกวน ถูกขัดขวาง การทำตามกฎระเบียบของครอบครัวเสมอจะช่วยเหลือคุณได้ เด็กเล็กมักทำกิจวัตรประจำวันตามแผนการที่ได้วางไว้ ดังนั้นคุณสามารถอธิบายถึงแผนการใหม่ๆ ให้เด็กรู้ได้ เช่น ใครจะเป็นคนดูแลสิ่งของเหล่านี้หรือเก็บสิ่งของเหล่านี้แทน เป็นต้น สำหรับเด็กวัยรุ่น การให้เด็กวัยรุ่นมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคุณจะทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วม แต่ต้องแน่ใจว่าพวกเขาไม่ให้ใช้เวลาไปกับการช่วยเหลือคุณมากเกินไป

ให้เวลากับครอบครัวของคุณ ซึ่งเป็นช่วงเวลาคุณภาพที่ดีที่สุด ลองปิดโทรศัพท์มือถือระหว่างช่วงเวลามื้ออาหารหรือขอให้คนอื่นๆ ส่งข้อความหาคุณแทนการโทรศัพท์ในบางช่วงเวลาของวัน เพื่อให้คุณมีเวลากับครอบครัวมากขึ้น และอย่ากลัวที่จะยอมรับข้อเสนอความช่วยเหลือจากผู้ป่วย พ่อแม่เด็กคนอื่น, เพื่อนที่ไว้ใจได้ หรือญาติของคุณ อาจยินดีที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณทำ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มเวลาที่คุณจะอยู่กับเด็กๆ ของคุณ

ให้เวลากับเด็กๆ ให้มากขึ้น

ให้เวลาที่มีคุณภาพกับเด็กๆ ให้มากขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง แต่การรักษาโรคมะเร็ง การพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือผลข้างเคียงจากการรักษาอาจทำให้การให้เวลากับเด็กๆ เป็นเรื่องยากขึ้น มีวิธีการง่ายๆ ที่คุณสามารถแบ่งปันประสบการณ์เชิงบวกกับเด็กๆ แม่ว่าคุณจะไม่ว่าง หรืออยู่ในช่วงฟื้นตัวจากการรักษาอยู่

หากคุณจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้หาวิธีที่จะติดต่อเด็กๆ เสมอ แบ่งเวลาปกติของวันในการโทรหาเด็กๆ ส่งรูปให้เด็ก ส่งโปสการ์ด จดหมาย หรืออีเมลให้กับเด็ก เด็กเล็กอาจสนุกกับการอ่านเรื่องราวที่คุณส่งผ่านทางโทรศัพท์

เตรียมเด็กๆ บุตรหลานของคุณให้พร้อมสำหรับสิ่งที่พวกเขาจะต้องเจอขณะไปเยี่ยมคุณที่โรงพยาบาล เช่น ท่อ สายน้ำเกลือ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ หากเด็กวัยรุ่นต้องการที่จะพบแพทย์กับคุณ คุณควรให้เด็กๆ ไปด้วย การทำความเข้าใจกระบวนการรักษาโรคว่าทำงานอย่างได้จะช่วยให้เด็กๆ มีความมั่นใจมากขึ้น

กิจกรรมที่ทำที่บ้านไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง เพียงแค่ใช้เวลากับลูกๆ ของคุณให้มาก ก็เพียงพอแล้ว การดูทีวี เล่นไพ่ เล่นเกมกระดาน เป็นตัวเลือกที่ดีในกรณีที่คุณไม่มีพลังงานมากนัก การขอให้เด็กๆ ของคุณบอกคุณว่าพวกเขาทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียน หรือขณะออกไปนอกบ้าน การวาดภาพหรือเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวอาจช่วยให้เด็กเล็กแสดงความรู้สึกออกมาได้ 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to talk to children about the coronavirus. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/how-to-talk-to-children-about-the-coronavirus-2020030719111)
Talking to children about feelings. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/talking-to-children-about-feelings/)
Why the Way You Talk to Your Child Matters. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/how-do-you-talk-to-your-child-620058)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)

ความเป็นมาของโรคมะเร็ง: การค้นพบและรักษา โรคมะเร็งครั้งแรก

อ่านเพิ่ม
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการซื้อสินค้าเพื่อการต่อต้านภัยมะเร็ง

อ่านเพิ่ม