พูดคุยกับลูกเวลาลูกดูดนมทำให้ลูกรักเรามากขึ้นได้จริงเหรอ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
พูดคุยกับลูกเวลาลูกดูดนมทำให้ลูกรักเรามากขึ้นได้จริงเหรอ

เคยสังเกตไหมว่า เวลาลูกของเราดูดนม ไม่ว่าจะเป็นดูดนมจากอกของแม่เอง หรือดูดจากขวดนมก็ดี จะมีจังหวะที่ลูกหยุดดูดเอาดื้อๆ เสมอ ซึ่งพ่อแม่หลายคนก็กังวลว่าลูกจะไม่ดูดดนม หรือหยุดกินนม จึงต้องมีการเขย่าตัวลูกเบาๆ ทราบหรือไม่ว่าจังหวะที่คุณพ่อคุณแม่กำลังเขย่าตัวลูกนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณและลูกจะสร้างความผูกพันกันมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

จังหวะการดูดนมของเด็กเป็นอย่างไร

โดยปกติตามธรรมชาติ เด็กที่ดูดนม (ไม่ว่าจากอกแม่หรือจากขวดนม) จะมีจังหวะการดูด (ในช่วงแรก) เป็นในลักษณะดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดูด - ดูด - ดูด

หลังจากนั้น เมื่อลูกได้ดูดนมไปสักพักหนึ่งจะเริ่มปรับจังหวะการดูดเป็นลักษณะดังนี้

ดูด - ดูด - ดูด - หยุด (และซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ)

ช่วงจังหวะที่ลูกหยุดดูดนี้เอง พ่อแม่หลายคนกังวลว่าลูกจะหยุดดูดต่อ (กลัวลูกกินนมไม่อิ่ม) จึงทำการเขย่าตัวลูกเบาๆ หรือพูดคุยพร้อมกับมองไปที่หน้าของลูก และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ลูกจะหยุดดูดนมไปชั่วขณะเพื่อรับรู้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังทำต่อพวกเขา นั้นคือ การฟังสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่กำลังพูด, มองใบหน้าของพ่อแม่ และหลังจากนั้นเด็กก็จะกลับเข้าสู่จังหวะการดูด 3 ครั้งและหยุด 1 ครั้งแบบเดิมอีก

ทำไมลูกจึงดูด - ดูด - ดูด - หยุด

นับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากมีการทดลองทางการแพทย์แล้วได้ผลลัพท์ที่น่าทึ่ง โดยทีมแพทย์ได้ทดลองจับเวลาระหว่างการให้นมลูก โดยปล่อยให้เด็กได้ดูดนมตามจังหวะปกติของเขา และเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ไม่ต้องเขย่าหรือพูดคุย กับอีกกลุ่มเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ให้เขย่าตัวเบาๆ พร้อมกับ ยิ้ม จ้องมอง และพูดคุยกับลูก

ผลการทดสอบที่ได้สรุปได้ดังนี้

  1. ต่อให้เราไม่เขย่าตัวลูก (จังหวะที่ลูกหยุดดูด) ลูกก็จะกลับมาดูดนมได้เองตามจังหวะที่มั่นคง
  2. ยิ่งเราพูดคุย จ้องมอง และเขย่าตัวลูก ลูกจะยืดจังหวะการหยุดนั้นออกไป เพราะเขากำลังรับรู้และพยายามสื่อสารกับสิ่งที่เขาได้รับรู้มา (นั่นคือการพูด การเขย่า จากพ่อแม่)
  3. ปริมาณการกินนมของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม เท่ากัน (จะเขย่าหรือไม่เขย่า ก็ไม่ได้กินนมมากขึ้นเท่าไรนัก)
  4. การพูดคุยกับลูกขณะลูกกำลังดูดนมไปด้วย (โดยเฉพาะดูดนมแม่) จะทำให้ลูกไม่หลับคาอกแม่มากกว่าปล่อยให้ลูกดูดนมเงียบๆ
  5. ลูกจะสามารถจดจำกลิ่นและเสียงของพ่อแม่ตัวเองได้ภายใน 4-7 วันนับจากวันแรกเกิด
  6. ยิ่งคุณพูดคุยกับลูกมากเท่าไรตอนที่ลูกกำลังดูดนม เขาก็จะยิ่งจ้องมองคุณมากขึ้น และยาวนานขึ้น ลูกจะรับรู้และสัมผัสถึงความรัก ความผูกพันที่คุณมีให้กับเขามากขึ้น ตอนแรกเกิดเด็กจะมองเห็นแค่สีขาว ดำ เทา  และสามารถปรับโฟกัสได้แค่ 25 เซนติเมตร เท่านั้น นั่นจึงทำให้เขาจดจำ และรับรู้ว่า เขามีคนที่คอย ดูแล และรักเขามากแค่ไหน จึงไม่แปลกที่ลูกจะติดคุณมากกว่า และจดจำพ่อแม่ได้เร็ว

นอกจากนั้นในผลการทดสอบทำให้ทราบว่า การพูดจากับลูก การเขย่าตัวลูกเบาๆ บ้าง ขณะที่เขากำลังดูดนมนั้น ตัวพ่อแม่เองก็ยังได้รับความรู้สึกอิ่มเอิบ สุขใจ ซึ่งจะหาความรู้สึกนี้จากไหนไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นเวลาที่ ให้ลูกดูดนมคราวหน้า อย่าลืมพูดคุยกับลูกให้มากๆ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jianghong Liu et al., Breastfeeding and Active Bonding Protects against Children’s Internalizing Behavior Problems (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3916850/), 24 December 2013
Breastfeeding and bonding with your newborn (https://www.medela.com/breastfeeding/mums-journey/bonding-with-newborn)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป