กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ตุ่มสีแดงที่ขา

ตุ่มแดงที่ขา เกิดจากสาเหตุอะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตุ่มสีแดงที่ขา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตุ่มแดงที่ขา มักเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ แมลงกัดต่อย หรือโรคทางผิวหนัง เช่น โรคขนคุด รูขุมขนอักเสบ ผิวหนังอักเสบ ลมพิษ
  • มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการตุ่มแดงได้ เช่น สบู่ น้ำยาซักผ้า เหงื่อ มลภาวะทางอากาศ น้ำหอม ยาปฏิชีวนะ ยาแก้แพ้
  • ตุ่มแดงสามารถเกิดได้จากโรคบางชนิด เช่น โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคตับอักเสบ โรคไข้หวัด โรคโพรงจมูกอักเสบ หรือเกิดจากโดนแมลงบางชนิดกัดต่อย เช่น ยุง หมัด เห็บ หิด ตัวเรื้อน
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มแดงได้ เช่น ไม่คุมอาหารจนน้ำหนักเกิน อาบน้ำร้อน หรือแช่น้ำร้อนบ่อย ไม่ดูแลผิวพรรณจนเป็นสิว หรือมีอาการผิวหนังอักเสบ
  • อาการตุ่มแดงสามารถลุกลามทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงได้ เช่น เป็นฝีฝักบัว เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เมื่อคุณมีตุ่มแดงขึ้นตามอวัยวะ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

การพบตุ่มแดงที่ขานั้นมักจะไม่ได้เกิดจากโรคร้ายที่ทำให้น่าตกใจ แต่ตุ่มเหล่านี้อาจจะทำให้รู้สึกคันและผิวขาดูไม่สวย แต่ในบางกรณีตุ่มแดงอาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้

ตุ่มแดงที่ขาเกิดจากอะไร?

ตุ่มแดงที่ขานั้นอาจเกิดจากการถูกแมลงกัดต่อย ปฏิกิริยาภูมิแพ้  หรือโรคทางผิวหนัง ขึ้นกับอายุและประวัติทางสุขภาพของผู้ป่วย สาเหตุที่พบบ่อยของการเกิดตุ่มแดง อาจมีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. โรคขนคุด

โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป โดยจะทำให้เกิดตุ่มที่มีสีแดงหรือขาวขนาดเล็ก มีลักษณะเหมือนกับผดบริเวณต้นขาและแขน แต่มักจะไม่ได้ทำให้รู้สึกคันแต่อย่างใด 

โรคขนคุดจะเกิดเวลาที่รูขุมขนอุดตันจากเคราติน (Keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในผิวหนัง เส้นผมและเล็บ คุณมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงหากคุณมีผิวหนังที่แห้งหรือผิวหนังอักเสบ 

ถึงแม้ว่าโรคนี้อาจจะไม่รุนแรง หรือเป็นอันตรายมากนัก แต่ก็ควรต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ควรใช้ในการรักษา และสำหรับผู้ป่วยรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องใช้เลเซอร์ในการรักษาด้วย

2. รูขุมขนอักเสบ

มักจะพบส่วนที่เพิ่งโกนขน หรือในตำแหน่งที่เสื้อผ้าเสียดสีกับผิวหนังบ่อยๆ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดงคล้ายสิวตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่รูขุมขน ซึ่งมักเกิดจากการโกนขน การใส่เสื้อผ้ารัดๆ ร่วมกับความอับชื้น ความร้อนและเหงื่อ

3. ผิวหนังอักเสบ

มีลักษณะเป็นจุดสีแดงร่วมกับปื้น อาจแห้งและแตกด้วย หรือเป็นตุ่มน้ำที่มีน้ำไหลออกมาก็ได้ ทำให้รู้สึกคันมาก และมักจะมีอาการกำเริบเป็นช่วงๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผิวหนังอักเสบ

  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
  • น้ำหอม
  • สบู่และน้ำยาซักผ้า
  • เครื่องสำอาง
  • ขนสัตว์
  • เหงื่อและความร้อน
  • ความเครียด
  • พันธุกรรม
  • ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่มีมลภาวะสูงและมีอากาศเย็น
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคหอบหืด หรือโรคภูมิแพ้

90% ของผู้ป่วยมักจะเป็นเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี และ 50% ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

มียาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาภาวะนี้ได้ เช่น 

แพทย์จะช่วยวางแผนวิธีการรักษาที่เหมาะกับคุณ โดยเฉพาะการระบุสารที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการ เพื่อให้คุณลดการสัมผัสกับผิวบริเวณที่อักเสบได้ และโรคนี้ยังสามารถเกิดการติดเชื้อจากโรคอื่นได้ด้วย 

ดังนั้นหากคุณเป็นโรคผิวหนังอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่รอบๆ คนที่เป็นโรคเริมหรืออีสุกอีใส เพราะจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังเอคซีมา เฮอร์เพติคัม (Eczema herpeticum) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง และติดต่อได้รวดเร็วมาก

4. ลมพิษ

ตุ่มแดงจากอาการลมพิษจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง นูน คัน หรืออาจจะมีสีเดียวกับผิวก็ได้ และเมื่อกดผิวลง สีจะจางลงเป็นสีขาว สามารถพบที่ตำแหน่งใดก็ได้ในร่างกาย และพบได้ในผู้คนทุกช่วงอายุ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณสามารถเกิดลมพิษได้หลังจากสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น

  • อาหารบางชนิด
  • ยา
  • ละอองเกสร
  • ถุงมือยาง
  • ความร้อนหรือความเย็น
  • แมลง ซึ่งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น 

การใช้คาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion) หรือยาสเตียรอยด์ นั้นอาจจะช่วยบรรเทาอาการคันจากการถูกแมลงกัดได้ แต่การป้องกันการถูกแมลงกัดนั้นจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยอาจจะใช้ยากันแมลงหรือใส่เสื้อผ้าให้คลุมผิวหนังให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ลมพิษนั้นอาจเกี่ยวข้องกับโรคบางโรคด้วย เช่น

  • ไข้หวัด
  • โพรงจมูกอักเสบ
  • โรคโมโนนิวคลิโอซิส (Mononucleosis)
  • โรคตับอักเสบ
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง

การสังเกตการติดเชื้อ

โดยทั่วไปการมีตุ่มแดงขึ้นตามขานั้นไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่การเป็นโรคทางผิวหนังนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้ 

จึงควรรักษาตุ่มแดงตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และคอยสังเกตว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ เช่น 

  • มีอาการบวมรอบๆ 
  • ตุ่มแดงด้วย 
  • มีจำนวนตุ่มมากขึ้น 
  • มีผื่นแดงขึ้น 
  • มีอาการปวด 
  • แสบ 
  • มีไข้ 
  • ตุ่มสีแดงกลายเป็นตุ่มน้ำ

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ 

นอกจากปัจจัย และสาเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มแดงตามกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดตุ่มแดงได้ เช่น

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์เรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia: CLL) 
  • โรคเบาหวาน (Diabetes)
  • โรคเอดส์ หรือโรคต่างๆ ที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • มีสิวหรือผิวหนังอักเสบ
  • ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ
  • แช่น้ำร้อน หรืออาบน้ำร้อนบ่อยๆ
  • มีน้ำหนักเกิน

ภาวะการเกิดตุ่มแดงที่ขามักจะทำให้คัน และไม่สบายตัว แต่ไม่ได้เป็นอันตราย ยกเว้นแต่มีการติดเชื้อ หรือการอักเสบรุนแรงขึ้น เช่น ฝีฝักบัว (Carbuncle) หรือ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) ซึ่งส่วนมากอาการมักจะหายได้เอง 

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเหล่านี้มากว่า 10 วัน หรืออาการแย่ลง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดตุ่มแดงต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rashes affecting the lower legs. DermNet NZ. (https://www.dermnetnz.org/topics/rashes-affecting-the-lower-legs/)
Pimples on legs: Causes and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321966)
Causes of Red Bumps and Spots on Legs. Healthline. (https://www.healthline.com/health/skin-disorders/red-bumps-on-legs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การห้ามเลือดและดูแลบาดแผล
การห้ามเลือดและดูแลบาดแผล

วิธีการปฐมพยาบาลบาดแผลและการห้ามเลือด

อ่านเพิ่ม