กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา กินหมดแผงแล้วก็ไม่มา ทำไงดี?

กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา ควรทำอย่างไรดี อ่านเลย
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา กินหมดแผงแล้วก็ไม่มา ทำไงดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การรับประทานยาคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง จะนำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมได้ โดยวิธีรับประทานยาคุมที่มีความเสี่ยงมากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์ในรอบเดือนนี้ ประกอบกับรับประทานยาคุมอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงเวลา
  • นอกจากนี้ การรับประทานยาอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดยังอาจทำให้คุณเกิดการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย เช่น ยากันชัก ยาสมุนไพร
  • การรับประทานยาเม็ดหลอกแทนเม็ดยาฮอร์โมน เป็นวิธีการรับประทานยาคุมกำเนิดที่ผิด และมักเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ คุณจึงต้องรับประทานยาให้ถูกเม็ดอยู่เสมอ เพราะหากรับประทานยาผิดมากกว่า 2 วัน คุณจะเสี่ยงเกิดการตั้งครรภ์ได้
  • หากคุณรับประทานยาคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง แต่ทดสอบการตั้งครรภ์ออกมาแล้วพบว่า ไม่ตั้งครรภ์ ให้คุณรอจนกว่าประจำเดือนจะมา แล้วค่อยเริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่ และให้หลีกเลี่ยงไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วย
  • วิธีคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง สามารถส่งผลต่อสุขภาพของระบบสืบพันธุ์ได้ และอาจทำให้การวางแผนมีครอบครัวของคุณไม่เป็นอย่างที่คาดคิด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานทั้งผู้หญิง และผู้ชายได้ที่นี่)

 กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา เป็นปัญหาที่สาวๆ หลายคนกำลังประสบพบเจอกันอยู่ ซึ่งบทความนี้รวบรวมข้อมูลมาบอกกันให้สาวๆ หายข้อข้องใจ คลายความกังวลว่าจะท้องไหม และได้ความรู้กันไปในตัวด้วย

ยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

สำหรับยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว ได้แก่ เอ็กซ์ลูตอน (Exluton) เดลิตอน (Dailyton) และซีราเซท (Cerazette) ซึ่งมีเม็ดยาฮอร์โมน 28 เม็ด หรือแผง ไม่มีเม็ดยาหลอก เมื่อรับประทานหมดแผงแล้ว ไม่ต้องเว้นว่าง แต่ให้ต่อแผงใหม่ในวันถัดมาได้เลย ซึ่งภาวะขาดประจำเดือน จัดเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยในผู้ที่ใช้ยาคุมชนิดนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้น สำหรับผู้ที่ใช้ยาคุมยี่ห้อ เอ็กซ์ลูตอน เดลิตอน หรือซีราเซท จนหมดแผงแล้วก็ยังไม่มีประจำเดือนมา ไม่ต้องตกใจ เพราะนั่นเป็นผลข้างเคียงจากยาคุมที่ใช้นั่นเอง ไม่มีอันตราย 

หากมั่นใจว่ารับประทานยาคุมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และตรงเวลา (ไม่ช้าเกิน 3 ชั่วโมงจากเวลาปกติสำหรับเอ็กซ์ลูตอนและเดลิตอน หรือไม่ช้าเกิน 12 ชั่วโมงจากเวลาปกติสำหรับซีราเซท) สามารถต่อแผงใหม่ได้เลย

ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม

กรณีที่ใช้ยาคุมแบบ 21 – 22 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วต้องเว้น 7 วัน (หรือ 6 วันหากใช้แบบ 22 เม็ด) ก่อนเริ่มแผงใหม่  ตามปกติแล้ว ประจำเดือนจะมาหลังหยุดยา 2 - 3 วัน

แต่หากใช้ยาคุมแบบ 28 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วให้ต่อแผงใหม่ในวันต่อไปได้เลย ซึ่งประจำเดือนจะมาในช่วงที่รับประทานเม็ดยาหลอก (ซึ่งเป็นเม็ดแป้ง หรือเป็นยาบำรุงเลือดในบางยี่ห้อ)

ในช่วงที่เว้นว่างก่อนเริ่มแผงใหม่ (กรณีที่ใช้แบบ 21 หรือ 22 เม็ด) หรือช่วงที่รับประทานยาเม็ดหลอก (กรณีที่ใช้แบบ 28 เม็ด) ถือเป็นช่วง “ปลอดฮอร์โมน” นั่นเอง แล้วหากประจำเดือนไม่มาในช่วงที่เป็นวันปลอดฮอร์โมน จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงการตั้งครรภ์ ตามกรณีต่อไปนี้

กรณีที่ 1: ในรอบเดือนนี้ ไม่มีเพศสัมพันธ์เลย

ตัดโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ไปได้เลย สำหรับกรณีนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าไม่มีอะไรกัน จะใช้ยาคุมไปทำไม?

ประการแรก ยาคุมมีประโยชน์มากกว่าแค่การคุมกำเนิดเท่านั้น บางคนก็จำเป็นต้องใช้เพื่อเหตุผลอื่นๆ เช่น ลดการเกิดสิว, ควบคุมรอบประจำเดือนให้ปกติ, ลดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน เป็นต้น เพราะฉะนั้น เห็นใครพกยาคุมแบบแผงรายเดือน อย่าเพิ่งคิดเหมารวมว่าใช้เพื่อคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว

ประการที่สอง ในกรณีที่ใช้เพื่อการคุมกำเนิด แต่ไม่ได้มีการสอดใส่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม 

ดังนั้น ในกรณีที่ไม่มีความเสี่ยงเลยที่จะตั้งครรภ์ เมื่อหมดระยะปลอดฮอร์โมน แม้จะยังไม่มีประจำเดือนมา ก็สามารถต่อแผงใหม่ได้ตามปกติ

กรณีที่ 2: มีเพศสัมพันธ์ในรอบเดือนนี้ แต่รับประทานยาคุมได้ถูกต้อง เหมาะสม และตรงเวลา

แม้ยาคุมกำเนิดจะไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% แต่หากใช้อย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตรงเวลา อีกทั้งไม่มีการใช้ยาอื่นๆ ที่อาจส่งผลในการลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดร่วมด้วย โอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ถือว่าน้อยมาก คือมีความเสี่ยงเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น

ดังนั้น เมื่อเว้นระยะปลอดฮอร์โมนครบ 7 วัน หากประจำเดือนยังไม่มา แนะนำให้ตรวจตั้งครรภ์ ซึ่งหากผลตรวจเป็นลบ ก็ให้ต่อแผงใหม่ได้ตามปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กรณีที่ 3: มีเพศสัมพันธ์ในรอบเดือนนี้ อีกทั้งรับประทานยาคุมไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงเวลาอยู่บ่อยครั้ง หรือมีการใช้ยาอื่นๆ ที่อาจส่งผลลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดร่วมด้วย

  • กรณีที่ใช้เป็นแผงแรก เริ่มรับประทานยาคุมเหมาะสมหรือไม่
    หากเริ่มใช้ภายในวันที่ 1 - 5 ของรอบเดือน สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลยโดยไม่ต้องใช้วิธีป้องกันอื่นๆ ร่วมด้วย แต่หากเริ่มใช้หลังจากนั้น ต้องงดร่วมเพศ หรือใช้วิธีป้องกันอื่นๆ ร่วมด้วยภายใน 7 วันแรกที่เริ่มรับประทาน
  • กรณีที่ใช้ต่อเนื่อง การต่อแผงใหม่เหมาะสมหรือไม่
    กรณีที่ใช้ยาคุมแบบ 21 เม็ด เมื่อหมดแผง จะต้องเว้น 7 วันก่อนเริ่มแผงใหม่ หากเว้นระยะนานกว่านั้น ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะไม่ต่อเนื่อง (สำหรับยาคุมที่มี 22 เม็ด ก็ให้เว้น 6 วันก่อนต่อแผงใหม่) ส่วนยาคุมแบบ 28 เม็ด เมื่อหมดแผงแล้ว วันต่อไปให้ต่อแผงใหม่ได้เลย
  •  รับประทานยาคุมถูกต้องหรือไม่
    คือ รับประทานตามลำดับการใช้ที่ควรจะเป็น เช่น รับประทานจากเม็ดยาฮอร์โมนไปหาเม็ดยาหลอก ซึ่งหากยาคุมที่ใช้นั้น ในเม็ดยาฮอร์โมนมีปริมาณยาเท่ากันทุกเม็ด การรับประทานผิดเม็ดโดยที่เป็นเม็ดยาฮอร์โมนเหมือนกันก็ไม่มีปัญหา
    แต่หากคุณรับประทานผิด โดยใช้ยาเม็ดหลอกแทนเม็ดยาฮอร์โมน ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะถ้าใช้ผิดต่อเนื่องกันหลายวัน
  • รับประทานยาคุมต่อเนื่อง ตรงเวลาสม่ำเสมอหรือไม่ แบ่งเป็น 4 กรณี ดังนี้
    • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง รับประทานผิดโดยใช้เม็ดยาหลอกแทนเม็ดยาฮอร์โมน ติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
    • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ รับประทานผิดโดยใช้เม็ดยาหลอกแทนเม็ดยาฮอร์โมน ติดต่อกันตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป
    • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวรุ่นเก่า เกิน 3 ชั่วโมงขึ้นไป
    • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวรุ่นใหม่ เกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป

ทั้ง 4 กรณีที่กล่าวมา จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ต่อเนื่อง และทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะเมื่อแก้ไขไม่ถูกวิธี

กรณีรับประทานยาบางชนิดร่วมด้วยในระหว่างที่มีการใช้ยาคุม จะส่งผลในการลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดหรือไม่
มีรายงานความล้มเหลวในการป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อใช้ยาต้านจุลชีพ ยากันชัก และสมุนไพรบางชนิดร่วมด้วยในระหว่างที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด จึงควรแจ้งแพทย์ และเภสัชกรให้ทราบ เพื่อพิจารณาการใช้ยาอื่นแทน หรือให้แนะนำเกี่ยวกับแนวทางแก้ไข หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวจริงๆ

จากกรณีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้สูงกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น หากครบ 7 วันของระยะปลอดฮอร์โมนแล้วประจำเดือนยังไม่มา ก็ควรทดสอบการตั้งครรภ์

หากทดสอบการตั้งครรภ์แล้วให้ผลเป็นลบ สามารถต่อแผงใหม่ได้เลยหรือไม่?

หากผลตรวจเป็นลบ คือ ไม่ตั้งครรภ์ ให้คุณดูว่า ตนเองมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่ (ซึ่งอาจทำให้ไม่เห็นผลบวกในการทดสอบ) เช่น ลืมรับประทานยาคุมติดต่อกันหลายวันในแถวที่ 3 ของแผง แล้วมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันสอดคล้องกับช่วงที่ไม่มีผลในการคุมกำเนิด

ถ้าใช่… คุณยังไม่ควรเริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่ แต่ให้รอจนกว่าจะมีประจำเดือนมา แล้วค่อยเริ่มรับประทานใหม่ ระหว่างนั้น ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน

อาจมีการตรวจตั้งครรภ์ซ้ำอีกครั้ง หากนับวันที่ไม่มีเพศสัมพันธ์ได้เกิน 14 วันแล้ว และประจำเดือนยังไม่มา ซึ่งถ้าผลตรวจเป็นลบ ก็ให้เริ่มยาคุมแผงใหม่ได้ แต่งดร่วมเพศ หรือให้ใช้ถุงยางร่วมด้วย ใน 7 วันแรกที่เริ่มใช้ยาคุมแผงนี้

สรุป ทั้ง 3 กรณีที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อต่อยาคุมแผงใหม่ จะไม่มีประจำเดือนมาในช่วงที่ใช้เม็ดยาฮอร์โมน นั่นคือ ประจำเดือนจะมาในช่วง “ปลอดฮอร์โมน” ของแผงใหม่เลย ซึ่งหากครบ 7 วันนั้น ประจำเดือนก็ยังไม่มาอีก ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานทั้งผู้หญิง และผู้ชาย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Period after Birth Control Pills. Everyday Health. (Accessed via: https://www.everydayhealth.com/pms/stopping-the-pill.aspx)
What Happens After Stopping Birth Control Pill? Mood Swings, Bleeding, and Other Symptoms. Flo. (Accessed via: https://flo.health/menstrual-cycle/sex/birth-control/what-happens-after-stopping-birth-control)
6 Things That Can Happen When You Stop Taking The Pill. Cleveland Clinic. (Accessed via: https://health.clevelandclinic.org/6-things-that-can-happen-when-you-stop-taking-the-pill/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน

รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือกับทุกอาการพีเอ็มเอส...หนักแค่ไหนก็เอาอยู่

อ่านเพิ่ม
การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบคืออะไร ?
การมีประจำเดือนมาไม่ตรงรอบคืออะไร ?

มีหลายสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนของคุณไม่ตรงรอบ รู้ก่อนเพื่อแก้ไขให้ถูกทางและปลอดภัย

อ่านเพิ่ม