กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อุจจาระปนเลือด สัญญาณเตือนสุขภาพลำไส้และทวารหนัก

หลังทำธุระเสร็จ ก้มมองดูกันสักนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดีไม่มีโรค
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 8 พ.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อุจจาระปนเลือด สัญญาณเตือนสุขภาพลำไส้และทวารหนัก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อุจจาระสามารถบอกถึงสุขภาพร่างกายได้ เราจึงควรหมั่นสังเกตอุจจาระของตัวเอง
  • อุจจาระปนเลือดเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของลำไส้ ทวารหนัก หรือความผิดปกติของอวัยวะภายใน
  • ลักษณะของเลือดที่ปนออกมากับอุจจาระแบ่งออกเป็น 3 จำพวก ได้แก่ เลือดสีแดงสด เลือดสีแดงคล้ำ และลิ่มเลือด
  • แพทย์จะตรวจหากสาเหตุจากเลือด และอาการอื่นๆ ที่เป็นร่วมด้วย จึงควรเก็บตัวอย่างอุจจาระไปด้วยก่อนพบแพทย์
  • วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น ท้องผูก จะให้ดื่มน้ำเยอะๆ และรับประทานอาหารที่มีกากใย 
  • หากสงสัยว่า ลำไส้ผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมกับอุจจาระปนเลือด อย่าเพิกเฉย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ (ดูแพ็กเกจตรวจรักษาริดสีดวงได้ที่นี่)

อุจจาระไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจแต่เป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสนใจ เนื่องจากลักษณะและสีของอุจจาระสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอุจจาระของคุณมีเลือดปนออกมาด้วย ยิ่งแก้ไขเร็ว ความผิดปกตินั้นยิ่งมีโอกาสคลี่คลายลง หรือหายเป็นปกติได้

การปล่อยทิ้งไว้ นิ่งเฉย หรือคิดว่าเดี๋ยวมันก็หายไป เป็นความคิดที่ผิด เพราะบางครั้งความผิดปกตินั้นอาจรุนแรงมากกว่าที่คุณคิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รู้จักกับอุจจาระปนเลือด

อาการที่มีเลือดออกจากทวารหนักเมื่อมีการขับถ่ายอุจจาระ อาจมีอาการปวดท้อง หรือเจ็บที่บริเวณรูทวารรวมอยู่ด้วย อาการดังกล่าวพบมากพอสมควรในประเทศไทย

สิ่งที่ทุกคนควรจำไว้ก็คือ การถ่ายเป็นเลือดไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้ามเลยแม้แต่น้อยเพราะมันเป็นสัญญาณเตือนว่า ลำไส้และทวารหนักของเรากำลังเผชิญหน้ากับโรคแทรกซ้อน หรือความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย

สาเหตุและการรักษา

การที่มีเลือดออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดย “เลือด” จะเป็นตัวบ่งบอกถึงสาเหตุของความผิดปกติได้เป็นอย่างดี โดยลักษณะของเลือดที่ปนออกมากับอุจจาระนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 จำพวก ดังนี้

1. ถ่ายปนเลือดสีแดงสด

เลือดสีแดงสดที่ถูกขับออกมาพร้อมอุจจาระมักจะมีความเกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีสาเหตุดังนี้

1.1 เลือดออกในลำไส้ใหญ่

ส่วนใหญ่แล้วหากมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ เลือดมักจะมีทั้งสีแดงสดจากเลือดใหม่ และมีสีแดงคล้ำ หรือมีลิ่มเลือดปนอยู่ด้วยจากเลือดที่ตกค้างอยู่ภายใน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากมีเลือดออกเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้องรวมอยู่ด้วย

แนะนำให้เก็บเลือดบางส่วนไปให้แพทย์ตรวจสอบหาสาเหตุของการที่มีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ เพื่อรับการรักษาให้ตรงจุด

1.2 ท้องผูก

เลือดสีแดงสดอาจมาจากอาการท้องผูกได้ โดยก้อนอุจจาระมีขนาดใหญ่ และแข็ง เมื่ออุจาระจึงทำให้รูทวารได้รับการบาดเจ็บได้ หากนี่เป็นสาเหตุบริเวณรูทวารของผู้ป่วยมักมีอาการแสบร่วมด้วย

วิธีการรักษาคือ ดื่มน้ำให้มาก และรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักและผลไม้ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะฟักทอง มะละกอ และมะขาม

1.3 โรคริดสีดวงทวารหนัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคนี้มีสาเหตุโดยตรงมาจากอาการท้องผูก อาการที่เกี่ยวข้องคือ การมีเลือดสีแดงสดไหลออกมาเป็นจำนวนมากเวลาอุจจาระ โดยอาจไหลออกมาเป็นหยดๆ หรือเป็นสายเลือดเลยก็ได้ อีกทั้งยังมีอาการเจ็บและแสบมากที่บริเวณทวาร

วิธีรักษาคือ ให้ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เมื่อเลือดไหลเป็นจำนวนมาก และไม่หยุดทันทีหลังจากการขับถ่าย ผู้ป่วยควรประคบเย็นที่บริเวณทวารจนกว่าเลือดจะหยุด ในกรณีที่รู้สึกปวดบริเวณรูทวารมากๆ ให้ใช้ยาเหน็บในการรักษาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หากไม่หายดีควรไปพบแพทย์ 

2. ถ่ายปนเลือดสีแดงคล้ำ

การถ่ายอุจจาระปนเลือดสีแดงคล้ำ หรือสีดำ บ่งบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับทั้งกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดจากหนึ่งในสาเหตุหลักดังนี้

2.1 เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก

สาเหตุที่เลือดออกด้านในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กนั้นอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด การเป็นฝีในกระเพาะอาหาร รับประทานยาบางชนิด เช่น ยากลุ่ม NSAID หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์

ผู้ป่วยควรงดน้ำและอาหาร จากนั้นให้เก็บอุจจาระบางส่วนใส่ภาชนะปิดมิดชิด และนำไปให้แพทย์ตรวจสอบ หากลักษณะของอุจจาระนั้นค่อนข้างเหลว มีสีคล้ำ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอาเจียนรวมอยู่ด้วยก่อน หรือหลังการขับถ่าย ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด 

2.2 เลือดออกในลำไส้ใหญ่

เลือดมักจะมีทั้งสีแดงคล้ำ หรือลิ่มเลือดปนอยู่ด้วยจากเลือดที่ตกค้างอยู่ภายใน หากมีเลือดออกเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้องรวมอยู่ด้วย

2.3 โรคริดสีดวงทวารหนัก

มีเลือดสีแดงคล้ำไหลออกมาเป็นจำนวนมากเวลาอุจจาระ โดยอาจไหลออกมาเป็นหยดๆ หรือเป็นสายเลือดเลยก็ได้

2.4 สาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตราย

การรับประทานยาบำรุงเลือด การรับประทานเลือดสัตว์ หรือการกลืนเลือดกำเดา หรือเลือดที่ออกในช่องปาก แนะนำให้หยุดพฤติกรรมเหล่านี้สักระยะเวลาหนึ่งแล้วสังเกตดูว่า ยังมีอาการถ่ายปนเลือดอยู่หรือไม่ 

หากยังคงมีเลือดออกแสดงว่า มีสาเหตุมาจากอย่างอื่น ซึ่งควรตรวจสุขภาพกับแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

3. ถ่ายปนลิ่มเลือด

ลิ่มเลือด หรือมูกเลือด ที่ถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระมักเกิดจากการที่มีเลือดออกมาเป็นระยะเวลาพอสมควร และมักมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพดังนี้

3.1 โรคมะเร็งลำไส้

แผลจากการเป็นมะเร็งทำให้มีเลือดออกในลำไส้เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ และมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีเข้ม พบมากในผู้ใหญ่วัยกลางคน และผู้สูงอายุ

คำแนะนำคือ ให้เก็บอุจจาระบางส่วนพร้อมเลือดไปให้แพทย์ตรวจสอบ ในกรณีนี้อาจมีการตรวจภายในรวมอยู่ด้วย

3.2 การติดเชื้อในลำไส้ใหญ่

โรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อนี้คือ “โรคบิด” ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการได้รับเชื้อจากแบคทีเรีย หรือพยาธิ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ถ่ายเหลวปนลิ่มเลือดสีเข้ม มีไข้ และรู้สึกอ่อนเพลีย

หากการติดเชื้อนี้เกิดจากแบคทีเรีย อุจจาระจะไม่มีกลิ่นเหม็นนัก แต่หากเกิดจากพยาธิ กลิ่นของอุจจาระจะเหม็นมากคล้ายกลิ่นเหม็นเน่า

วิธีการรักษาคือ ในเบื้องต้นผู้ป่วยสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ แต่หากยังไม่หายดีภายใน 5-7 วัน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

อุจจาระสามารถบอกสุขภาพของเราได้ ดังนั้นอุจจาระครั้งต่อไปควรก้มลงดูสักนิด อย่าเพิ่งรีบร้อนทำความสะอาด เพราะไม่แน่ว่า ร่างกายอาจต้องการส่งสัญญาณบางอย่างบอกคุณผ่านทางอุจจาระก็เป็นได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สิริกาญจน์ ยามาดะ, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร (http://www.med.cmu.ac.th/dept/surgery/gastro/upload/education_document/Gastrointestinal%20Hemorrhage%20lecture%20note.doc)
พันธุ์ภัทร์ จักรพันธุ์, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร (http://www.med.cmu.ac.th/dept/surgery/2017/images/documents/year4/GI/GIbleed.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

อ่านเพิ่ม
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก

การเปลี่ยนแปลงอาหารเล็กๆ น้อยๆ หลังการผ่าตัดทำทวารเทียมจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับตัวได้

อ่านเพิ่ม
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?

ตัวเลือกอาหารที่เหมาะสมช่วยเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว

อ่านเพิ่ม