ความดันตัวบน (systolic pressure) สูงเกินไปในหลายคน

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความดันตัวบน (systolic pressure) สูงเกินไปในหลายคน

หลายปีที่ผ่านมาแพทย์มุ่งเน้นการรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยพยายามจะลดความดันตัวล่าง (diastolic pressure) แต่นักวิจัยจากการศึกษาระดับใหญ่พบว่าผู้สูงอายุและคนวัยกลางคนที่มีความดันโลหิตสูงมีรูปแบบของโรคจากความดันตัวบนสูงมากเกินไป

อ้างอิงจาก Nathan D. Wang, Ph.D. ผู้อำนวยการโครงการป้องกันโรคหัวใจแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า “ยิ่งความดันตัวบนสูง ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและความพิการจากโรคหัวใจก็เพิ่มขึ้น”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความดันโลหิตสูง มีคำนิยามคือมีความดันตัวบนตั้งแต่ 140 mmHg ขึ้นไป และความดันตัวล่างตั้งแต่ 90 mmHg ขึ้นไปในคนส่วนใหญ่ เมื่อความดันตัวบนสูงตั้งแต่ 140 mmHg ขึ้นไป แต่ความดันตัวล่างยังคงต่ำกว่า  90 mmHg ภาวะดังกล่าวจะเรียกว่าการมีความดันตัวบนสูงเพียงอย่างเดียว (isolated systolic hypertension) การศึกษาพบว่าภาวะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีในกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัย มากกว่า 80% ของกลุ่มผู้ที่มีอายุในช่วงนี้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีภาวะดังกล่าว และยิ่งพบมากขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี

แพทย์มักมุ่งรักษาความดันโลหิตสูงโดยพยายามลดความดันตัวล่างให้อยู่ที่ 90 mmHg หรือต่ำกว่านั้นเล็กน้อย

Nathan Wang ยังระบุอีกว่าแพทย์หลายคนรู้สึกพอใจเมื่อความดันโลหิตถึงระดับเป้าหมายที่ต่ำที่สุดคือความดันตัวบน 140 และความดันตัวล่าง 90 แต่เขารู้สึกว่าเป้าหมายนี้ยังไม่เพียงพอ “เป้าหมายสูงสุดคือความดันตัวบนต่ำกว่า 120 และความดันตัวล่างต่ำกว่า 80” เขากล่าว

ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาระดับใหญ่นี้ยังชี้ให้เห็นระดับความตื่นตัวที่ต่ำ การรักษาและการควบคุมความดันโลหิตสูงที่ไม่ดีในทุกกลุ่มอายุ

การศึกษาแสดงให้เห็นว่า 48% ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ได้รับการรักษา ในขณะที่ 29% ได้รับการรักษาที่ไม่เพียงพอ

 

ภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักของหลายภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือทำให้เกิดความพิการ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย และหัวใจล้มเหลว ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ควบคุมได้ไม่ดีมีความเสี่ยงที่จะเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่า การรักษาอย่างเพียงพอสำหรับโรคความดันโลหิตสูงสามารถลดความเสี่ยงทางสุขภาพได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้มีอายุยืนยาวขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพโดยรวม โรคหลอดเลือดสมองฉับพลัน และการทำกายภาพบำบัดที่ตามมา สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ได้ถึงหลายพันดอลลาร์และยังไม่รวมความเสียหายทางอารมณ์ทั้งของผู้ป่วยและผู้เป็นที่รักที่สูงพอกันอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 

การรักษาความดันโลหิตสูง

ยา

มียาหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพดีที่แพทย์ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง แพทย์จะตรวจติดตามผลเลือดและผลกระทบเพื่อหายาที่เหมาะสม หรือชนิดของยาที่ใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง การกินยาข้ามมื้อหรือลืมกินยาอาจทำให้มีปัญหาร้ายแรงตามมาได้

 

อาหาร

การลดน้ำหนักและกินอาหารที่มีไขมันต่ำแสดงให้เห็นว่าช่วยลดความดันโลหิตได้ อาหารแบบ Dash แสดงให้เห็นว่าเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีมากในการลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายร่วมกับการกินอาหารอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพอย่างมากในการรักษาความดันโลหิตสูงได้ การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเครียดและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย

 

ควรตรวจวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ และถามผลด้วย หากค่าความดันโลหิตสูงหรือสูงแค่ความดันตัวบน ก็ต้องถามถึงวิธีที่จะช่วยลดความดันของคุณลงด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Overview - High blood pressure (hypertension) (https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-pressure-hypertension/)
ncbi.nlm.nih, Systolic blood pressure (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1124431/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)