กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Choline (โคลีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โคลีน (Choline) มีความคล้ายกับวิตามิน B โดยตับสามารถผลิตโคลีนออกมาได้ อีกทั้งยังเป็นสารที่อยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น ตับ เนื้อส่วนกล้าม ปลา ถั่วต่างๆ ผักโขม ไข่ และจมูกข้าวสาลี
  • โคลีนมีความสำคัญต่อการทำงานของตับ การพัฒนาสมอง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบการเผาผลาญของร่างกาย
    ด้วยความสำคัญที่มากมายเหล่านี้ จึงมีการนำโคลีนมาใช้รักษาโรคหลายอย่าง เช่น โรคตับ โรคทางสมอง โรคหอบหืด
  • การรับประทานโคลีนไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพการเล่นกีฬา หรือลดความเหนื่อยล้าระหว่างออกกำลังกาย
  • การรับประทานโคลีนปริมาณสูงกว่าระดับการบริโภคในแต่และวัน มักจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เหงื่ออกมาก เกิดกลิ่นในร่างกาย รบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ท้องร่วง อาเจียน 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

โคลีน (Choline) มีความคล้ายกับวิตามิน B โดยตับสามารถผลิตโคลีนออกมาได้ อีกทั้งยังเป็นสารที่อยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น ตับ เนื้อส่วนกล้าม ปลา ถั่วต่างๆ  ผักโขม ไข่ และจมูกข้าวสาลี 

โคลีนมีประยชน์และความสำคัญอย่างไรนั้น บทความนี้มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บทบาทความสำคัญของโคลีน

โคลีนมีความสำคัญต่อการทำงานของตับ การพัฒนาสมอง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบการเผาผลาญของร่างกาย

ด้วยความสำคัญที่มากมายเหล่านี้ จึงมีการนำโคลีนมาใช้รักษาโรคหลายอย่าง ได้แก่ กลุ่มโรคตับ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis) ตับแข็ง (cirrhosis

ภาวะสูญเสียความทรงจำ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) สมองเสื่อม (dementia) โรคฮันติงตัน ( Huntington's chorea) โรคทูเร็ตต์ (Tourette's disease) ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการจากสมองน้อย (cerebellar ataxia) โรคชัก (seizures) บางประเภท

อีกทั้งยังสามารถใช้รักษาภาวะซึมเศร้า (depression) และภาวะทางจิตที่เรียกว่า โรคจิตเภท (schizophrenia)

โคลีนออกฤทธิ์อย่างไร?

โคลีนมีหน้าที่คล้ายกับวิตามิน B และถูกใช้ในปฏิกิริยาเคมีของร่างกายหลายอย่าง คาดว่า โคลีนเป็นส่วนสำคัญในระบบประสาท สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด โคลีนอาจสามารถช่วยลดการบวมและการอักเสบได้

วิธีใช้และประสิทธิภาพของโคลีน

ภาวะที่โคลีนมักจะมีประสิทธิภาพในการรักษา

  • โรคตับที่เกิดจากการให้อาหารทางหลอดเลือดดำมากเกินไป (parenteral nutrition) การให้โคลีนทางเส้นเลือด (intravenously (by IV)) สามารถรักษาโรคตับของผู้ที่ต้องเข้ารับการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำที่มีภาวะพร่องโคลีนได้

ภาวะที่อาจใช้โคลีนได้

  • โรคหอบหืด (Asthma) การรับประทานโคลีนจะบรรเทาอาการหอบหืด อีกทั้งยังอาจจะช่วยลดความจำเป็นที่ต้องใช้ยาขยายหลอดลม (bronchodilators) ได้ 
  • ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defects) งานวิจัยบางชิ้นบ่งชี้ว่า ผู้หญิงที่รับประทานโคลีนปริมาณมากในช่วงตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดมาพร้อมภาวะหลอดประสาทไม่ปิดน้อยลงเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานโคลีนน้อย

ภาวะที่โคลีนอาจไม่สามารถรักษาได้

ภาวะที่โคลีนอาจไม่มีประสิทธิภาพ

  • การสูญเสียความทรงจำเนื่องจากอายุ การรับประทานโคลีนไม่ได้ช่วยในเรื่องความทรงจำของผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำเสื่อม
  • จิตเภท (Schizophrenia) การรับประทานโคลีนไม่ได้ลดอาการจากภาวะจิตเภทลง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่า โคลีนรักษาได้หรือไม่

  • ภูมิแพ้ (ไข้ละอองฟาง (hayfever)) งานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานโคลีนบางชนิดทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนกับการใช้สเปรย์พ่นโพรงจมูกที่ลดอาการแพ้แต่อย่างใด
  • ภาวะอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar disorder) งานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานโคลีนอาจลดอาการทางอารมณ์ของผู้ที่มีปัญหาอารมณ์สองขั้วที่ต้องใช้ลิเทียม (lithium)ได้
  • หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) งานวิจัยกล่าวว่า การสูดโคลีนเข้าปอดอาจช่วยให้อาการของโรคหลอดลมอักเสบจากฝุ่นดีขึ้นได้
  • การทำงานทางจิต งานวิจัยกล่าวว่า การใช้โคลีน 1 โดส ไม่อาจแก้ไขปฏิกิริยาตอบสนอง การใช้เหตุผล ความทรงจำ หรือการทำงานของจิตใจอื่น ๆ ได้ แต่ก็มีข้อมูลที่กล่าวว่า โคลีนอาจช่วยในเรื่องความทรงจำด้านภาพแต่ไม่ได้ช่วยในเรื่องทางจิตอื่นๆ เมื่อใช้โคลีนพร้อมกับการให้อาหารเข้าเส้นเลือดดำ (parenteral nutrition)
  • ชัก (Seizures) มีรายงานว่า การใช้โคลีนปริมาณสูงอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาภาวะชักชนิดที่เรียกว่า "ภาวะชักเฉพาะที่แบบขาดสติ (complex partial seizures)"
  • ตับอักเสบและภาวะผิดปกติอื่น ๆ ที่ตับ
  • ภาวะซึมเศร้า
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • โรคฮันติงตัน (Huntington's chorea)
  • โรคทัวเร็ตต์ (Tourette's syndrome)
  • ภาวะสุขภาพอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของโคลีนเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของโคลีน

สำหรับผู้ใหญ่ โคลีนนับว่า น่าจะปลอดภัยเมื่อรับประทาน หรือให้ทางกระแสเลือดในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนการรับประทานโคลีนปริมาณสูงกว่าระดับการบริโภคในแต่และวัน (Daily Upper Intake Levels) มักจะทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ 

  • เหงื่อออกมาก
  • เกิดกลิ่นร่างกาย
  • รบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal distress)
  • ท้องร่วง
  • อาเจียน

อีกทั้งยังมีข้อกังวลว่า การเพิ่มปริมาณการบริโภคโคลีนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักขึ้นได้ด้วย และมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้หญิงที่รับประทานอาหารที่มีโคลีนปริมาณสูงจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องมีการศึกษาผลกระทบจากอาหารกับเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มเติม

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

เด็ก 

โคลีนจัดว่า น่าจะปลอดภัยสำหรับเด็กส่วนมากเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสม แต่การรับประทานโคลีนปริมาณสูงจะทำให้มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร

การรับประทานโคลีนสำหรับผู้หญิงมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้น้ำนมบุตรที่มีอายุ 18 ปี สามารถรับประทานโคลีนปริมาณประมาณ 3 กรัมต่อวัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 19 ปีและมากกว่า สามารถใช้ได้ที่ 3.5 กรัม โดยที่มักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ใดๆ

ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้โคลีนปริมาณสูงในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นคนกลุ่มดังกล่าวจึงควรเลี่ยงใช้โคลีนเพื่อความปลอดภัย หรือใช้ในปริมาณที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำไว้แทน

การใช้โคลีนร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของโคลีน

ปริมาณยาที่ใช้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด: รับประทาน 500-1000 mg 3 ครั้งต่อวัน

ปริมาณโคลีนที่ควรได้รับในแต่ละวัน

โคลีนที่อยู่ในอาหารจะอยู่ที่ 200-600 mg ต่อวัน ส่วนค่าปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ (Adequate Intake (AI)) มีดังนี้

  • ผู้ชายและสตรีที่ต้องให้นมบุตรคือ 550 mg ต่อวัน
  • ผู้หญิงคือ 425 mg ต่อวัน
  • สตรีมีครรภ์คือ 450 mg ต่อวัน 
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ค่า AI คือ 200 mg ต่อวัน อายุ 4-8 ปีคือ 250 mg ต่อวัน 9-13 ปีคือ 375 mg ต่อวัน
  • เด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนคือ 125 mg ต่อวัน อายุ 7-12 เดือนคือ 150 mg ต่อวัน
  • ปริมาณสารอาหารสูงสุดในแต่ละวัน (Daily Upper Intake Levels (UL)) ของโคลีนสำหรับเด็กอายุ 1-8 ปีคือ 1 กรัม, สำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี คือ 2 กรัม, สำหรับเด็ก 14-18 ปี คือ 3 กรัม, และสำหรับผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 18 ปี คือ 3.5 กรัม

อย่างไรก็ตาม แม้โคลีนจะเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แต่ก็ไม่ควรบริโภคแต่โคลีนเพียงอย่างเดียว ควรบริโภคให้หลากหลายและครอบคลุมเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนสามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม 

ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง พักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลโรค

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wallace, Taylor C. PhD, CFS, FACN; Blusztajn, Jan Krzysztof PhD; Caudill, Marie A. PhD, RD; Klatt, Kevin C. MS; Natker, Elana MS, RD; Zeisel, Steven H. MD, PhD; Zelman, Kathleen M. MPH, RD, LD Choline, Nutrition Today: November/December 2018 - Volume 53 - Issue 6 - p 240-253 doi: 10.1097/NT.0000000000000302. LWW Journals. (Available via: https://journals.lww.com/nutritiontodayonline/fulltext/2018/11000/Choline__The_Underconsumed_and_Underappreciated.4.aspx)
Choline: Health Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. RxList. (Available via: https://www.rxlist.com/choline/supplements.htm)
A possible brain food that you've probably never heard of. Harvard Health. (Available via: https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/a-possible-brain-food-that-youve-probably-never-heard-of)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)