การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองจะขึ้นกับชนิดของโรคที่เป็น โดยจะมีการรักษาประคับประคองตามอาการ การรักษาด้วยการใช้ยา และอาจมีการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วยมักได้รับยาเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองอีกในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (ischaemic strokes)

หากคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด คุณจะได้รับการรักษาด้วยยาเพื่อรักษาอาการและยาเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

ยาบางรายการจำเป็นต้องใช้ทันทีที่มีอาการและใช้เป็นเวลาสั้นๆ และยาบางรายการอาจจำเป็นต้องเริ่มใช้เมื่อรักษาโรคหลอดเลือดสมองได้แล้ว และอาจจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

การละลายลิ่มเลือด/การสลายลิ่มเลือด (Thrombolysis)

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดมักรักษาด้วยการใช้ยาฉีดอัลทีเพลส (alteplase) เพื่อไปละลายลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ออก ทำให้เลือดกลับมาไหลเวียนไปสู่สมองได้ การใช้ยานี้เราเรียกว่า การละลายลิ่มเลือด/การสลายลิ่มเลือด

ยา alteplase เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงหากเริ่มใช้ยาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองขึ้น และยานี้มักไม่แนะนำให้ใช้หากเวลาล่วงเลยมากกว่า 4 ชั่วโมงครึ่งแล้ว เพราะว่ายังไม่มีข้อมูลชัดเจนถึงประโยชน์ของยาหากใช้หลังเวลาดังกล่าว

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะใช้ยา alteplase   สิ่งสำคัญมากๆ คือ จะต้องตรวจสแกนสมองก่อนถูกครั้งเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดจริง เพราะการใช้ยา alteplase จะทำให้อาการเลือดออกในโรคหลอดเลือดสมองชนิดมีเลือดออกในสมองมีอาการแย่ลง

ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelets)

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับยาแอสไพริน (aspirin) ให้รับประทานทุกวัน นอกจากยานี้จะเป็นยาแก้ปวดแล้ว แต่ยานี้ยังลดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด เพื่อลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดในอนาคตอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากยาแอสไพริน (aspirin) แล้ว ยังมียาต้านเกร็ดเลือดตัวอื่นด้วย เช่น clopidogrel และ dipyridamole

warfarin-anticoagulant' target='_blank'>ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants)

ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาเพิ่มเติมคือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอีกในอนาคต

ยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดโดยจะไปเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบทางเคมีภายในเลือดทำให้ป้องกันไมให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อนได้ ยาในกลุ่มนี้สำหรับใช้ในระยะยาว เช่น ยาวาร์ฟารีน (warfarin), rivaroxaban, dabigatran และ apixaban เป็นต้น ส่วนยาการแข็งตัวอีกชนิดคือ heparins เป็นยาชนิดฉีดสำหรับใช้ในระยะเวลาสั้นๆ

แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ถ้าคุณ:

  • มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ
  • เคยมีประวัติเป็นลิ่มเลือดในร่างกาย
  • คุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา หรือที่เรียกว่า ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึก (deep vein thrombosis (DVT)) เพราะการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะทำให้คุณไม่สามารถขยับขาได้

ยาลดความดันโลหิต (Antihypertensives)

ถ้าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง คุณอาจได้รับยาเพื่อลดความดันโลหิตด้วย ยาลดความดันโลหิตที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่:

  • ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide
  • ยาในกลุ่ม angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors
  • ยาในกลุ่ม calcium channel blockers
  • ยาในกลุ่ม beta-blockers
  • ยาในกลุ่ม alpha-blockers

ยาลดไขมันกลุ่มสะแตติน (statins)

ถ้าคุณมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง คุณจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานยาในกลุ่ม statin ด้วย โดยยาในกลุ่ม statin จะไปลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วยการยับยั้งเอนไซม์ที่ตับที่มีหน้าที่สร้างคอเลสเตอรอล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาในกลุ่ม statin แม้ว่าระดับคอเลสเตอรอลจะไม่สูงมากนัก เพราะยาในกลุ่ม statin อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าระดับคอเลสเตอรอลจะอยู่ที่ระดับใดก็ตาม

การผ่าตัดเอาคราบไขมันที่อุดตันในหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองออก (Carotid endarterectomy)

บางครั้งโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดมีสาเหตุมาจากการตีบแคบในหลอดเลือดแดงที่คอที่ชื่อ carotid artery ซึ่งทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง การตีบแคบของเส้นเลือดนี้เรียกว่า carotid stenosis ซึ่งเกิดขึ้นจากการก่อตัวของคราบไขมัน (plaques) ในเส้นเลือดนั้น  

ถ้าการตีบแคบของเส้นเลือดที่คอมีอาการรุนแรง อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขการอุดตันดังกล่าว การผ่าตัดนี้เรียกว่า Carotid endarterectomy หรือ การผ่าตัดเอาคราบไขมันที่อุดตันในหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองออก ซึ่งศัลยแพทย์จะผ่าตัดที่ลำคอเพื่อนำไขมันที่อุดตันในหลอดเลือดออก

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (haemorrhagic strokes)

เช่นเดียวกับโรคหัวใจขาดเลือดชนิดสมองขาดเลือด ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดชนิดเลือดออกในสมองจะได้รับคำแนะนำให้ใช้ยา เช่น ยาในกลุ่ม ACE inhibitors เพื่อลดความดันโลหิตและเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองซ้ำอีกในอนาคต

หากคุณกำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ก่อนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อหยุดยั้งฤทธิ์ของยาต้านการแข็งตัวของเลือดดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกเพิ่มเติมในอนาคต

การผ่าตัด

ในบางครั้ง อาจต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อระบายเลือดที่ไหลอยู่ในสมองออกและเพื่อซ่อมแซมเส้นเลือดที่มีความเสียหาย การผ่าตัดนี้จะต้องมีการผ่าเปิดกะโหลกศีรษะด้วย (craniotomy)

ในระหว่างการผ่าเปิดกะโหลกศีรษะ ส่วนหนึ่งของกะโหลกศีรษะจะถูกเปิดออกเพื่อให้ศัลยแพทย์เข้าถึงสาเหตุของการเกิดเลือดออก เพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหายและตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีลิ่มเลือดอุดตันอยู่ในปัจจุบันซึ่งอาจจำกัดการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง หลังจากหยุดการเลือดออกได้แล้ว กะโหลกศีรษะส่วนที่ถูกเปิดออกจะถูกปิดกลับด้วยวัสดุทนแทน มักเป็นแผ่นโลหะเทียม

การผ่าตัดสำหรับภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus)

การผ่าตัดยังสามารถทำเพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมองที่เรียกว่า ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus)

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำเกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุให้น้ำหล่อเสียงสมองและไขสันหลังคั่งสะสมอยู่ในช่องว่าง (โพรง) สมอง ทำให้มีอาการ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และสูญเสียการทรงตัว

การรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำทำได้โดยการผ่าตัดวางท่อระบายเพื่อระบายน้ำเหล่านี้ออกจากสมองอย่างเหมาะสม

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองแบบประคับประคอง (supportive treatments)

นอกเหนือจากวิธีการรักษาที่กล่าวมาแล้ว คุณอาจต้องได้รับการรักษาระยะสั้นเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ตัวอย่างเช่น คุณอาจจำเป็นต้องทำ:

  • ใส่สายยางให้อาหารผ่านทางจมูกลงสู่กระเพาะอาหาร (nasogastric tube) เพื่อให้อาหารในกรณีที่คุณมีสภาวะกลืนลำบาก (dysphagia)
  • ให้อาหารเสริม หากคุณมีภาวะขาดสารอาหาร
  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ (dehydration)
  • ให้ออกซิเจนผ่านทางรูจมูก หรือทางหน้ากาก หากคุณมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ

การดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีคืออะไร?

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองได้กำหนดมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไว้ดังนี้:

  • โทรเรียกรถพยาบาลที่ 1669 ทันทีที่สงสัยว่าใครเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • มีความพร้อมที่จะส่งต่อผู้ป่วยไปรักษากับโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทาง
  • ตรวจสแกนสมองผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน เช่น การทำซีที สแกน/การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) โดยทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • นำผู้ป่วยเข้ารักษาในหน่วยที่มีความพร้อมด้านการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
  • รีบประเมินผู้ป่วยด้วยทีมสหวิชาชีพ รวมถึงการประเมินการกลืนของผู้ป่วย
  • ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย
  • มีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยหลังผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลและการดูแลในระยะยาว

ในประเทศไทยมีการออกแนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับมาตรฐานในการรักษาที่คุณได้รับ ขอให้พูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมอง หรือทีมบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/stroke#treatment


33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stroke: Causes, symptoms, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/7624)
Stroke treatment. (2017, May 18) (https://www.cdc.gov/stroke/treatments.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)