กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)

ทำความเข้าใจลักษณะพื้นฐาน ชนิด หน้าที่และความสำคัยของกล้ามเนื้อเรียบ
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)

กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกเหนืออำนาจการควบคุมของจิตใจ (Involuntary muscle) ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายใน ถึงแม้การเคลื่อนไหวนี้จะไม่เด่นชัดเท่ากับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อลาย แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดความสมดุลของระบบอวัยวะภายในต่างๆ สาเหตุที่ถูกเรียกว่ากล้ามเนื้อเรียบ ก็เพราะเมื่อนำเซลล์ของกล้ามเนื้อชนิดนี้ไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นรูปร่างเรียบๆ จัดเรียงตัวแบบง่าย มีเซลล์เป็นรูปกระสวย (Spindle) กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาว ปลายทั้งสองสองแหลม ตรงกลางโป่งออกเป็นที่อยู่ของนิวเคลียส สาเหตุที่เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะเห็นว่าภายในเซลล์เรียบและไม่มีลาย เพราะการเรียงตัวของโปรตีนแอกติน (Actin) และไมโอซิน (Myosin) ไม่เป็นระเบียบเหมือนในเซลล์กล้ามเนื้อลาย ขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบขึ้นอยู่กับอวัยวะที่กล้ามเนื้อนั้นเป็นองค์ประกอบ มักพบเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างอวัยวะภายใน เช่น ผนังท่อทางเดินอาหาร ผนังของระบบสืบพันธุ์ ผนังท่อในระบบขับถ่าย รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของผนังเส้นเลือดและต่อมไร้ท่อต่างๆ อีกด้วย

การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกกระตุ้นผ่านระบบประสาทอัตโนมัติทั้งสองระบบในทิศทางตรงกันข้ามกับเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ กล่าวคือ เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic) ทำงานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น การคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ แต่เมื่อระบบพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำงาน กล้ามเนื้อจะตอบสนองด้วยมีการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบนั่นเอง เนื่องจากกล้ามเนื้อเรียบมีหลอดเหลือดมาเลี้ยงน้อยกว่า จึงทำให้เกิดการหดตัวได้ช้ากว่ากล้ามเนื้อลาย นอกจากนี้กล้ามเนื้อเรียบยังตอบสนองต่อสารเคมีจากภายนอกบางชนิด และสารสื่อประสาทที่ร่างกายผลิตออกมา เช่น เอพิเนฟรีน (Epinephrine) ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชนิดของกล้ามเนื้อเรียบ

กล้ามเนื้อเรียบสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ตามอวัยวะที่พบ และโครงสร้างหลักที่ใช้นำกระแสประสาท ดังนี้

  1. กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายใน (Visceral smooth muscle) เซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบชนิดนี้เชื่อมต่อกันด้วยช่องเล็กๆ (Nexus or tight junction) ชนิดพิเศษที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ จึงยินยิมให้มีการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าจากเซลล์ข้างเคียงได้ง่าย ด้วยเหตุนี้เซลล์ชนิดนี้จึงมีเส้นประสาทเพื่อนำหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทไม่มากซึ่งต่างจากกล้ามเนื้อลาย
  2. กล้ามเนื้อเรียบที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงจำนวนมากเหมือนกล้ามเนื้อลาย (Multiunit smooth muscle) กล้ามเนื้อชนิดนี้พบได้น้อยมากในร่างกาย เชื่อกันว่ามีเพียงประมาณ 1 % เท่านั้น กล้ามเนื้อเรียบชนิดนี้ไม่มีช่องพิเศษที่ช่วยส่งผ่านกระแสไฟฟ้า แต่ละเซลล์จึงต้องอาศัยการสั่งการจากเส้นประสาท อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อเรียบชนิดนี้ยังคงทำงานนอกเหนืออำนาจจิตใจของมนุษย์ พบได้ที่ม่านตา และกล้ามเนื้อที่ควบคุมการลุกชันของขนบริเวณผิวหนัง เป็นต้น

หน้าที่ของกล้ามเนื้อเรียบ

กล้ามเนื้อเรียบมีคุณสมบัติพิเศษหลักสองชนิด คือสามารถปรับตัวได้ตามแรงยืด (Plasticity) การหดตัวได้เอง (Automaticity) และกล้ามเนื้อลายในบางอวัยวะมีเซลล์กลุ่มพิเศษที่สามารถก่อให้เกิดจังหวะ (Pace maker) ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามากระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบบริเวณใกล้เคียงหดตัวเป็นจังหวะแบบอัตโนมัติได้ อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้นว่ากล้ามเนื้อเรียบนั้นเป็นองค์ประกอบอวัยวะภายในเกือบทุกชนิด จึงมีหน้าที่เฉพาะที่แตกต่างกันมาก จึงขอยกต่างอย่างที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจง่าย ดังนี้

  1. ควบคุมการทำงานของหลอดอาหารทำให้การกลืนอาหารเป็นไปอย่างปกติ
  2. ปรับขนาดของทางเดินหายใจ เพื่อควบคุมการส่งผ่านอากาศไปยังปอด และส่งต่ออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  3. ปรับขนาดของหลอดเลือดเพื่อควบคุมการไหลเวียนของเลือดไปทั่วทั้งร่างกาย และควบคุมความดันในร่างกาย
  4. ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ทำให้ระบบย่อยอาหาร
  5. ควบคุมการปรับตัวของรูม่านตา
  6. การปรับขนาดเลนส์ตา

ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นจะเห็นว่า การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบอย่างปกติมีความสำคัญต่อระบบต่างๆ ของร่างกายเป็นอย่างมาก การทำความเข้าใจถึงหน้าที่ของกล้ามเนื้อลายชนิดต่างๆ อาจจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพื่อช่วยให้สังเกตอาการผผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jason La Pres. The Muscular System-Skeletal Muscle Tissue and Organization. Pearson Education, Inc., 2009.
Kumar Sambamurti. Fundamentals of Neurosciences: Smooth Muscle. 2015.
Didy Button. Muscular System. Pearson Education, Inc. 2012.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)