โรคมะเร็งผิวหนัง ภัยร้ายที่หลายคนมองข้าม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคมะเร็งผิวหนัง ภัยร้ายที่หลายคนมองข้าม

เมื่อขึ้นชื่อว่า โรคมะเร็ง โรคภัยที่เชื่อว่าหลายคนเมื่อได้ยินแล้ว คงอดที่จะหวาดกลัวไม่ได้ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า โรคมะเร็งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นมาเอง และมีกระบวนการในการรักษาที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก ซับซ้อน ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการรักษาเพียงแค่ไม่กี่วิธีก็ตาม แต่การรักษาโรคมะเร็งส่วนใหญ่ จำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก และสำหรับมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งถึงแม้จะไม่ค่อยพบมากนักในเมืองไทย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอยู่เลย และมะเร็งชนิดนั้นก็คือ มะเร็งผิวหนัง

ทำไมโรคมะเร็งผิวหนังไม่ค่อยเกิดขึ้นกับคนไทย

และสาเหตุที่บอกว่ามะเร็งผิวหนังไม่ค่อยพบในคนไทย นั่นก็เป็นเพราะ พื้นผิวเดิมของคนไทยนั้นค่อนข้างคล้ำ ไม่ได้ขาวเหมือนกับคนตะวันตก ซึ่งความคล้ำของผิวที่เรามองเห็นว่าไม่สวยงามนี่เอง ที่เป็นเกราะป้องกันอย่างดี ช่วยให้เรามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังน้อยลง แต่เมื่อค่านิยมเปลี่ยนไป ทำให้หลายคนเลือกที่จะมองหาวิธีการที่จะทำให้ตัวเองมีผิวขาวมากขึ้น ซึ่งวิธีการเหล่านั้นก็มีตั้งแต่การทาครีมบำรุงผิว ไปจนถึง การใช้สารเคมีกัดและลอกผิว ซึ่งในจุดนี้เองที่ทำให้ผิวของเรามีความบางลง และไวต่อรังสีต่างๆได้มากขึ้น จนเป็นบ่อเกิดของการเป็นมะเร็งผิวหนัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

และนอกจากนี้แล้วยังมีข้อมูลที่ระบุไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังอีกด้วยว่า มะเร็งผิวหนังนั้นเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้มากที่สุดก็คือ คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยอาการของโรคนั้น ก็มีความหลากหลายตามแต่สาเหตุของการเกิด โดยสามารถที่จะสรุปได้ ดังนี้

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง

1. โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากการรังสีของแสงแดด

ผิวหนังมักจะมีการบวมแดง แสบ และมีตุ่มนูนใสๆ เกิดขึ้น หรือหากเป็นที่บริเวณผิวหน้าของเราก็อาจจะมีการแตกเป็นแผลได้ แต่ที่นับว่ายังโชคดีก็คือ โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ มักจะเกิดจากการตากแดดสะสมเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน จึงจะเกิดเป็นโรคขึ้นมา และมีระยะเวลาในการขยายบริเวณของโรคค่อนช้างช้า ทำให้รักษาได้ง่ายขึ้น

2. โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากปัจจัยภายในผิวหนังเอง

อย่างเช่น การสร้างเม็ดสีผิวที่ผิดปกติ อาการของโรคมักจะเป็นการที่มีจุดดำๆ หรือ ไฝ ที่มีการขยายขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทราบว่า อาการดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งแล้ว

สำหรับในเรื่องของวิธีการรักษา อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า มักจะต้องทำควบคู่กัน ระหว่างการให้ยา และการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด ซึ่งทั้ง 2 อย่างนั้น ต้องใช้ระยะเวลา และเงินจำนวนไม่น้อย ดังนั้น การหาทางป้องกันไม่ไห้โรคมะเร็งผิวหนังเกิดขึ้นมาดูเหมือน จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการรักษาอยู่มาก

วิธีป้องกันโรคมะเร็งผิวหนัง

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแสงแดดเป็นเวลานานๆ เพราะแสงแดดเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
  2. ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้โดนแดดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ทำงานตามสำนักงาน เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันรังสียูวีนั้น มีอยู่ในทุกที่ที่มีแสง โดนเฉพาะอย่างยิ่งแสงจากหลอดไฟ และคอมพิวเตอร์ด้วยแล้ว ยิ่งมีรังสียูวีที่แรงไม่แพ้แดด
  3. ใส่เสื้อแขนยาว เวลาที่มีความจำเป็นต้องออกนอกบ้านในช่วงที่แดดแรง เพราะนอกจากจะป้องกันแสงแดดแล้ว ยังช่วยป้องกันฝุ่นละอองให้กับเราด้วย

เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันโรคมะเร็งผิวหนังได้ในระดับหนึ่ง และอย่างไรก็ตาม หากพบอาการผิดปกติของผิวหนัง แนะนำว่าควรรีบพบแพทย์แต่เนิ่นๆจะดีกว่า เพราะการรักษามะเร็งในระยะแรกนั้นทำได้ง่ายกว่า และมีโอกาสหายได้มากกว่า การรักษาในระยะที่ลุกลามไปยังเซลล์อื่นๆ แล้ว


32 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Early Detection - The Skin Cancer Foundation. The Skin Cancer Foundation. (https://www.skincancer.org/early-detection/)
Skin Cancer: Epidemiology, Disease Burden, Pathophysiology, Diagnosis, and Therapeutic Approaches. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5289116/)
Skin Cancer: Facts, Statistics, and You. Healthline. (https://www.healthline.com/health/skin-cancer/facts-and-stats#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้

ข้อเท็จจริงเหล่านี้จะบอกว่าทำไมคุณควรต้องปกป้องตัวเองจากแสงแดด

อ่านเพิ่ม