กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Maca (มาคา)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ข้อมูลภาพรวมของมาคา

มาคา (Maca) คือต้นไม้ที่โตในทางตอนกลางของประเทศเปรู ณ ที่ราบสูงแถบภูเขา Andes และถูกเพาะปลูกเป็นพืชผักประจำถิ่นเป็นเวลาอย่างน้อย 3000 ปีมาแล้ว มาคาเป็นพืชตระกูลเดียวกับหัวแรดิช และมีกลิ่นคล้าย butterscotch ซึ่งมีการนำรากของมาคาไปใช้ทำยากัน

ผู้คนมักรับประทานมาคาเพื่อรักษาโรคโลหิตจาง (anemia), กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome (CFS)), และบำรุงกำลัง, เพิ่มประสิทธิภาพทางการกีฬา, และความจำ ผู้คนยังรับประทานมาคาสำหรับพร่องภาวะฮอร์โมนหญิง, ปัญหาประจำเดือน, อาการจากภาวะหมดประจำเดือน, เพิ่มโอกาสมีบุตร, และบรรเทาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากการใช้ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants), กระดูกพรุน (osteoporosis), ภาวะซึมเศร้า (depression), มะเร็งกระเพาะอาหาร, ลิวคีเมีย (leukemia), HIV/AIDS, วัณโรค (tuberculosis), เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชาย (erectile dysfunction (ED), เพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ, และเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มาคาสามารถถูกนำไปอบหรือย่าง, นำไปใส่ซุป, และใช้ทำเครื่องดื่มหมักที่เรียกว่า maca chichi

สำหรับทางการเกษตรนั้น มาคาถูกใช้ในการผลิตลูกหลานของปศุสัตว์

มาคาออกฤทธิ์อย่างไร?

รากของต้นมาคาประกอบด้วยเคมีมากมาย รวมไปถึงกรดไขมันและกรดอะมิโน อย่างไรก็ตามก็ยังคงขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณทั้งหมดของมาคา

การใช้และประสิทธิภาพของมาคา

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้มาคารักษาได้หรือไม่

  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากการใช้ยาต้านซึมเศร้า งานวิจัยกล่าวว่าการทานมาคาสองครั้งต่อวันนาน 12 สัปดาห์อาจเพิ่มความสามารถทางเพศในผู้หญิงที่กำลังใช้ยาต้านซึมเศร้าได้เล็กน้อย
  • ภาวะมีบุตรยากในชาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์มาคา (Maca Gelatinizada La Molina) ทุกวันนาน 4 เดือนจะเพิ่มจำนวนอสุจิและน้ำเชื้อของผู้ชายสุขภาพดีได้แต่ยังไม่แน่ชัดว่ามาคาสามารถเพิ่มโอกาสมีบุตรขึ้นหรือไม่
  • ภาวะหลังหมดประจำเดือน งานวิจัยกล่าวว่าการทานมาคา (Maca Powder Healthychoices) ทุกวันนาน 6 สัปดาห์สามารถควบคุมความดันโลหิตและอารมณ์ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้บ้าง อย่างภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวล แต่ประโยชน์เหล่านี้ก็ยังคงนับว่าน้อยมากอยู่ดี
  • ความต้องการทางเพศ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์มาคา (Maca Gelatinizada La Molina) ทุกวันนาน 12 สัปดาห์สามารถเพิ่มความต้องการทางเพศของผู้ชายสุขภาพดีได้
  • ภาวะโลหิตจาง (anemia)
  • ลิวคีเมีย (Leukemia)
  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome (CFS))
  • บำรุงกำลังและความสามารถทางการกีฬา
  • เพิ่มความจำ
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression)
  • ภาวะฮอร์โมนหญิงไม่สมดุล
  • ปัญหาประจำเดือน
  • อาการจากวัยหมดประจำเดือน
  • กระดูกพรุน (Osteoporosis)
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • วัณโรค (Tuberculosis)
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • HIV/AIDS
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของมาคาเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของมาคา

มาคาถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อบริโภคในปริมาณที่พบในอาหาร การบริโภคมาคาในปริมาณมากเป็นยาถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัย (มากถึง 3 กรัมต่อวัน) เมื่อใช้นาน 4 เดือน และผู้คนส่วนมากก็สามารถใช้มาคาได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้มาคาในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้พืชชนิดนี้เพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะที่อ่อนไหวต่อฮอร์โมนอย่างมะเร็งเต้านม, มะเร็งมดลูก, มะเร็งรังไข่, ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis), หรือเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (uterine fibroids): สารสกัดจากมาคาอาจออกฤทธิ์เหมือนเอสโทรเจน หากคุณกำลังเป็นภาวะเหล่านี้ที่อาจจะมีอาการทรุดลงเมื่อต้องกับเอสโทรเจน ไม่ควรใช้สารสกัดจากมาคา

การใช้มาคาร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของมาคา

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับมาคานั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ, สุขภาพ, และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของมาคา ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้มาคาทุกครั้ง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Yan-Jie Huang, Progress on the Chemical Constituents Derived from Glucosinolates in Maca (Lepidium meyenii) (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...)
Li Y, Research and application progress of Lepidium meyenii (maca) (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...) December 2018
Li Y, Maca polysaccharides: Extraction optimization, structural features and anti-fatigue activities (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), August 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)