กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ซิฟิลิส...ภัยไม่เงียบจากการมีเพศสัมพันธ์

ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจแฝงอยู่ในร่างกายได้อย่างไม่แสดงอาการรุนแรง กว่าจะรู้ตัวก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ซิฟิลิส...ภัยไม่เงียบจากการมีเพศสัมพันธ์

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา รอยถลอก หรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง และสามารถถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารกน้อยในครรภ์ได้ โดยซิฟิลิสนั้น เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Treponema Pallidum หลังได้รับเชื้อแล้วจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และลามไปสู่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางร่ายกาย พิการ วิกลจริต หรือเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การสัมผัสสิ่งของที่ผู้รับเชื้อสัมผัส การใช้ช้อนส้อม หรือการใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของซิฟิลิส

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อและเป็นโรคซิฟิลิส จะมีการแสดงอาการออกมาเป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรก หรือระยะฟักตัว ประมาณ 21 วัน ในระยะแรกที่ติดเชื้อซิฟิลิส ผู้ได้รับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นเลยในช่วงแรก แต่หลังได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ก็จะปรากฎอาการในระยะแรกให้เห็น ได้แก่ เกิดแผลเดี่ยวริมแข็ง หรือเป็นตุ่มแดงและแตกเป็นแผลบริเวณที่รับเชื้อ ขอบแผลแข็งนูน แต่ไม่เจ็บ โดยมักพบบริเวณอวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก และแผลเป็นมักจะหายไปเองในระยะเวลา 1-5 สัปดาห์ อาจพบต่อมน้ำเหลืองโตชนิดกดไม่เจ็บได้
  • ระยะที่สอง เชื้อกระจายเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะต่างๆ ในระยะ 2-10 สัปดาห์หลังอาการซิฟิลิสระยะแรก หรือ 3-4 เดือนหลังได้รับเชื้อ ระยะที่สองนี้ เชื้อจะแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ และอาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง กระดู ระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจ และหลอดเลือดได้ โดยอาการที่มักจะแสดงออกมา ได้แก่ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปวดข้อ ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน เป็นตุ่มบริเวณอวัยวะเพศ ข้อพับ ขาหนีบ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ บางรายอาจจะมีอาการขนคิ้วร่วงร่วมด้วย หากไปตรวจเลือดในระยะนี้ จะพบว่าผลเลือดเป็นบวก
  • ระยะแฝง ในระยะแฝง ผู้ป่วยซึ่งมีผลเลือดเป็นบวกจากการติดเชื้ออาจไม่มีอาการของโรคแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ระยะนี้จะกินเวลา 2-30 ปี และหากผู้ที่ได้รับเชื้อเป็นสตรีที่กำลังตั้งครรภ์เชื้อจะสามารถติดต่อไปยังทารกน้อยในครรภ์ได้ บางรายอาจทำให้เกิดอาการแท้ง ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือพิการได้
  • ระยะที่สาม หรือระยะสุดท้าย ระยะนี้เป็นระยะที่เชื้อเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆ ทั้ง หัวใจ สมอง หลอดเลือด ดวงตา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อวัยวะเหล่านั้นอาจถูกทำลายจนไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้อีก บางรายอาจถึงขั้นวิกลจริต หูหนวก ตาบอด หรือเสียชีวิตได้

การรักษาซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยากลุ่มเพนิซิลลิน โดยการฉีดยาเพนนิซิลินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งระยะเวลาการรักษาขึ้นกับระยะของโรค ในรายที่แพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะบางกลุ่มแทน

วิธีป้องกันโรคซิฟิลิส มีอะไรบ้าง

  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคทางเพศสัมพันธ์เสมอ โดยให้คู่ของคุณเข้ารับการตรวจด้วย เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะนำโรค ก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • ป้องกันทุกครั้งเมื่อมีมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส หรือผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ
  • หากสงสัยว่าตนอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยากินเอง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
"Syphilis". CDC. 4 June 2015. Archived from the original on 21 February 2016. Retrieved 3 February 2016.
"Syphilis - CDC Fact Sheet (Detailed)". CDC. 2 November 2015. Archived from the original on 6 February 2016. Retrieved 3 February 2016.
พเยาว์ เอนกลาภ, โรคซิฟิลิส (http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=883), 14 มิถุนายน 2554.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รายชื่อโรคติดต่อ
รายชื่อโรคติดต่อ

ค้นหารายชื่อโรคติดต่อได้ง่ายๆ ในลิ้งค์เดียว ไม่ต้องนั่งหาทีละโรค พร้อมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคติดต่อ รวมมาตอบไว้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

ตอบชัดเจน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อ HIV ติดได้อย่างไร ทำแบบไหนติดบ้าง และจะป้องกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม