ปัญหาการสูบบุหรี่ในเพศหญิง ทั้งมะเร็งปอด และระบบสืบพันธุ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ปัญหาการสูบบุหรี่ในเพศหญิง ทั้งมะเร็งปอด และระบบสืบพันธุ์

a15.gif แต่เดิมเคยเข้าใจกันว่าฮอร์โมนของเพศหญิงช่วยป้องกันโรคภัยอันเนื่องจากบุหรี่ เพราะเมื่อสิบปีก่อนนี้เองสถิติของสหรัฐอเมริกาบ่งว่าผู้ชายเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้หญิงถึงแปดเท่า บัดนี้อัตราส่วนลดลงมาก ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิงถึงเพียงเท่าครึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากวิสัยของโรคมะเร็งที่ปอด กว่าจะปรากฏให้เห็นโทษของบุหรี่ก็ร่วมสิบปี ในขณะเดียวกันจำนวนผู้หญิงอเมริกันที่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นมาก พร้อมกับที่จำนวนผู้ชายอเมริกันที่สูบบุหรี่ลดลงกว่าแต่ก่อน ผู้หญิงอเมริกันเป็นมะเร็งที่เต้านมมากกว่าส่วนอื่น ปัจจุบันจำนวนผู้หญิงที่เป็นมะเร็งที่ปอดใกล้เคียงกับมะเร็งที่เต้านม ผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์เชื่อว่าผู้หญิงสูบบุหรี่กันมากขึ้น อาจจะทำให้อายุขัยของผู้หญิงสั้นลง เพศหญิงเคยมีอายุยืนกว่าเพศชายประมาณ 5-7 ปี ต่อไปภายหน้าอาจจะอายุสั้นเท่า ๆ กัน

a15.gif ถึงไม่มีสถิติของประเทศไทยมาอ้างอิง ก็พอจะเดาได้ว่าผู้หญิงไทยสูบบุหรี่มากขึ้น และบางคนยังถือว่าเป็นเรื่องโก้เก๋ จึงน่าสนใจว่าผู้หญิงได้รับความไม่ยุติธรรมจากโทษของบุหรี่เพียงใด



 

ผลงานวิจัยล่าสุดบ่งว่า โทษของบุหรี่ตกหนักอยู่กับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และลูกที่เกิดจากหญิงผู้สูบบุหรี่ขณะอุ้มท้อง ซึ่งได้รับผลเสียตั้งแต่ก่อนคลอด และสืบเนื่องต่อไปอีกหลายปี

a15.gif เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ หญิงที่สูบบุหรี่มีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำกว่าหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ พูดง่าย ๆ ว่าติดลูกยากกว่า เนื่องจากบุหรี่ทำให้ระดับฮอร์โมนบางตัวของเพศหญิงลดลง และสารในควันบุหรี่ อาจทำให้ไข่ตกลงในท่อนำไข่ช้าลงหรือผิดเวลา นอกจากนั้นผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะหมดประจำเดือนเร็วกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยประมาณปีหนึ่งถึงปีครึ่ง การสูบบุหรี่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงด้วย หลังหมดประจำเดือน ปริมาณเอสโตรเจนลดลง ผู้หญิงมักมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกอยู่แล้ว ได้แก่ กระดูดขาดแคลเซี่ยม ทำให้กระดูกเปราะจึงหักง่าย ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จึงปัญหานี้มากกว่าปกติ

a15.gif เมื่อตั้งครรภ์แล้ว หากแม่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป จะต้องเสี่ยงกับการแท้งมากกว่าแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ถึงสิบเท่า ควันบุหรี่มีคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเข้าไปแทนที่ออกซิเจนบางส่วนในเลือดของแม่เมื่อไปถึงทารกในครรภ์ ทารกย่อมได้ออกซิเจนน้อยลงไปตามส่วน อาจมีผลให้ทารกแรกเกิดของแม่ที่สูบบุหรี่มีน้ำหนักน้อยกว่าแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ และมักคลอดก่อนกำหนด

a15.gif น้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติเมื่อแรกเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเรียกว่า ทำให้เด็กเสียเปรียบตั้งแต่เกิด เพราะอาจมีปัญหาหลายอย่างตามมา ได้แก่ปอดเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เลือดออกในสมอง การขับถ่ายไม่ปกติ อาจเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย และมีปัญหาด้านสติปัญญาซึ่งมีผลต่อไปอย่างไม่หมดสิ้น แม้กระทั่งเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลของงานสำรวจที่อังกฤษพบว่า เด็กที่แม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่าวันละสิบมวน อ่านหนังสือช้าและคิดเลขไม่ไว สติปัญญาพัฒนาช้ากว่าเด็กที่แม่ไม่สูบบุหรี่ประมาณ 5 เดือน



 

ด้วยเหตุที่ผลของการสูบบุหรี่ของแม่มีโทษต่อสุขภาพและสติปัญญาของลูกหลายประการ และเป็นเวลานาน สมาคมมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาจึงพิมพ์โปสเตอร์เตือนสติหญิงมีครรภ์ขอร้องมิให้สูบบุหรี่

a15.gif เท่าที่เล่ามา คงจะทำให้ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยขยาด ไม่กล้าสูบบุหรี่ และผู้หญิงบางคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำคิดอยากจะเลิก ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ แม้มีความตั้งใจแล้วก็ต้องพยายามอย่างเต็มที่จึงจะเลิกได้ กล่าวกันว่าเพศหญิงเผาผลาญนิโคตินที่มากับบุหรี่ต่างจากเพศชาย ทำให้ติดง่ายและเลิกยากกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่อาศัยบุหรี่คลายความเครียด บางทีเลิกไปแล้วเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี พอมีเรื่องกระทบกระเทือนทางใจก็อาจหันไปพึ่งบุหรี่อีก

ผู้หญิงหลายคนสูบบุหรี่แล้วไม่กล้าเลิก

เพราะกลัวว่าจะกินอาหารแทนสูบบุหรี่ กลัวจะอ้วน ซึ่งก็เป็นความจริง ผู้หญิงที่เลิกบุหรี่ถึงหกสิบเปอร์เซ็นต์มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บางคนใช้ความอ้วนเป็นข้ออ้างที่ทำให้เลิกบุหรี่ไม่ได้ เพราะโทษของความอ้วนก็มีไม่น้อย เช่น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น แต่ต้องอ้วนขึ้นมาอีก 50 กิโลกรัม จึงจะมีโทษระดับเดียวกับการสูบบุหรี่วันละหนึ่งซอง

a15.gif เมื่อห้าหรือสิบปีก่อน ผู้หญิงอาจจุดบุหรี่ขึ้นสูบได้อย่างหน้าตาเฉย เพราะยังไม่มีรายงานผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อเพศหญิงละเอียดลออเท่าในปัจจุบัน เมื่อได้อ่านหรือได้ยินได้ฟังแล้ว จะทำไม่รู้ไม่ชี้ได้อย่างไร ความไม่เสมอภาคระห่างเพศหญิงกับเพศชายในเรื่องนี้ ไม่สามารถจะร้องเรียนกับที่ประชุมหรือองค์การใดให้แก้ไขหรือบรรเทาลงได้ เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้หญิงทุกคนต้องยอมรับ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chapter 3. Health Consequences of Tobacco Use Among Women - Women and Smoking. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK44312/)
10 effects of smoking cigarettes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324644)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)