อาการของโรคสมองเสื่อมและการวินิจฉัย

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
อาการของโรคสมองเสื่อมและการวินิจฉัย

ในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่คุณเป็น ประวัติทางสุขภาพ ยาที่คุณกำลังใช้อยู่ และให้คุณทำแบบทดสอบสุขภาวะทางจิต รวมไปถึงการตรวจเลือด และการตรวจเพิ่มเติม เช่น การสแกนสมองด้วยการทำซีที สแกน เป็นต้น

หากคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับความจำของคุณ หรือกำลังคิดว่าคุณอาจเป็นโรคสมองเสื่อม เราแนะนำให้คุณไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา แต่ถ้าคุณกังวลเกี่ยวกับใครก็ตามที่คุณกำลังคิดว่าเขาอาจเป็นโรคสมองเสื่อม คุณควรส่งเสริมให้คนๆ นั้น นัดหมายแพทย์และแนะนำให้คุณไปกับเขาด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แม้ว่าคุณจะมีการลืมบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคสมองเสื่อม ปัญหาทางด้านความจำสามารถเกิดจากภาวะซึมเศร้า ความเครียด ผลข้างเคียงจากยา และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ได้ สิ่งสำคัญคือคุณควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดและหาทางรักษาให้ถูกจุด แพทย์จะทำการตรวจอาการของคุณ ให้การวินิจฉัยให้กับคุณ หรือส่งต่อคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม

การวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรคจะทำให้คุณมีโอกาสที่ดีในการเตรียมและวางแผนสำหรับอนาคต และวางแผนการรับการรักษา การได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนจากทีมบุคลากรทางการแพทย์ จากครอบครัวและเพื่อน ผู้ป่วยจำนวนมากจะสามารถมีชีวิตที่มีชีวิตชีวาได้

เมื่อไปพบแพทย์เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

เมื่อคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการที่คุณเป็น รวมถึงข้อมูลสุขภาพด้านอื่นๆ และแพทย์จะทำการตรวจร่างกายให้กับคุณ รวมไปถึงการตรวจเลือดที่จำเป็น และสอบถามเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้อยู่  เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคสมองเสื่อมได้ 

นอกจากนี้คุณยังจะได้รับการถามคำถามบางอย่าง หรือได้รับการทดสอบสุขภาวะทางจิตบางอย่างเพื่อประเมินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความจำหรือความสามารถในการคิด

การส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยาก โดยเฉพาะถ้ามีอาการไม่มาก (รุนแรงน้อย) หากแพทย์ทั่วไปที่รักษาคุณไม่มั่นใจเกี่ยวกับการวินิจฉัย แพทย์จะทำการส่งต่อคุณไปพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา (neurologist) ซึ่งเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคของสมองและระบบประสาท, แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาผู้สูงอายุ หรือ จิตแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้อาจทำงานอยู่ในคลินิกความจำ (memory clinic) ร่วมกบผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัย การดูแล และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและครอบครัวของผู้ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สิ่งสำคัญคือ คุณควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้เขียนคำถามที่คุณต้องการถามกับแพทย์ จดคำศัพท์ทางการแพทย์ที่แพทย์อาจใช้ และอย่าลืมถามแพทย์ว่าหากคุณมีคำถามเพิ่มเติม คุณจะนัดหมายมาพบแพทย์ได้เมื่อใด การหาโอกาสกลับมาพบแพทย์จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจต้องการให้คุณตรวจเพิ่มเติม ซึ่งอาจรวมถึง การสแกนสมอง เช่น การทำซีที สแกน (computerized tomography; CT scan) หรือ การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI) scan)

แต่ถ้าการตรวจข้างต้นยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ แพทย์อาจจำเป็นต้องให้คุณตรวจอื่นๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  

การเข้ารับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

เมื่อคุณได้รับการตรวจที่จำเป็นแล้ว แพทย์ควรจะสอบถามคุณหากคุณต้องการทราบผลการวินิจฉัยโรค

แพทย์ควรอธิบายว่าโรคสมองเสื่อมอาจมีความหมายกับคุณอย่างไร และควรให้เวลาคุณในการพูดคุยเกี่ยวกับโรคนี้รวมถึงให้เวลาคุณถามคำถามเพิ่มเติม

ถ้าคุณไม่ได้มีการตัดสินใจเป็นอย่างอื่น แพทย์หรือทีมแพทย์ควรอธิบายคุณและครอบครัวของคุณดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ชนิดของโรคสมองเสื่อมที่คุณเป็น แต่ถ้ายังไม่ชัดเจนว่าคุณเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดไหน แพทย์จะอธิบายถึงแผนในการตรวจขั้นต่อไป ในบางครั้งหากผลการวินิจฉัยไม่ชัดเจน แพทย์จะเว้นระยะเวลาช่วงหนึ่งก่อนทำการประเมินคุณอีกครั้ง
  • รายละเอียดเกี่ยวกับอาการและความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น
  • การรักษาที่แพทย์แนะนำสำหรับคุณ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลและการสนับสนุนต่างๆ ที่ใกล้บ้านคุณ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนและองค์กรอาสาสมัครสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ครอบครัว และผู้ดูแล
  • ข้อมูลบริการสนับสนุน
  • สถานที่ขอแนะนำด้านการเงินและด้านกฎหมาย

คุณควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมที่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

คำถามที่คุณควรถามแพทย์เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

หากคุณไม่รู้ว่าจะถามคำถามอะไรแพทย์บ้าง ต่อไปนี้คือคำถามที่แนะนำให้ถามแพทย์ ซึ่งอาจมีประโยชน์สำหรับคุณ:

  • ชนิดของโรคสมองเสื่อมที่เป็น?
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการทดสอบและการตรวจที่คุณควรได้รับ
  • ต้องรอนานแค่ไหนจึงจะได้รับการตรวจ
  • ต้องรอนานแค่ไหนจึงจะทราบผลการตรวจ
  • จะเกิดอะไรขึ้นบ้างหากได้รับผลการตรวจแล้ว

การประเมินภาวะสมองเสื่อมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมแล้ว แพทย์จะนัดพบคุณเป็นครั้งคราวเพื่อดูว่าอาการของคุณเป็นอย่างไรบ้าง เนื่องจากโรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่มีการดำเนินไปของโรคมากขึ้นเรื่อย แพทย์อาจนัดหมายให้คุณพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น โดยอาจจะเป็นหลังจากผ่านไปแล้ว 6 เดือน หรือ 1 ปี

แพทย์ทั่วไปและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจร่วมกันกำหนดรายการยาที่อาจเป็นประโยชน์ในการรักษาอาการบางอาการของโรคสมองเสื่อมที่คุณเป็น อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ยา

การประเมินโรคสมองเสื่อมอย่างต่อเนื่องอาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพิจารณาแผนการของคุณในอนาคต เช่น การวางแผนชี้แจงล่วงหน้าเกี่ยวกับการดูแลคุณในอนาคต หรือ การมอบอำนาจเรื่องการเงินและการตัดสินใจทางพยาบาลที่จำเป็นในอนาคต เป็นต้น

ประโยชน์ของการได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกของโรค

โรคสมองเสื่อมเป็นหนึ่งในโรคที่ผู้คนกลัวมากที่สุดโรคหนึ่ง

คุณอาจพบว่ามันยากที่จะยอมรับว่าคุณมีปัญหาด้านความจำซึ่งส่งผลต่อชีวิตคุณ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับความจำ หรือปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคสมองเสื่อม มันเป็นเรื่องปกติที่จะไม่เต็มใจที่จะขอความช่วยเหลือหรือเผชิญหน้ากับการวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตามหากคุณไปพบแพทย์โดยเร็ว คุณจะได้รับประโยชน์อย่างมาก

การได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกของโรค จะช่วยให้คุณได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และช่วยหาแหล่งสนับสนุนที่ดีที่สุด ตลอดจนการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตที่จะมาถึงในภายภาคหน้า

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมจะช่วยคลายความคลุมเครือไปได้

คุณอาจไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงมีปัญหาเกิดขึ้นกับความจำ หรือเพราะอะไรพฤติกรรมของคุณจึงเปลี่ยนไป ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากการเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออาจเป็นอาการอื่นๆ เช่น ปัญหาการนอนไม่หลับ ปัญหาทางอารมณ์ เกิดจากยา หรือเกิดจากโรคอื่นๆ ที่เป็น ความคลุมเครือที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ทั้งคุณ ครอบครัวและเพื่อนคุณมีความกังวลใจได้

ในขณะที่การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอาจถือเป็นข่าวร้าย แต่การได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับอาการที่คุณเป็น และควรทำอย่างไรต่อไป อาจทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนลงได้

บางคนอาจพบประโยชน์จากการคุยกับแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมว่าอาจส่งผลต่อตัวเองหรือคนที่เขารักในอนาคตอย่างไรบ้าง รวมถึงการขอรับคำแนะนำในการใช้ชีวิตอย่างมีอิสระและการมีชีวิตที่ดีในขณะที่เป็นโรคสมองเสื่อม

การเข้ารับการรักษาโรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมไม่ใช่ภาวะเพียงภาวะเดียว แต่เป็นโรคที่มีความยากลำบากในการคิดและด้านความจำ ซึ่งอาจเกิดจากโรคต่างๆ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทุกคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจึงไม่ได้มีอาการเหมือนกันซะทีเดียว

การรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหาสาเหตุของโรคสมองเสื่อมให้เจอถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันจะช่วยชี้ทางในการเลือกการรักษาและการดูแลที่เหมาะสมได้

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเจอตั้งแต่ระยะแรกๆ อาจเป็นประโยชน์ เพราะสาเหตุของโรคสมองเสื่อมบางอย่างสามารถรักษาได้ และสามารถรักษาหายกลับมาเป็นปกติ หรือมีอาการดีขึ้นบางส่วน ซึ่งขึ้นอยู่กับธรรมชาติของโรคที่เป็น สภาวะบางอย่าง เช่น การขาดวิตามินบางชนิด, ผลข้างเคียงจากการใช้ยา และเนื้องอกในสมองบางชนิด อาจถูกจัดเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่สามารถรักษาได้

โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ จะมีความเสียหายเกิดขึ้นที่สมองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ยาในกลุ่ม Acetylcholinesterase inhibitor เป็นยาที่มีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ ยาเหล่านี้ เช่น ยาโดเนเพซิล (donepezil), ยา ไรวาสติกมีน (rivastigmine) และยากาแลนทามีน (galantamine) จะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น โดยการทำให้เซลล์สมองที่ยังมีชีวิตอยู่ทำงานหนักขึ้นอีกเล็กน้อย สำหรับยามีแมนทีน (memantine) เป็นยาอีกรายการหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์

แม้ว่ายาจะไม่สามารถรักษาโรคสมองเสื่อมให้หายขาดได้ แต่ยาจะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนด้านการใช้ชีวิต และการทำงานของร่างกาย

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกับการหยุดสูบบุหรี่ และการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี เพราะปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (vascular dementia) และอาจทำให้โรคอัลไซเมอร์มีอาการแย่ลงได้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่คุณมี และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาที่จำเป็นและนัดคุณมาติดตามอาการสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ยาสำหรับรักษาโรคอื่นๆ ที่คุณใช้อยู่จะได้รับการพิจารณาด้วย เนื่องจากยาบางรายการอาจมีผลเสียต่อความจำได้

การสนับสนุนอื่นๆ หากคุณเป็นโรคสมองเสื่อม

ไม่ว่าคุณจะได้รับการรักษาที่เฉพาะเจาะจงกับสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่ส่งผลต่อคุณหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนที่ถูกต้องด้วย  ซึ่งมีความหลากหลายของความช่วยเหลือและข้อมูลสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เพื่อน ญาติ รวมถึงผู้ดูแล

การสนับสนุนเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม ได้แก่:

  • ข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่มีอยู่ที่บ้านหรือในชุมชน เช่น จากการบริการทางสังคม, ศูนย์ดูแลผู้ป่วย, ทีมดูแลสุขภาพจิตในชุมชน, นักบำบัดด้านการพูดและการใช้ภาษา, นักโภชนาการ และนักกิจกรรมบำบัด
  • คำแนะนำเกี่ยวกับการเงินและการวางแผนในอนาคตสำหรับคุณ
  • คำแนะนำเกี่ยวกับการขับรถ
  • การวางแผนการดูแลขั้นสูง รวมถึงการมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนเกี่ยวกับการเงินและการตัดสินใจทางการพยาบาลหากคุณเป็นโรครุนแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้คนที่คุณมอบอำนาจไว้ทำการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ข้อมูลและกลุ่มสนับสนุน- ปัจจุบันมีแหล่งของข้อมูลและคำแนะนำที่ง่ายในการค้นหาเพิ่มเติม หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม การเข้าถึงกลุ่มสนับสนุนต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ถ้าการวินิจฉัยของคุณชัดเจน เพราะกลุ่มสนับสนุนต่างๆ นี้จะให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงและเชื่อมโยงไปยังผู้อื่นที่มีอาการคล้ายๆ กันอีกด้วย

การแนะนำและการสนับสนุนสำหรับโรคอื่นๆ ที่คุณเป็น

ถ้าแพทย์และพยาบาลรู้ว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นโรคอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคอื่นๆ ที่เป็น ซึ่งรวมถึงการใช้เวลาในการอธิบายสิ่งต่างๆ ให้กับผู้ป่วยในรูปแบบที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้, กำหนดวิธีการรับประทานยาที่ปลอดภัย (เช่น การใช้กล่องบรรจุเม็ดยาซึ่งจะช่วยให้คุณจำได้ว่าเมื่อใดที่ต้องรับประทานยา) และทำความเข้าใจและให้การสนับสนุนเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ถ้าผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในจากสาเหตุอื่นๆ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia#dementia-symptoms-and-diagnosis


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Symptoms of dementia. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/dementia/symptoms/)
10 Early Symptoms of Dementia: Be Aware of Subtle Signs. Healthline. (https://www.healthline.com/health/dementia/early-warning-signs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป