กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Rhodiola (โรดิโอลา)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ข้อมูลภาพรวมของโรดิโอลา

โรดิโอลา (Rhodiola) คือต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีการนำรากไปใช้ทำยาเพื่อรักษาภาวะมากมาย แต่ ณ ปัจจุบันยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดว่าสรรพคุณใดที่มีประสิทธิภาพจริง ๆ

โรดิโอลาถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการบำรุงกำลัง, ความทนทาน, ความแข็งแรง, และสมรรถภาพของจิตใจ และยังถูกใช้เป็น “อแดปโทเจน” (adaptogen) เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวและต่อสู้กับความเครียดทางร่างกาย, เคมี, และสภาพแวดล้อม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรดิโอลาเป็นพืชท้องถิ่นแถบอาร์กติกของยุโรป, เอเชีย, และอลาสก้า นับว่าเป็นพืชที่ใช้ทำยาที่มีประวัติอันยาวนานในประเทศไอส์แลนด์, สวีเดน, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, และกรีซ โดยมีข้อมูลว่าแพทย์ชาวกรีซได้ใช้พืชชนิดนี้ในช่วงยุคก่อนคริสตกาลเสียอีก

โรดิโอลาออกฤทธิ์อย่างไร?

สารสกัดจากโรดิโอลาอาจช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหาย, ควบคุมการเต้นของหัวใจ, และเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้และความจำ

การใช้และประสิทธิภาพของโรดิโอลา

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้โรดิโอลารักษาได้หรือไม่

  • เมาที่สูง (Altitude sickness) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานโรดิโอลาสี่ครั้งต่อวันนาน 7 วันไม่ได้ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือดหรือภาวะเครียดจากออกซิเดชัน (oxidative stress) ในผู้ที่ประสบกับภาวะเมาที่สูง
  • เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย ยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรดิโอลาในเรื่องการเพิ่มศักยภาพการออกกำลังกายอยู่ โดยทั่วไปแล้วโรดิโอลาอาจช่วยเรื่องนี้ได้ในระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการใช้ในระยะสั้นหรือระยะยาว โรดิโอลาก็ไม่อาจช่ยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อหรือลดความเสียหายที่กล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายแต่อย่างใด
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ งานวิจัยกล่าวว่าโรดิโอลาอาจส่งผลดีต่อโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะบ้าง แต่โรดิโอลาอาจไม่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซ้ำได้
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานสารสกัดจากโรดิโอลาอาจลดอาการจากโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าชนิดอ่อนถึงค่อนข้างรุนแรงได้หลังการรักษา 6 สัปดาห์
  • ความเสียหายที่หัวใจจากยา epirubicin งานวิจัยกล่าวว่าการทานสารสกัดตัวยาโรดิโอลาที่เรียกว่า salidroside เริ่มจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนการทำเคมีบำบัดและต่อเนื่องตลอดการรักษาเคมีอาจสามารถลดความเสียหายที่หัวใจจากการบำบัดเคมีด้วยยา epirubicin ได้
  • ความเหนื่อยล้า งานวิจัยกล่าวว่าโรดิโอลาอาจลดความเหนื่อยล้าที่เกิดในสถานการณ์เครียดได้ โดยการรับประทานสารสกัดโรดิโอลาอาจลดความเหนื่อยล้าและเพิ่มความรู้สึกดีของเด็กนักเรียนที่ต้องเข้าสอบ, คนงานกะกลางคืน, และทหารที่มีการนอนหลับผิดเวลาได้ อีกทั้งสารสกัดจากโรดิโอลายังอาจลดความเหนื่อยล้าทางสมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่หนึ่งได้ แต่ ณ ขณะนี้ยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสกัดโรดิโอลา, สารสกัดจากซิแซนดราเบอร์รี่, และสารสกัดจากโสมไซบีเรียในเรื่องประสิทธิภาพทางสมองของผู้ที่เหนื่อยล้าจากการงานที่ขัดแย้งกันอยู่ ส่วนงานวิจัยอื่น ๆ กลับแสดงให้เห็นว่าสารสกัดประเภทนี้กลับไม่ได้มีสรรพคุณเช่นนี้
  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) มีหลักฐานกล่าวว่าสารสกัดจากโรดิโอลาอาจลดภาวะวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder) ได้
  • ความเครียด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานสารสกัดโรดิโอลาก่อนอาหารเช้าและอาหารเที่ยงสามารถลดอาการเครียดจากการใช้ชีวิตได้
  • ชะลอวัย
  • มะเร็ง
  • เบาหวาน (Diabetes)
  • สูญเสียการได้ยิน
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • บำรุงกำลัง
  • หัวใจเต้นผิดปรกติ
  • ปัญหาทางเพศ
  • ภาวะหัวใจผิดปรกติจากความเครียด
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของโรดิโอลาเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของโรดิโอลา

โรดิโอลาถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในระยะเวลาสั้น ๆ โดยการทานสารสกัดโรดิโอลาสองครั้งต่อวันนาน 6-10 สัปดาห์ถูกนับว่ามีความปลอดภัย ส่วนความปลอดภัยในการใช้ระยะยาวนั้นยังคงไม่แน่ชัด โรดิโอลาอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน, ปากแห้ง, หรือเพิ่มการผลิตน้ำลายมากขึ้นได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้โรดิโอลาในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้โรดิโอลาเพื่อความปลอดภัย

 โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง: โรดิโอลาอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันขึ้น ซึ่งทางทฤษฎีแล้วโรดิโอลาอาจทำให้โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองอย่างโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis (MS)), โรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (rheumatoid arthritis (RA)), และโรคอื่น ๆ ทรุดหนักขึ้นได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เบาหวาน: โรดิโอลาอาจลดระดับน้ำตาลในลือดลงได้ โดยอิงจากทฤษฎีแล้วโรดิโอลาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกลงของน้ำตาลในเลือดจนต่ำเกินไป โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอินซูลินหรือยาเบาหวานอื่น ๆ 

ความดันโลหิตต่ำ: โรดิโอลาอาจลดความดันโลหิตลงได้ ตามทฤษฎีแล้วโรดิโอลาอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไปโดยเฉพาะกับผู้ที่มีปัญหาความดันต่ำอยู่แล้ว

การใช้โรดิโอลาร่วมกับยาชนิดอื่น

ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของโรดิโอลา

ผู้ใหญ่

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับโรดิโอลานั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ, สุขภาพ, และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของโรดิโอลา ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้โรดิโอลาทุกครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sana Ishaque, Larissa Shamseer, Cecilia Bukutu, Sunita Vohra, Rhodiola rosea for physical and mental fatigue: a systematic review (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3541197/), 29 May 2012.
Gou-ping Ma, Qun Zheng, Meng-bei Xu, Xiao-li Zhou, Lin Lu, Zuo-xiao Li, Guo-Qing Zheng, Rhodiola rosea L. Improves Learning and Memory Function: Preclinical Evidence and Possible Mechanisms (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6288277/), 4 December 2018.
Arlin Cuncic, The Health Benefits of Rhodiola (https://www.verywellmind.com/how-is-rhodiola-rosea-used-to-treat-anxiety-3024972), 20 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)