อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)

อาการนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นอาการที่มีลักษณะของการนอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิทหรือไม่หลับไม่เพียงพออันเป็นผลจากการขาดการนอนหลับ จากเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-IV อาการนอนไม่หลับมีความเกี่ยวข้องกับความไม่พึงปรารถนาของปริมาณในการนอน คุณภาพในการนอนหรือเวลาในการนอนอย่างน้อย 3 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับมักถูกแบ่งออกเป็น อาการนอนไม่หลับแบบปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • อาการนอนไม่หลับแบบปฐมภูมิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาการนอนไม่หลับอันเป็นผลมาจากปัจจัยทางจิต มักถูกวินิจฉัยหลังจากคนไข้แสดงอาการของความผิดปกติทางจิต และมักถูกวินิจฉัยจากอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรงและมีความคิดที่เป็นผลเสียต่อตนเองซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับการไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ คนไข้ที่มีอาการนอนไม่หลับแบบปฐมภูมิมักพบว่าสามารถนอนหลับได้ง่ายในเวลาที่ไม่ใช่เวลานอนแบบไม่ตั้งใจ หรือเมื่อหลับในสถานที่ที่มิใช่บ้าน อาการนอนไม่หลับปฐมภูมิแบบเรื้อรังมักถูกให้นิยามว่าเป็นกลุ่มอาการที่สามารถเริ่มหลับได้ยาก หรือมีความยากลำบากในการหลับลึก เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือนซึ่งทำให้เกิดความบกพร่องทางสังคม การทำงานและรูปแบบการทำงานอื่นๆ
  • อาการนอนไม่หลับแบบทุติยภูมิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Extrinsic Insomnia มักเป็นอาการนอนไม่หลับอันเป็นผลมาจากปัจจัยทางร่างกาย เช่น จากอาการเจ็บปวด การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น จากโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า มักปรากฎอาการในระยะสั้นๆ ซึ่งมักเป็นผลจากความเครียดแบบฉับพลัน อาการป่วยแบบฉับพลัน อาการเจ็ทแลค อาการนอนไม่หลับประเภทนี้มักจะหายได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์หากมีอาการนานกว่านี้จะถูกพิจารณาให้เป็นอาการนอนไม่หลับเรื้อรังซึ่งมักมีสาเหตุแตกต่างออกไป

อาการนอนไม่หลับประเภทอื่น ได้แก่ อาการนอนไม่หลับจากความกดอากาศ อาการนอนไม่หลับจากการใช้ยาและแอลกอฮอร์ อาการนอนไม่หลับจากสภาพแวดล้อมและอาการนอนไม่หลับจากปัจจัยด้านสุขอนามัย

สัญญาณการเกิด

ผู้ป่วยมีความทุกข์จากอาการเหนื่อยล้าในตอนกลางวัน มีความยากลำบากในการจดจ่อกับสิ่งต่างๆ มีความยากลำบากในการอดกลั้นกับปัจจัยก่อกวน และมีปัญหาด้านความจำเล็กน้อย

การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการไม่ใช้ยา

ภายหลังจากการถูกวินิจฉัยว่ามีอาการนอนไม่หลับและทำการศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้คนไข้นอนไม่หลับแล้ว เป้าหมายหลักของการรักาคือการป้องกันการเกิดอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยใช้วิธีการให้การศึกษากับผู้ป่วยรวมถึงการปรับพฤติกรรมโดยมักมีการตั้งเป้าหมายระยะยาวอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จในการรักษาได้ โดยวิธีการรักษาอาการนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยามีดังนี้คือ

การกำจัดปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการนอนไม่หลับ การสร้างสุขภาวะทางการนอนหลับโดยการแนะนำให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญก่อนนอน หลีกเลี่ยงคาเฟอีน บุหรี่และแอลกอฮอล์ ลดการดื่มน้ำในช่วงเย็น หลีกเลี่ยงแสงสว่างในขณะที่ทำการนอนหลับ

ใช้การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการนอนหลับที่มีคุณภาพ อันได้แก่ การกำหนดเวลาหลับและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันแม้กระทั่งในช่วงวันหยุด กำหนดให้มีการตื่นเวลาเดิมแม้จะเริ่มนอนหลับในเวลาที่แตกต่างกัน หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมบนเตียง หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือบนเตียง หลีกเลี่ยงการบังคับให้ตนเองหลับ หากไม่หลับภายใน 20 – 30 นาทีให้ออกจากห้องนอนและทำกิจกรรอื่นๆที่ผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือหรือฟังเพลง และหลีกเลี่ยงการนอนหลับในตอนกลางวัน

การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการใช้ยา

หากการรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการไม่ใช้ยาไม่ได้ผล การใช้ยาจึงเป็นวิธีที่พึงกระทำต่อไปโดยยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับโดยทั่วไปมีดังนี้

การใช้ยาในกลุ่ม antihistamine ซึ่งมีข้อบ่งใช้เป็นยาแก้แพ้และป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ โดยขนาดใช้เพื่อผลในการบรรเทาอาการนอนไม่หลับคือ 25 – 50 มิลลิกรัมdiphenhydramine หรือ 25 มิลลิกรัม doxylamine ก่อนนอน ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ และไม่ควรใช้ doxylamine ในสตรีมีครรภ์ ในระหว่างให้นมบุตรหรือในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี นอกจากนี้การใช้ยาในกลุ่ม antihistamine จะต้องเป็นยาในกลุ่ม 1st generation เท่านั้น หากเป็นยาในกลุ่ม 2nd generation จะทำให้ผลการรักษาไม่ประสบผลสำเร็จได้ การใช้ melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของ circadian system ในเรื่องวงจรการตื่นและหลับสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ แม้ว่ากลไกการทำงานของ melatonin ที่มีต่อการบรรเทาอาการนอนไม่หลับจะยังไม่แน่ชัด แต่ก็มีการวิจัยที่บ่งชี้ว่า melatonin อาจก่อให้เกิด hypnotic effect ซึ่งจะทำให้เกิดการ resynchronization ของ circadian system ได้ มีข้อบ่งใช้ของ melatonin คือ เป็นอาหารเสริมแต่มักจะไม่พบในร้านขายยาทั่วไปเนื่องจาก melatonin ไม่ได้รับการรับรองจาก FDA ถึงผลด้านการบรรเทาอาการนอนไม่หลับ และไม่มีขนาดใช้ที่ชัดเจน          


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD (2017). An Overview of Insomnia. (https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-causes)
Peters, B. Verywell Health (2018). Insomnia Treatment Option: Phototherapy. (https://www.verywellhealth.com/insomnia-treatment-option-relaxation-and-biofeedback-3015203)
O’Connell, K. Healthline (2017). Effects of Insomnia on the Body. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9155.php)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป