ระยะอาการ ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจ ของผู้ประสบภัยน้ำท่วมในไทย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

an style="color:#006400;">อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจของผู้ประสบภัยจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป ตามระยะของการเกิดภัย ดังนี้
          
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน  (2 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุการณ์) ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ผู้ประสบภัยอาจจะเกิดภาวะความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง  ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นปฏิกิริยาปกติในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ (Normal Reaction in Abnormal Situation ) อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปภายใน 1 เดือน ซึ่งในระยะนี้ผู้ประสบภัยจะมีความต้องการด้านปัจจัย 4 เป็นอันดับแรก 

ในขณะเดียวกันการดูแลด้านจิตใจก็จำเป็นที่ผู้ประสบภัยจะต้องได้รับการช่วยเหลือด้านจิตใจเบื้องต้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงในระยะยาว และเกิดโรคที่ทางจิตเวช เช่น โรคภาวะเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรง (Post Traumatic Stress Disorder

ระยะหลังได้รับผลกระทบ (2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน) ผู้ประสบภัยจะมีการแสดงปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่เด่นชัดมากขึ้น เนื่องจากการให้การช่วยเหลือต่าง ๆ เริ่มลดลง หรือผู้ประสบภัยจะต้องเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิต เช่น ต้องเผชิญกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำท่วม ส่งผลให้บางรายอาจจะมีอาการเครียดมาก มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย หรือบุคคลที่สูญเสียบุคคลในครอบครัวอาจจะมีอาการเศร้าโศกเสียใจอย่างมากจากการจากไปอย่างกะทันหัน การสูญเสียทรัพย์สิน ไร่นาเป็นจำนวนมาก ซึ่งบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้หากมีภาวะซึมเศร้าอย่างมาก  อาจมีแนวโน้มไปสู่การฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง

ระยะฟื้นฟู (3 เดือนขึ้นไปหลังเกิดเหตุการณ์) ปฏิกิริยาด้านจิตใจของผู้ประสบภัยเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล เป็นระยะของการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ และมีความเข้มแข็งทางจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Flooding and Mental Health: A Systematic Mapping Review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4393088/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป