ความเครียด อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการมีลูก

ความเครียดในผู้หญิงและผู้ชาย ส่งผลต่อการมีลูกอย่างไร มีวิธีใดบ้างที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดระหว่างการมีลูกได้
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเครียด อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการมีลูก

ความเครียด และความวิตกกังวล รวมถึงความกดดันจากการพยายามมีลูกที่ยังไม่สัมฤทธิ์ผล เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้มีลูกยากขึ้น เนื่องจากความเครียดจะกระทบต่อการทำงานของต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นต่อมใต้สมองที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความอยากอาหาร รวมถึงฮอร์โมนเพศ จึงส่งผลในแง่ลบต่อระบบสืบพันธุ์ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ความเครียดในผู้หญิง จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร?

หน้าที่หนึ่งของต่อมไฮโปธาลามัส คือการควบคุมฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ในเพศหญิง หากคุณผู้หญิงเกิดความเครียดขึ้นแบบกะทันหัน เช่น เรื่องงาน หรือเรื่องสุขภาพ การตกไข่ก็อาจเลื่อนออกไปหรือไม่มีการตกไข่เลยในรอบเดือนนั้น แต่ถ้าหากคุณผู้หญิงมีภาวะเครียดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ร่างกายจะเริ่มปรับตัวให้ชินกับสภาพนั้นจนสามารถตกไข่ได้ตามปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สัญญาณที่สามารถระบุได้ว่า ร่างกายไม่สามารถตกไข่ได้ตามปกติ ก็คือการสังเกตเมือกบริเวณปากมดลูก โดยทั่วไปเมื่อมีการตกไข่ จะพบเมือกเหลวและใสบริเวณปากมดลูกที่มากจนทำให้ช่องคลอดและปากมดลูกชุ่มชื้นกว่าปกติ แต่หากคุณตกอยู่ในภาวะเครียด มักพบว่าเมือกใสที่ควรจะชุ่มชื้น มีปริมาณน้อยลง หรือบางครั้งแห้งกว่าที่ควรจะเป็น

แม้การตกไข่จะเลื่อนออกไปบ้าง แต่คุณผู้หญิงก็ยังสามารถตรวจสอบวันตกไข่ของตัวเองเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสตั้งครรภ์ได้ ด้วยการวัดติดตามอุณหภูมิร่างกาย หรือ BBT Chart โดยให้วัดอุณหภูมิร่างกายหลังตื่นนอนตอนเช้าทุกวัน หากร่างกายปกติดีไม่เจ็บป่วย วันที่มีการตกไข่จะสังเกตได้ว่า อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น 0.3-0.6 C ต่อเนื่องกันประมาณ 3 วัน

ความเครียดในผู้ชาย ส่งผลต่อการมีลูกหรือไม่?

ในปี 2010 มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility ซึ่งทำการศึกษาในผู้ชายกว่า 700 คน พบว่า ความเครียดในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้คุณภาพของน้ำอสุจิลดลงได้ และจากการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยกว่า 50 ชิ้น ก็พบเช่นกันว่า ความเครียดทางจิตใจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของน้ำอสุจิลดลง

นอกจากนี้ ความเครียดยังทำให้อารมณ์และความตื่นตัวทางเพศลดลง และอาจทำลายความสัมพันธ์ของชีวิตคู่ได้ ยิ่งหากคู่ของคุณ มุ่งมั่นพยายามกับการมีลูกมากเกินไป การมีเพศสัมพันธ์ก็อาจกลายเป็นเพียงหน้าที่ที่ต้องทำให้จบ โดยปราศจากความพึงพอใจและความสุขโดยสิ้นเชิง  

วิธีผ่อนคลายความเครียด สำหรับคู่รักที่วางแผนจะมีลูก

มีวิธีง่ายๆ หลายวิธี ที่ช่วยลดความเครียดและความกดดันของว่าที่คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการมีลูกได้ เช่น

  • เปลี่ยนบรรยากาศ ลองชวนกันขับรถเล่นไปต่างจังหวัดแล้วค้างสัก 1-2 คืน บรรยากาศใหม่ๆ อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสบายใจขึ้น
  • พบปะเพื่อนฝูง การได้พูดคุยกับกลุ่มเพื่อนเป็นวิธีคลายความเครียดที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะได้ระบายความรู้สึกแล้ว ยังอาจได้รับคำแนะนำดีๆ อีกด้วย
  • ออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า การลอยตัวในน้ำ ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่เป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดได้
  • มีเพศสัมพันธ์ด้วยความสนุก การมีเพศสัมพันธ์ที่ไร้ความสุข อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและกลายเป็นการทำเพื่อให้จบๆ ไป ลองเปลี่ยนความคิดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการมีลูก เป็นการมีเพศสัมพันธ์ด้วยความสนุก เช่น หาสถานที่ใหม่ๆ หรือลองหาสิ่งที่ช่วยเพิ่มความตื่นเต้น เช่น เซ็กส์ทอย เพื่อให้มีเพศสัมพันธ์ได้บ่อยครั้ง ซึ่งมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์มากขึ้น

ที่มาของข้อมูล

Toni Weschler, Can stress get in the way of getting pregnant? (https://www.babycenter.com/404_can-stress-get-in-the-way-of-getting-pregnant_1336350.bc), May 2017.

Alice Domar, Does his stress level affect your chances of getting pregnant? (https://www.babycenter.com/404_does-his-stress-level-affect-your-chances-of-getting-pregnan_1411900.bc), May 2017.

Elena Donovan Mauer, 11 Ways to De-Stress While You’re Trying to Conceive (https://www.thebump.com/a/11-ways-to-de-stress-while-you-re-trying-to-conceive)


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Autism: Parents face challenges, too. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/313789)
Obstacles to preventing obesity in children aged 2 to 5 years: Latino mothers’ and fathers’ experiences and perceptions of their urban environments. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5667480/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จที่โรงเรียน
การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จที่โรงเรียน

8 ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นกุญแจที่จะช่วยให้ผู้สอนสามารถช่วยเหลือนักเรียนให้ประสบความสำเร็จ

อ่านเพิ่ม