ไซนัสอักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไซนัสอักเสบ

ไซนัสคืออะไร

ไซนัส (Sinusitis) คือ โพรงอากาศหรือช่องว่างภายในโพรงจมูก มี 4 ตำแหน่ง ได้แก่ โพรงไซนัสบริเวณโหนกแก้ม โพรงไซนัสรอบโพรงจมูก  โพรงไซนัสระหว่างเบ้าตา และ โพรงไซนัสที่หน้าผากระหว่างคิ้ว

โพรงไซนัสนั้นว่างเปล่า แต่มีประโยชน์ ภายในมีเยื่อเมือกบางๆ คล้ายโพรงจมูก ช่วยให้เวลาพูดเสียงของเราก้องกังวาน ช่วยปรับสภาพอากาศที่เราหายใจเข้าไปให้เหมาะสมกับร่างกาย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น  ความบริสุทธิ์ต่างๆ ช่วยป้องกันอันตรายของสมองหากถูกกระทบกระเทือน ดังนั้นไซนัสจึงมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุที่ทำให้ไซนัสอักเสบ

โพรงไซนัสจะมีรูเปิดเล็กๆ เชื่อมกับโพรงจมูก ทำให้อากาศภายนอกไหลเวียนเชื่อมต่อระหว่างโพรงจมูกและโพรงไซนัสได้ แต่รูเปิดไซนัสนี้มีขนาดเล็กมาก หากมีการติดเชื้อ หรือ เกิดความผิดปกติที่ทำให้รูเปิดไซนัสตีบแคบหรือตันก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจเราผิดปกติตามไปด้วย ดังนั้น สาเหตุที่จะทำให้โพรงไซนัสเกิดความผิดปกติได้ ได้แก่

  • การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก เช่น การสำลักทำให้สิ่งแปลกปลอมติดโพรงจมูก
  • สารเคมีเข้าจมูก ควัน หรือ ฝุ่นละอองที่มีปริมาณมากจนระคายเคืองเยื่อบุและโพรงจมูก
  • โรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ จะทำให้มีสารคัดหลั่งออกมามากผิดปกติ
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่น ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ  โลหิตจาง เป็นต้น
  • โรคเนื้องอกในระบบทางเดินหายใจ หรือ มะเร็งจมูก เป็นต้น

อาการของไซนัสอักเสบ

อาการและอาการแสดงที่พบเมื่อเกิดความผิดปกติของโพรงไซนัสโดยทั่วไปจะมีอาการหวัดนำมาก่อน หรือ อาการของโรคภูมิแพ้ เช่น ไอ มีน้ำมูก คัดจมูก และอาการที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติที่ไซนัส หรือ ไซนัสอักเสบ มีดังนี้

  • อาการปวดศีรษะ และปวดบริเวณโพรงไซนัสที่อักเสบ เช่น ปวดโหนกแก้ม ปวดหัวตาทั้ง 2 ข้าง หรือหน้าผาก ปวดบริเวณโพรงจมูกร่วมด้วย เป็นต้น
  • คัดและแน่นจมูก หายใจลำบาก หายใจลำบากต้องหายใจทางปากช่วย มีน้ำมูกหรือเสมหะสีเขียวเหลืองได้  มีความรู้สึกน้ำมูกไหลงลงคอเรื่อยๆ บางรายมีกลิ่นเหม็นในจมูก หรือ เหม็นคาวในลำคอ
  • มีไข้ร่วมกับอาการปวดบริเวณโพรงไซนัส และปวดศีรษะ
  • เบื่ออาหาร ไม่ได้กลิ่นหรือ รสชาติอาหาร
  • เจ็บคอมาก มีเสมหะ หรือกลืนลำบากร่วมด้วย
  • มีอาการไดยินลดลง หูอื้อ ปวดในหู

อาการและอาการแสดงดังกล่าว อาจเป็นอาการที่พบร่วมในผู้ป่วยไข้หวัด คออับเสบ หรือ ทอนซิลอักเสบ ได้ แต่อาการไซนัสอักเสบ จะมีอาการปวดเฉพาะบริเวณรอบโพรงไซนัส ปวดศีรษะและการรับกลิ่น รับรส รวมถึงอาการหูอื้อ ร่วมด้วย เป็นส่วนมาก ทั้งนี้ การวินิจฉัยแพทย์จะทำการตรวจดูเยื่อบุจมูก ว่ามีบวมแดง มีสารคัดหลั่ง หนองไหลออกมาจากเยื่อบุโพรงจมูกหรือไม่ หากจำเป็นต้องตรวจโดยละเอียด แพทย์จะทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT Scan) หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดได้

การรักษาและการป้องกัน

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ  แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ  เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ และการให้ยาบรรเทาอาการ ร่วมกับ การสวนล้างจมูกดังนี้

  1. การให้ยา เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ปวด การให้ยาลดอาการบวมของจมูก เช่น ยาพ่นจมูกลดอาการบวม ยาแก้แพ้ เพื่อลดการหลั่งเสมหะ น้ำมูก
  2. การใช้แผ่นประคบความร้อน (Warm Pack) ประคบตามจุดต่างๆ ที่มีอาการปวดตามใบหน้า เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและเพิ่มการระบายเสมหะที่อุดทันท่อทางเดินหายใจและท่อเปิดไซนัส
  3. การสวนล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ สามารถทำได้เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่ตกค้าง เสมหะ สารคัดหลั่งต่างๆ ในโพรงจมูกให้ไหลจากจมูกอีกข้างไปอีกข้าง
  4. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
  5. ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการ
  6. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ชุมชนแออัด พื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ หากมีความจำเป็นต้องเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว ควรสวมผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการรับเชื้อ และหากอยู่ในช่วงเจ็บป่วยก็ควรสมผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นและคนรอบข้าง

จะเห็นว่าโรคไซนัสอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัยและสร้างความไม่สุขสบายให้กับผู้ที่เป็น  และผู้ที่เป็นโรคไซนัสแล้วสามารถเป็นได้ใหม่เหมือนโรคหวัด ขึ้นอยู่กับสภาพความแข็งแรงของร่างกายและพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น การดูแลสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรคไซนัสอักเสบ

 


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป