กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) คือเม็ดสีเขียวที่พบในพืชต่างๆ พืชจะใช้คลอโรฟิลล์กับแสงในการสร้างอาหารให้กับตนเอง มีการนำคลอโรฟิลล์ไปผลิตยา โดยใช้หญ้าอัลฟาฟ่า (Alfalfa (Medicago sativa)) และมูลของหนอนไหม มีประโยชน์ในการใช้ระงับกลิ่นปากและรักษาอาการท้องผูก ขับสารพิษ และรักษาบาดแผลผ่าตัดได้ด้วย

บุคลากรทางการแพทย์ยังใช้วิธีฉีดคลอโรฟิลล์เข้าเส้นเลือดเพื่อรักษาปัญหาตับอ่อนที่เรียกว่าภาวะ Chronic relapsing pancreatitis

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คลอโรฟิลล์ทำงานอย่างไร?

หลังจากคลอโรฟิลล์ผ่านทางเดินอาหารเข้าสู่สภาวะกรดของกระเพาะอาหาร จะแตกตัวเปลี่ยนไปเป็นพลีโอไฟติน (Pheophytins (PHE)) แล้วจึงถูกดูดซึมที่เซลล์ลำไส้เล็ก เพื่อเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตต่อไป

ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์

คลอโรฟิลล์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

  • บรรรเทาภาวะตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการอื่นๆ ของผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเรื้อรังกลับช้ำ (Chronic relapsing pancreatitis)
  • ชะลอวัย (Anti-aging remedy) ผลการศึกษาพบว่า การใช้เจลทาผิวที่ประกอบด้วยสารคลอโรฟิลลิน (Chlorophyllin) จะลดการทำลายผิวหนังที่เกิดจากการได้รับแสงแดดที่นานเกินไป แม้การศึกษานี้จะทำในคนกลุ่มน้อย แต่ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant effect)
  • สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง (Blood-building properties) โครงสร้างของสารนี้มีความคล้ายคลึงกับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้หัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนในร่างกาย ช่วยรักษาภาวะโลหิตจาง (Anemia) และธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
  • สมานแผล (Wound-healing properties) ทั้งช่วยสมานแผลผ่าตัดและป้องกันการติดเชื้อ 

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้คลอโรฟิลล์รักษาได้หรือไม่

  • แผลที่เกิดจากเชื้อไวรัสเริม (Herpes simplex virus (HSV)) งานวิจัยพบว่าการทาคลอโรฟิลล์ในรูปของเจลหรือสารละลายบนผิวหนังจะช่วยฟื้นฟูและลดจำนวนของแผลที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมได้
  • โรคงูสวัด (Shingles or Herpes zoster) งานวิจัยพบว่าการทาคลอโรฟิลล์ในรูปของเจลหรือสารละลายบนผิวหนังช่วยฟื้นฟูและลดความถี่ของอาการปวดจากโรคงูสวัดได้
  • มะเร็งปอด งานวิจัยพบว่าหากฉีดเข้าเส้นเลือดพร้อมกับยาทาลาพอร์ฟิน (Talaporfin) ตามด้วยการรักษาด้วยเลเซอร์อาจช่วยลดรอยโรคของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะต้นได้ แต่ผลที่ได้ของวิธีการนี้คงอยู่เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
  • มะเร็งผิวหนัง งานวิจัยพบว่าการฉีดคลอโรฟิลล์เข้าเส้นเลือดหรือการทาบนผิวหนังร่วมกับการบำบัดด้วยแสงหรือเลเซอร์จะลดการกลับมาของมะเร็งผิวหนังทั่วไปที่เรียกว่า Basal cell carcinoma ได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คลอโรฟิลล์

คลอโรฟิลล์จัดว่าน่าจะปลอดภัยสำหรับผู้รับประทานส่วนใหญ่ ส่วนการฉีดเข้าเส้นเลือดหรือทาบนผิวหนังยังนับว่าอาจจะปลอดภัยหากกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่ทำให้ผิวหนังอ่อนไหวต่อแสงมากขึ้น หากคุณเป็นคนผิวสีอ่อนแล้วใช้คลอโรฟิลล์ ควรทาครีมกันแดดก่อนออกนอกอาคาร

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้คลอโรฟิลล์ในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้สารชนิดนี้เพื่อความปลอดภัย

การใช้คลอโรฟิลล์ร่วมกับยาชนิดอื่น

ควรระมัดระวังการใช้คลอโรฟิลล์ร่วมกับยาที่กระตุ้นความไวต่อแสง (Photosensitizing drugs)

ยาบางตัวทำให้ร่างกายมีความไวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้น และคลอโรฟิลล์เองก็เพิ่มความไวต่อแสงได้เช่นกัน ดังนั้นการรับประทานคลอโรฟิลล์ร่วมกับยาเหล่านั้นอาจเพิ่มโอกาสที่จะโดนแดดเผาได้ง่าย เกิดตุ่มหนอง หรือผื่นขึ้นบริเวณผิวที่โดนแดด แนะนำว่าควรสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายและทาครีมกันแดดเมื่อต้องออกกลางแจ้ง โดยยาที่เพิ่มความไวต่อแสงอาทิตย์มีดังนี้ Amitriptyline (Elavil), Ciprofloxacin (Cipro), Norfloxacin (Noroxin), Lomefloxacin (Maxaquin), Ofloxacin (Floxin), Levofloxacin (Levaquin), Sparfloxacin (Zagam), Gatifloxacin (Tequin), Moxifloxacin (Avelox), Trimethoprim/Sulfamethoxazole (Septra), Tetracycline, Methoxsalen (8-methoxypsoralen, 8-MOP, Oxsoralen), และ Trioxsalen (Trisoralen)

ปริมาณยาคลอโรฟิลล์ที่ควรใช้

อาจเริ่มต้นใช้คลอโรฟิลล์ขนาด 100-300 มิลลิกรัม/วัน

ปริมาณที่เหมาะสมในการใช้ในแต่ละคนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพของผู้ใช้ ผู้ใช้ควรอ่านคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์และปรึกษาเภสัชกร แพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ก่อนใช้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jennifer Berry, What are the benefits of chlorophyll? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322361.php), 4 July 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)