อาการและสาเหตุของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการและสาเหตุของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

อาการที่สำคัญของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขคือความเจ็บปวด หรือเหมือนมีอะไรไต่ขาจนทำต้องให้ขยับขาหรืออาจเกิดการกระตุกโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยโรคนี้ส่วนใหญ่นั้นจะไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน แม้จะมีบางส่วนที่เกิดจากโรคประจำตัวอื่น ๆ ก็ตาม

อาการของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขมักจะทำให้เกิดแรงกระตุ้นอย่างรุนแรงที่จะขยับขาและทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายในขาของคุณอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความรู้สึกนี้อาจลามมาส่งผลต่อบริเวณแขน ทรวงอก และใบหน้าเช่นกัน อาการเหล่านี้มักได้รับการอธิบายว่าเป็น:

  • ความรู้สึกเหมือนเป็นเหน็บ เกิดอาการปวดแสบ คันหรือปวดตุบ ๆ
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรไต่หรือคลานตามขา
  • รู้สึกเหมือนเกิดฟองฟู่ภายในหลอดเลือดตามขา
  • ความรู้สึกเจ็บปวดคล้ายตะคริวที่ขาโดยเฉพาะในบริเวณน่อง

ความรู้สึกไม่สบายเหล่านี้สามารถรุนแรงได้ตั้งแต่น้อยไปจนรุนแรงมาก และมักจะแย่ลงในตอนเย็นและในช่วงกลางคืน อาการมักจะหายไปจากการขยับขาหรือถูขาของคุณ

ผู้ป่วยบางคนพบอาการเป็นครั้งคราว ในขณะที่ผู้ป่วยคนอื่น ๆ เกิดอาการเหล่านี้ทุกวัน คุณอาจรู้สึกลำบากในการนั่งเป็นเวลานาน เช่น ในการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือรถไฟเป็นระยะเวลานาน

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นยังสามารถพบอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นระยะ ๆ ได้อีกด้วย

การเคลื่อนไหวของแขนขาเป็นระยะ ๆ ระหว่างการนอนหลับ (Periodic limp movements in sleep: PLMS)

80% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขยังเกิดการเคลื่อนไหว หรือการกระตุกของแขนขาเป็นระยะ ๆ ในระหว่างการนอนหลับหรืออาจเรียกย่อว่าภาวะ PLMS

หากคุณมีภาวะดังกล่าวร่วมด้วย ขาของคุณจะกระตุกหรือขยับโดยไม่สามารถควบคุมได้โดยปกติจะเกิดขึ้นตอนกลางคืนในขณะที่คุณหลับ การเคลื่อนไหวจะเป็นระยะสั้น ๆ และเกิดซ้ำ ๆ และมักเกิดขึ้นทุก ๆ 10 ถึง 60 วินาที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การกระตุกของแขนหรือขาดังกล่าวสามารถรุนแรงพอที่จะปลุกทั้งคุณและคู่ของคุณให้ตื่นขึ้นมากลางดึกได้ การเคลื่อนไหวของขาที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจเกิดขึ้นในช่วงที่คุณตื่นนอนและพักผ่อนได้ด้วยเช่นกัน

สาเหตุของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

ในหลายกรณีไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเคลื่อนไหวหรือการกระตุกขาดังกล่าว

ซึ่งกรณีนี้จะเรียกว่า กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขชนิดไม่ทราบสาเหตุ หรือกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขปฐมภูมิ (Idiopathic / Primary restless legs syndrome)

การวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่ายีนบางตัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าวและสามารถสืบทอดต่อกันในครอบครัว ในกรณีนี้อาการของผู้ป่วยมักเกิดขึ้นก่อนอายุจะครบ 40 ปี

โดปามีน

มีหลักฐานที่บ่งว่ากลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาของสมองส่วนหนึ่งที่เรียกว่าปมประสาทฐานหรือเบซัลแกลงเกีย (basal ganglia) ปมประสาทนี้ใช้สารเคมีสื่อประสาท (neurotransmitter) ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโดปามีนเพื่อช่วยควบคุมกิจกรรมและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่าง ๆ

สารโดปามีนทำหน้าที่เป็นตัวส่งข้อความระหว่างสมองและระบบประสาทเพื่อช่วยให้สมองสามารถควบคุมและประสานการเคลื่อนไหวทุกอย่างในร่างกาย หากเซลล์ประสาทเกิดความเสียหายปริมาณของโดปามีนในสมองก็จะลดลง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการกระตุกและการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระดับโดปามีนโดยปกติจะลดลงในช่วงท้ายของวันเช่นตอนเย็นหรือตอนกลางคืนจึงเป็นเหตุผลอธิบายสำหรับคำถามว่าทำไมอาการของโรคดังกล่าวจึงแย่ลงในช่วงตอนเย็นและตอนกลางคืน

ภาวะทางการแพทย์ที่มีอยู่

อาการขาอยู่ไม่สุขในบางครั้งอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากเป็นภาวะแทรกซ้อนของภาวะสุขภาพอื่น ๆ หรืออาจเป็นผลมาจากปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ โดยจะเรียกว่าเป็นกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขทุติยภูมิ หรือกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขรอง

คุณสามารถเกิดอาการขาอยู่ไม่สุขขึ้นได้หากคุณมีภาวะดังนี้:

โรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก - ระดับธาตุเหล็กในเลือดต่ำอาจนำไปสู่ระดับของโดปามีนที่ลดลงทำให้เกิดอาการขาขยับเองหรือกระตุกตามมาได้

มีความผิดปกติเรื้อรัง เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

กำลังตั้งครรภ์ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์ที่ 27 จนถึงก่อนคลอดสามารถเกิดอาการขาขยับหรือกระตุกขึ้นได้และในกรณีส่วนใหญ่อาการจะหายไปภายในสี่สัปดาห์หลังคลอด

สิ่งกระตุ้นอาการ (trigger)

มีสิ่งกระตุ้นหลายอย่างที่ไม่ก่อให้เกิดอาการขาขยับหรือกระตุกโดยตรง แต่สามารถทำให้อาการแย่ลง ได้แก่ยาชนิดต่าง ๆ เช่น:

  • ยากล่อมประสาทบางตัว
  • ยาสำหรับโรคจิตเวช
  • ยากลุ่มลิเทียม - ซึ่งใช้ในการรักษาอาการไบโพลาร์
  • ยากลุ่ม calcium channel blockers - ซึ่งใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ยาแก้แพ้ชนิดยับยั้งฮิสตามีนบางตัว
  • ยา metoclopramide - ซึ่งใช้ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้

สิ่งกระตุ้นอาการที่เป็นไปได้อื่น ๆ ได้แก่ :

  • การสูบบุหรี่อย่างหนัก หรือการดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ความเครียด
  • ขาดการออกกำลังกาย

ที่มา : https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/restless-legs-syndrome#causes


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Restless legs syndrome. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/restless-legs-syndrome/)
Restless legs syndrome: Causes, treatments, and home remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/7882)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป