กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Iodine (ไอโอดีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที

ไอโอดีน คือธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งนี้ร่างกายไม่สามารถผลิตไอโอดีนเองได้ การได้รับธาตุไอโอดีจึงต้องมาจากการรับประทานอาหารเท่านั้น ตามปกติแล้วในอาหารจะมีไอโอดีนอยู่น้อยมาก นอกเสียจากจะมีการเติมเข้าไปเพิ่มระหว่างกระบวนการประกอบอาหาร ซึ่งส่วนมากจะเป็นการเติมเกลือนั่นเอง แหล่งไอโอดีนที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือมหาสมุทรที่ซึ่งเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสาหร่ายทะเล

ต่อมไทรอยด์จำต้องใช้ไอโอดีนในการผลิตฮอร์โมน หากต่อมไทรอยด์ขาดไอโอดีน ร่างกายจะมีปฏิกิริยาและส่งสัญญาณไปยังต่อมไทรอยด์จนทำให้ทำงานหนักขึ้น และเกิดภาวะคอพอกได้ (goiter

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลที่จะตามมาอีกอย่างคือ เมื่อร่างกายขาดไอโอดีน หรือเรียกว่าภาวะขาดไอโอดีน (iodine deficiency) จะส่งผลร้ายแรงมาก ระดับฮอร์โมนไทรอยด์จะต่ำลง ในผู้หญิงจะทำให้หยุดการตกไข่และมีบุตรยาก นอกจากนี้ยังเกิดโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (autoimmune disease) ที่ต่อมไทรอยด์และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ นักวิจัยบางท่านเชื่อว่าภาวะขาดไอโอดีนนี้อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก และมะเร็งรังไข่

ภาวะขาดไอโอดีนที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ก็นับว่าเป็นภาวะร้ายแรงทั้งต่อแม่และเด็ก ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์และภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation) ของลูกได้ ไอโอดีนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการก่อร่างพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งในกรณีหายาก หากขาดไอโอดีจะพบการประสบกับการเกิดโรคเอ๋อ (cretinism) หรือภาวะผิดปกติที่ยับยั้งการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจของเด็ก

ภาวะขาดไอโอดีนเป็นหนึ่งในภาวะปัญหาที่พบได้มากที่สุดของโลก โรคที่บ่งชี้ถึงภาวะขาดไอโอดีนคือโรคคอพอก นอกจากนี้จากข้อมูลทั่วโลกคาดว่าภาวะขาดไอโอดีนเป็นสาเหตุ (ที่สามารถป้องกันได้) ของโรคปัญญาอ่อนอันดับแรกๆ อีกด้วย 

ไอโอดีนสามารถนำไปใช้กับการฉายรังสีฉุกเฉินเพื่อป้องกันต่อมไทรอยด์ต่อรังสีไอโอดีน (radioactive iodides) โดยมักจะเป็นการใช้ยาเม็ด Potassium iodide ระหว่างการฉายรังสี Potassium iodide ควรถูกใช้กับเหตุฉุกเฉินด้านรังสีเท่านั้น ไม่ใช่นำไปใช้กับการป้องกันโรคอื่นๆ

ไอโอดีนที่ใช้ทาบนผิวหนังนั้นสามารถฆ่าเชื้อโรค ป้องกันแผลในช่องปาก (mucositis) ที่เกิดจากการทำเคมีบำบัด และรักษาแผลเบาหวาน (diabetic ulcers) อีกทั้งยังสามารถนำไปทำให้น้ำบริสุทธิ์ขึ้นได้ด้วย

ไอโอดีนทำงานอย่างไร?

ไอโอดีนสามารถลดฮอร์โมนไทรอยด์และกำจัดเชื้อรา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ต่างๆ อย่างอะมีบาได้ โดยไอโอดีนประเภทพิเศษที่เรียกว่า potassium iodide นำไปใช้รักษา (แต่ไม่ใช่เพื่อการป้องกัน) ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้และประสิทธิภาพของไอโอดีน

ภาวะที่ใช้ไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะขาดไอโอดีน (Iodine deficiency) การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (หรือที่เรียกว่า อาหารเสริม) ไอโอดีนรวมทั้งการรับประทานเกลือเสริมไอโอดีน (iodized salt) จะช่วยป้องกันและรักษาภาวะขาดไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การสัมผัสรังสี การรับประทานไอโอดีนจะช่วยป้องกันต่อการถูกรังสีไอโอดีน (radioactive iodides)  
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ การรับประทานไอโอดีนสามารถบรรเทาอาการจากไทรอยด์เป็นพิษ (thyroid storm) และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปได้ อีกทั้งการรับประทานเกลือเสริมไอโอดีนนอกจาก thyroxine หลังการผ่าตัดยังช่วยลดขนาดของต่อมไทรอยด์ได้ด้วย
  • แผลที่ขา งานวิจัยกล่าวว่าการทา cadexomer iodine ที่แผลบนผิวหนังขาร่วมกับการบีดอัด (compression) เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์จะเพิ่มอัตราการฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งการทา povidone-iodine ร่วมกับการบีบอัดอาจช่วยสมานแผลที่ขาและลดโอกาสติดเชื้อลง

ภาวะที่อาจใช้ไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการใช้สายสวน มีหลักฐานว่าการทา povidone-iodine จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ที่ต้องเข้ารับการฟอกไตด้วยสายสวนได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอื่นกลับกล่าวว่าการทา povidone-iodine ที่สายสวนไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้แต่อย่างใด
  • เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) งานวิจัยกล่าวว่าสารละลาย povidone-iodine มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงต่อภาวะเยื่อตาอักเสบของทารกเกิดใหม่ได้ดีกว่าการใช้ silver nitrate อย่างไรก็ตาม การรักษานี้ก็ไม่อาจมีประสิทธิผลมากไปกว่าการใช้ยา erythromycin หรือ chloramphenicol
  • แผลที่เท้าจากเบาหวาน การทาไอโอดีนบริเวณแผลที่เท้าอาจให้ผลดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าจากโรคประจำตัวนี้
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (endometritis) การทาสารละลาย povidone-iodine ที่พื้นที่รอบช่องคลอดก่อนเข้ารับการผ่าคลอดจะลดความเสี่ยงต่อการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูกลง
  • อาการเจ็บปวดจากก้อนเนื้อเยื่อที่เต้านม (fibrocystic breast disease) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานไอโอดีน โดยเฉพาะ molecular iodine จะลดความเจ็บปวดจากก้อนเนื้อเยื่อที่เต้านมได้
  • ปวดเต้านม (mastalgia) การรับประทานยาเม็ดไอโอดีนทุกวันติดกัน 5 เดือนจะลดความเจ็บปวดและอาการกดเจ็บของผู้หญิงที่มีอาการปวดเต้านมจากประจำเดือนได้
  • อาการปวดและบวมภายในช่องปาก การทาไอโอดีนที่ผิวช่องปากจะป้องกันอาการปวดและบวมภายในปากที่เกิดจากการทำเคมีบำบัดได้
  • เหงือกอักเสบ (periodontitis) งานวิจัยกล่าวว่าการบ้วนปากด้วย povidone-iodine ระหว่างการรักษาเหงือกอักเสบที่ไม่เป็นการผ่าตัดสามารถลดความลึกของกระเปาะเหงือกอักเสบได้
  • การผ่าตัด บางงานวิจัยกล่าวว่าการทา povidone-iodine ระหว่างเข้ารับการผ่าตัดจะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อลง อย่างไรก็ตาม povidone-iodine อาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้ chlorhexidine ณ ตำแหน่งที่ผ่าตัดอยู่

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ไอโอดีนรักษาได้หรือไม่

  • เลือดออก งานวิจัยกล่าวว่าการทำความสะอาดเบ้าฟันด้วย povidone-iodine จะช่วยหยุดการไหลของเลือดที่เกิดจากการถอนฟันได้เทียบเท่ากับการใช้น้ำเกลือ
  • ภาวะไคลูเรีย (chyluria) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ povidone-iodine กับผู้ที่มีปัญหาน้ำเหลืองปนไขมัน (chyle) ออกมาพร้อมปัสสาวะที่เข้ารับการรักษา pelvic instillation sclerotherapy อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับวิธีรักษาตามปกติ
  • แผลที่กระจกตา (corneal ulceration) มีหลักฐานที่กล่าวว่าการใช้  povidone-iodine ร่วมกับการบำบัดด้วยยาปฏิชีวนะตามปกติไม่อาจช่วยรักษาการมองเห็นของผู้ที่มีแผลที่กระจกตาได้
  • ภาวะเชื้อราที่ผิวหนัง (Cutaneous sporotrichosis) Potassium iodide ใช้ในการรักษาภาวะเชื้อราบนผิวหนัง มีรายงานว่าการรับประทาน Potassium iodide เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการรักษากำจัดเชื้อรานั้นต่างก็มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยภาวะนี้อย่างมาก
  • ปอดบวม (Pneumonia) งานวิจัยกล่าวว่าการกลั้วคอด้วย povidone-iodine จะลดความเสี่ยงต่อโรคปอดบวมในกลุ่มผู้ที่ประสบเหตุศีรษะได้รับการกระทบกระแทกจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • สมานบาดแผล สารไอโอดีนช่วยสมานตัวของบาดแผล ขณะที่มีบางหลักฐานกล่าวว่าการทาไอโอดีนที่แผลนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ผ้าปิดแผลแบบที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค แต่กระนั้นตัวไอโอดีนก็อาจมีฤทธิ์ในการรักษาแผลที่ด้อยกว่ายาปฏิชีวนะ
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของไอโอดีนเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของไอโอดีน

ไอโอดีนจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อเป็นการรับประทานในปริมาณที่กำหนดหรือทาบนผิวหนังด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำอนุมัติแล้ว

ไอโอดีนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบ้างในผู้ใช้บางราย เช่น คลื่นไส้ ปวดท้อง คัดจมูก ปวดศีรษะ มีกลิ่นเหล็กในปาก และท้องร่วง

สำหรับผู้ที่อ่อนไหวต่อไอโอดีนจะมีผลข้างเคียง เช่น ริมฝีปากและใบหน้าบวม (angioedema) เลือดออกและฟกช้ำอย่างรุนแรง มีไข้ ปวดข้อต่อ ต่อมน้ำเหลืองโต ปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง และเสียชีวิต

การใช้ไอโอดีนในปริมาณมากหรือระยะยาวอาจจะไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่ควรเลี่ยงการใช้ในระยะเวลานานด้วยปริมาณไอโอดีนที่มากกว่า 1100 mcg ต่อวัน (ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่รับได้ (upper tolerable limit, UL)) โดยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ และในเด็ก ปริมาณไอโอดีนไม่ควรเกิน 200 mcg ต่อวันสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี, 300 mcg ต่อวันสำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี, 600 mcg ต่อวันสำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี, และ 900 mcg สำหรับวัยรุ่น

มีความกังวลสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ว่าการใช้ไอโอดีนมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาไทรอยด์ โดยการบริโภคไอโอดีนปริมาณมากอาจทำให้เกิดกลิ่นเหล็กในปาก ปวดฟันและเหงือก แสบร้อนในปากและลำคอ น้ำลายเพิ่มขึ้น คออักเสบ ปวดท้อง ท้องร่วง ซึมเศร้า ปัญหาผิวหนัง และผลข้างเคียงอื่นๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อใช้วิธีทาไอโอดีนบนผิวหนังโดยตรงอาจทำให้เกิดความระคายเคืองผิว ผิวด่าง ปฏิกิริยาแพ้ที่ผิวหนัง และผลข้างเคียงอื่นๆ

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ไอโอดีนมีความปลอดภัยเมื่อบริโภคหรือทาบนผิวหนังในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองแล้ว (สารละลาย 2%) การบริโภคไอโอดีนในปริมาณสูงกว่า 1,100 mcg ต่อวันอาจไม่ปลอดภัยหากคุณมีอายุเกิน 18 ปี และไม่ควรได้รับไอโอดีนเกิน 900 mcg ต่อวันหากคุณมีอายุ 14-18 ปี ซึ่งการบริโภคไอโอดีนปริมาณมากนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาที่ไทรอยด์ได้

โรคไทรอยด์ทำลายตนเอง (Autoimmune thyroid disease) ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะนี้อาจมีความอ่อนไหวที่จะเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงต่อไอโอดีนได้

ผิวหนังอักเสบจากเริม (dermatitis herpetiformisการรับประทานไอโอดีนจะทำให้ผื่นจากโรคนี้รุนแรงมากขึ้น

ภาวะไทรอยด์ผิดปกติอย่างภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน (hypothyroidismคอพอก (goiterหรือเนื้องอกที่ไทรอยด์ (thyroid tumorการใช้ไอโอดีนเป็นเวลานานหรือใช้ในปริมาณมากอาจทำให้ภาวะเหล่านี้ทรุดลงได้

การใช้ไอโอดีนร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้ไอโอดีนร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาสำหรับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Antithyroid drugs) กับไอโอดีน

ไอโอดีนจะส่งผลต่อไทรอยด์ โดยการรับประทานไอโอดีนร่วมกับยาสำหรับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (overactive thyroid) จะเป็นการลดไทรอยด์มากเกินไป ห้ามรับประทานอาหารเสริมไอโอดีนหากคุณกำลังใช้ยาประเภทนี้อยู่ โดยตัวอย่างยากลุ่มนี้มี methenamine mandelate (Methimazole), methimazole (Tapazole), potassium iodide (Thyro-Block), และอื่นๆ

ใช้ไอโอดีนร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • Amiodarone (Cordarone) กับไอโอดีน

Amiodarone (Cordarone) อาจประกอบด้วยไอโอดีนด้วย ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมไอโอดีนร่วมกับ Amiodarone (Cordarone) จะทำให้มีไอโอดีนในเลือดมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ที่ส่งผลต่อไทรอยด์

  • ลิเทียม (Lithium) กับไอโอดีน

ลิเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไทรอยด์ โดยการใช้ลิเทียมร่วมกับไอโอดีนอาจทำให้เกิดการเสพติด ยาทั้งสองส่งผลให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ขึ้นได้ ดังนั้นควรเฝ้าระวังการทำงานของไทรอยด์เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาทั้งสองร่วมกัน

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (ACE inhibitors) กับไอโอดีน

ยาสำหรับภาวะความดันโลหิตสูงบางชนิดจะลดความเร็วที่ร่างกายกำจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย โดยอาหารเสริมไอโอดีนส่วนมากประกอบด้วยโพแทสเซียมเช่นกัน การรับประทาน potassium iodide ร่วมกับยาความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดโพแทสเซียมค้างในร่างกายมากเกินไป ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทาน potassium iodide หากคุณกำลังใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูงอยู่ ตัวอย่างยาสำหรับความดันโลหิตสูงมีทั้ง captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), lisinopril (Prinivil, Zestril), ramipril (Altace), และอื่นๆ

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (Angiotensin receptor blockers (ARBs)) กับไอโอดีน

ยาสำหรับภาวะความดันโลหิตสูงบางชนิดจะลดความเร็วที่ร่างกายกำจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย โดยอาหารเสริมไอโอดีนส่วนมากก็ประกอบด้วยโพแทสเซียมเช่นกัน การรับประทาน potassium iodide ร่วมกับยาความดันสูงอาจทำให้เกิดโพแทสเซียมค้างในร่างกายมากเกินไป ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทาน potassium iodide หากคุณกำลังใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูงอยู่ ตัวอย่างยา  ARB มีทั้ง losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), irbesartan (Avapro), candesartan (Atacand), telmisartan (Micardis), และ eprosartan (Teveten)

  • ยาขับน้ำ (Potassium-sparing diuretics) กับไอโอดีน

อาหารเสริมไอโอดีนส่วนมากประกอบด้วยโพแทสเซียม ซึ่งยาขับน้ำบางประเภทเองก็อาจเพิ่มระดับโพแทสเซียมในร่างกายเช่นกัน ดังนั้นการรับประทาน potassium iodide ร่วมกับยาขับน้ำอาจทำให้เกิดโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไป จึงไม่ควรทาน potassium iodide ที่มีฤทธิ์เพิ่มโพแทสเซียมในร่างกาย โดยยาขับน้ำที่มีโพแทสเซียมนั้นมีทั้ง spironolactone (Aldactone), triamterene (Dyrenium), และ amiloride (Midamor)

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน

  • สำหรับภาวะฉุกเฉินทางรังสี ควรมีการให้ potassium iodide (KI) ก่อนหรือทันทีหลังจากคนไข้สัมผัสกับรังสี โดยเฉพาะกับผู้หญิงมีครรภ์และผู้ที่ต้องให้นมบุตร ดังนั้นปริมาณการให้ KI จะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ได้รับและอายุของคนไข้ การสัมผัสรังสีที่ได้รับจะถูกวัดในหน่วย centigrays (cGy) สำหรับทารก เด็กเล็ก วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์/แม่ที่ให้นมบุตรจะมีการให้ KI เมื่อมีการถูกรังสีที่ 5 centigrays (cGy) ขึ้นไป โดยยาที่ใช้มักจะเป็นยาเม็ดที่สามารถนำไปบดและผสมเข้ากับน้ำผลไม้ แยม หรือนมก็ได้
    • สำหรับเด็กที่เกิดได้แล้ว 1 เดือน: KI 16 mg
    • สำหรับทารกและเด็กอายุมากกว่า 1 เดือนถึง 3 ปี: KI  32 mg
    • สำหรับเด็กอายุ 3-12 ปี: KI 65 mg
    • สำหรับวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี: KI 65 mg หรือ 120 mg หากเด็กวัยรุ่นมีขนาดร่างกายเทียบเท่าผู้ใหญ่
    • สำหรับสตรีมีครรภ์และแม่ให้นมบุตร: KI 120 mg
    • สำหรับผู้ใหญ่อายุ 18-40 ปีที่ได้รับรังสี 12 cGy ขึ้นไป: KI 130 mg
    • สำหรับผู้หญิงอายุ 40 ปีที่ได้รับรังสี 500 cGy ขึ้นไป: KI 130 mg

มีข้อมูลว่าค่าโภชนาการที่ควรได้รับ (Adequate Intake (AI)) ของไอโอดีนสำหรับทารกอายุ 0-6 เดือนคือ 110 mcg/วัน, 7-12 เดือนคือ 130 mcg/วัน

สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ค่าโภชนาการที่แนะนำ (Recommended Dietary Amounts (RDA)) ที่ตั้งไว้คือ เด็กอายุ 1-8 ปี = 90 mcg/วัน, 9-13 ปี = 120 mcg/วัน, ผู้ที่อายุ 14 ปีขึ้นไป = 150 mcg/วัน, สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ค่า RDA คือ 209 mcg/วัน และสำหรับผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรคือ 290 mcg/วัน

การบริโภคโอไอดีนตามข้อมูลปริมาณสารอาหารสูงสุดที่ควรได้รับ (Tolerable Upper Intake Levels (UL)) นั้นมักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี 200 mcg/วัน, 4-8 ปีคือ 300 mcg/วัน, 9-13 ปีคือ 600 mcg/วัน, อายุ 14-18 ปี (รวมถึงผู้หญิงท้องและผู้หญิงมีครรภ์) คือ 900 mcg/วัน สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 19 ปีรวมถึงสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรปริมาณอาหารสูงสุดคือ 1,100 mcg/วัน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Megan Ware, RDN, L.D., Everything you need to know about iodine (https://www.medicalnewstoday.com/articles/288471.php), 30 May 2017.
mayoclinic, Hypothyroidism: Should I take iodine supplements? (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hypothyroidism/expert-answers/hypothyroidism-iodine/faq-20057929), 11 May 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)