กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Glucomannan (กลูโคแมนแนน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ข้อมูลภาพรวมของกลูโคแมนแนน

กลูโคแมนแนน (Glucomannan) คือใยอาหาร (dietary fiber) ชนิดหนึ่งที่มักผลิตมาจากรากหัวบุก มีการนำผง, แคปซูล, และยาเม็ดกลูโคแมนแนนไปใช้เป็นยารักษาภาวะต่าง ๆ 

เมื่อรับประทานกลูโคแมนแนนสามารถบรรเทาอาการท้องผูก, ควบคุมน้ำหนักตัว, ลดปริมาณน้ำตาลสูงในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน, ลดไขมันสูงในเลือด, ลดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism), ความดันโลหิตสูง, และภาวะของกระเพาะอาหารที่เรียกว่าภาวะอาหารผ่านกระเพาะสู่ลำไส้เร็ว (dumping syndrome) และโรคประสาทกระเพาะอาหาร (functional gastrointestinal disorder) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในอาหารกลูโคแมนแนนถูกใช้เป็นตัวสร้างความข้นหรือทำให้อาหารเกาะตัวกันเป็นเจล 

กลูโคแมนแนนออกฤทธิ์อย่างไร?

กลูโคแมนแนนอาจออกฤทธิ์ภายในกระเพาะและลำไส้ด้วยการดูดซับน้ำเพื่อยึดเกาะใยอาหารซึ่งจะช่วยรักษาภาวะท้องผูก อีกทั้งยังช่วยชะลอการดูดซับน้ำตาลและไขมันในลำไส้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน และลดระดับไขมันลง

การใช้และประสิทธิภาพของกลูโคแมนแนน

ภาวะที่อาจใช้กลูโคแมนแนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ท้องผูก (Constipation) การรับประทานกลูโคแมนแนนสามารถบรรเทาอาการท้องผูกในผู้ใหญ่ได้ อีกทั้งยังช่วยลดอาการท้องผูกในเด็กได้แม้ผลลัพธ์ที่รายงานมายังคงไม่สอดคล้องกันอยู่ก็ตาม
  • เบาหวาน (Diabetes) การทานกลูโคมแมนแนนอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตของผู้ป่วยเบาหวานได้
  • ไขมันในเลือด การทานกลูโคแมนแนนอาจช่วยปรับระดับไขมันของผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้กลูโคแมนแนนรักษาได้หรือไม่

  • ภาวะอาหารผ่านกระเพาะสู่ลำไส้เร็ว (dumping syndrome) โรคอาหารผ่านกระเพาะสู่ลำไส้เร็วเกิดขึ้นเมื่ออาหารเคลื่อนตัวจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้ร่างกายต้องปล่อยอินซูลินออกมาปริมาณมากจนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกลูโคแมนแนนอาจช่วยป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดตกลงต่ำเกินไปหลังการรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ว่างานวิจัยทุกชิ้นจะเห็นด้วยกับข้อมูลดังกล่าว
  • โรคประสาทกระเพาะอาหาร (functional gastrointestinal disorder) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานกลูโคแมนแนนไม่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง, ปวดบิด, หรือท้องอืดในเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ได้
  • ความดันโลหิตสูง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลูโคแมนแนนอาจช่วยปรับระดับความดันโลหิตของผู้ที่มีปัญหาความดันสูงได้
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (hyperthyroidism) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลูโคแมนแนนร่วมกับ methimazole และ propranolol สามารถลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในผู้ที่มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปได้
  • ภาวะอ้วน (Obesity) งานวิจัยบางชิ้นพบว่าการทานกลูโคแมนแนนจะช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนักของผู้ใหญ่และเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่างานวิจัยทุกชิ้นจะเห็นด้วยกับข้อมูลนี้
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องศึกษาวิจัยห้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของกลูโคแมนแนนเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของกลูโคแมนแนน

ผงหรือแป้งกลูโคแมนแนนจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อบริโภคเป็นอาหาร โดยผู้ใหญ่และเด็กส่วนมากก็สามารถบริโภคผงหรือยากลูโคแมนแนนที่ใช้ทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัยเมื่อใช้ใน อย่างไรก็ตามยาเม็ดที่ประกอบด้วยกลูโคแมนแนนนั้นจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่และค่อนข้างไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเนื่องจากว่าอาจทำให้เกิดการอุดตันของลำคอหรือลำไส้ได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้กลูโคแมนแนน ในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้กลูโคแมนแนนเพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เบาหวาน: กลูโคแมนแนนอาจรบกวนการควบคุมน้ำตาลของร่างกาย ดังนั้นเมื่อคุณทานกลูโคแมนแนนควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด โดยเพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาหรือฉีดยาคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การใช้กลูโคแมนแนนร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้กลูโคแมนแนนร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับเบาหวาน (Antidiabetes drugs) กับกลูโคแมนแนน

กลูโคแมนแนนสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ได้ ส่วนยาเบาหวานมีไว้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน ดังนั้นการทานกลูโคแมนแนนร่วมกับยาเบาหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณตกลงต่ำเกินไป จึงควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด และอาจต้องมีการปรับปริมาณยาเบาหวานตามความจำเป็น ตัวอย่างยาที่ใช้สำหรับเบาหวานมี glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase), และอื่น ๆ

  • ยารับประทานทางปาก (Oral drugs) กับกลูโคแมนแนน

กลูโคแมนแนนจะดูดซับสารที่อยู่ในกระเพาะและลำไส้ การทานกลูโคแมนแนนร่วมกับยาที่ใช้รับประทานจึงอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง เพื่อป้องกันการตีกันเช่นนี้จึงควรทานกลูโคแมนแนนหลังทานยาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • สำหรับอาการท้องผูก: ปริมาณของกลูโคแมนแนนที่ใช้กับอาการนี้มักจะอยู่ที่ระยะ 2-4.5 กรัมต่อวัน โดยสามารถแบ่งโดสเป็นหลายครั้งได้
  • สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูง: มีข้อกำหนดปริมาณกลูโคแมนแนนมากมายและหลายรูปแบบภายในระยะสั้น (มากถึง 12 สัปดาห์) เช่นการทานบิสกิตที่ประกอบด้วยกลูโคแมนแนน 0.5-0.7 กรัมต่อ 100 kcal, อาหารเสริมกลูโคแมนแนนที่ 2.4-3.9 กรัมต่อวัน, ทานอาหารอัดแท่งที่มีกลูโคแมนแนน 3.33 กรัมสามครั้งต่อวัน, หรือรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยกลูโคแมนแนน 5-10 กรัมต่อวัน
  • สำหรับเบาหวานประเภท 2: ปริมาณกลูโคแมนแนนที่ใช้ประมาณ 3-4 กรัมต่อวันนานถึง 8 สัปดาห์ รับประทานบิสกิตที่ประกอบด้วยกลูโคแมนแนน 0.5-0.7 กรัมต่อ 100 kcal นาน 3 สัปดาห์ อาหารเสริมกลูโคแมนแนนพร้อมอาหาร 2.5-7.5 กรัม

เด็ก

รับประทาน:

  • สำหรับอาการท้องผูก: กลูโคแมนแนน 100 mg/kg หนึ่งหรือสองครั้งต่อวัน (สูงสุด 5 กรัมต่อวัน) นาน 12 สัปดาห์
  • สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูง: ปริมาณกลูโคแมนแนน 1 กรัมสองครั้งต่อวันนาน 8 สัปดาห์สำหรับเด็กอายุ 6 ปีลงไป และสำหรับอายุมากกว่า 6 ปีที่ 1.5 กรัมสองครั้งต่อวันนาน 8 สัปดาห์

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Onakpoya I. et al., The efficacy of glucomannan supplementation in overweight and obesity: a systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...)
Loening-Baucke, V., Miele, E., & Staiano, A. (2004). Fiber (Glucomannan) Is Beneficial in the Treatment of Childhood Constipation. PEDIATRICS, 113(3), e259–e264.doi:10.1542/peds.113.3.e259
Joyce K. K. et al., Safety and Efficacy of Glucomannan for Weight Loss in Overweight and Moderately Obese Adults (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)