เพชฌฆาตตัวการ คือน้ำตาลใกล้ตัว

“หลีกเลี่ยงน้ำตาล” คำเตือนสั้น ๆ ที่ปฏิบัติตามได้ยากเสียเหลือเกินสำหรับใครหลาย ๆ คน
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เพชฌฆาตตัวการ คือน้ำตาลใกล้ตัว

“Never Be Sick Again” เป็นหนังสือที่เขียนโดย Dr. Raymond Francis ซึ่งผู้เขียนกล่าวอ้างในหนังสือว่า ตลอดระยะเวลา 26 ปีที่ผ่านมา เขาไม่เคยป่วยอีกเลย แม้กระทั่งไข้หวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่มี ปัจจุบัน เขามีอายุ 75 ปี  สาเหตุที่ทำให้เขาไม่ป่วยอีกเลย เนื่องมาจากปัจจัยง่าย ๆ คือ เขาเปลี่ยนวิธีการกิน เขาไม่ลืมหาเวลาออกกำลังกายแม้ว่าอายุจะมากแล้วก็ตาม 

ลดบริโภคน้ำตาลสำคัญไหม?

"หลีกเลี่ยงน้ำตาล” คำเตือนสั้น ๆ ที่ปฏิบัติตามได้ยากเสียเหลือเกินสำหรับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสาว ๆ ที่เสพติดการกินของหวานหรือขนมนมเนยทั้งหลายหลังการรับประทานอาหารมื้อหลัก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยิ่งทุกวันนี้ ร้านของหวานทั้งเก่าและใหม่ต่างก็ตั้งอยู่เรียงรายเต็มท้องตลาดไปหมด คงยากแก่การห้ามใจสุด ๆ ใครเจอร้านไหนน่านั่งน่าลองก็พากันแชร์คลิปวิดีโอ พากันรีวิวความหวานฉ่ำชื่นใจลงสื่อโซเชียลกันเต็มไปหมด หนุ่ม ๆ สาว ๆ คนไหนเห็นแล้วก็ต้องพากันไปเช็คอินเพื่อไม่ให้พลาดของอร่อย

แต่! ของอร่อยมักไม่มีประโยชน์ แต่ใครจะคิดกันเล่าว่า น้ำตาลไม่ใช่แค่ไม่มีประโยชน์ธรรมดา แต่ยังอันตรายอย่างมากอีกด้วย! Dr. Raymond Francis กล่าวว่า เพียงแค่น้ำตาลช้อนเดียวภายในช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมง ก็เต็มไปด้วยข้อเสียนานัปการแล้ว 

กล่าวคือ ภูมิต้านทานของคุณจะลดเหลือเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ นั่นส่งผลให้เชื้อโรคพุ่งหาร่างกายของคุณได้ง่ายขึ้น ร่างกายของคุณจะปั่นป่วน ดังนั้น หากคุณอัดน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น หรือก่อนนอน หายนะแน่ ๆ ซึ่งคุณหมอท่านนี้ยืนยันชัดเจนอีกด้วยว่า ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานน้ำตาล คือ ไม่มีเลย แถมคุณหมอยังย้ำอีกต่างหากว่า ผู้ใหญ่ห้ามเด็กไม่ให้สูบบุรี่กินเหล้า แต่ซื้อขนมนมเนยให้แทน นั่นอันตรายยิ่งกว่าแอลกอฮอลล์และบุหรี่เสียอีก!

หลายคนอาจยังไม่อยากเชื่อและมองว่า หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ก็ไม่น่าจะเดือดร้อนตรงไหน แต่แน่นอนล่ะว่า Dr. Raymond Francis ยังกล่าวย้ำต่อไปอีกว่า น้ำตาลนำมาซึ่งโรคต่าง ๆ มากมาย อาทิ โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และรวมถึงไข้หวัดต่าง ๆ (ยาพิษใกล้ตัวก็ว่าได้)

ลดบริโภคน้ำตาลควรทำอย่างไร?

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณทราบถึงอันตรายของ “น้ำตาล” แล้ว คงไม่ใช่เรื่องง่ายหากคุณจะหักดิบ ไม่กินน้ำตาล ไม่แตะน้ำตาล ชนิดที่ว่าเป๊ะๆๆๆร้อยเปอร์เซ็นต์ จริงไหม? คุณอาจต้องเริ่มจากการควบคุมปริมาณของการบริโภคทีละน้อย เนื่องจากการหักดิบจะทำให้คุณตบะแตก 

กล่าวคือ น้ำตาลเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตซึ่งมีรสหวาน เป็นสารที่ให้ความหวานและพลังงานแก่ร่างกาย อีกทั้งยังทำให้รู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย โดยเฉพาะการอยู่ในประเทศที่อากาศร้อนอบอ้าวเช่นนี้ การดื่มน้ำหวานย่อมช่วยดับกระหายได้เป็นอย่างดี 

ดังนั้น ร่างกายของคุณยังโหยหามันอยู่ หากคุณอดหรือหักดิบไม่รับประทานเลย ในท้ายที่สุดแล้ว คุณจะอดรนทนไม่ไหวอย่างแน่นอน ฉะนั้นวันนี้ เราเข้าใจคุณดี เราจึงรวบรวมวิธี ”ลด” ปริมาณน้ำตาลมาฝากทุกคนกัน ดังนี้

  1. เริ่มหันมาตวงน้ำตาลใส่ช้อน เพื่อควบคุมปริมาณเบื้องต้น
  2. จดบันทึกปริมาณน้ำตาลที่คุณทานเข้าไปในแต่ละวัน เริ่มจากวันแรกของการลด และต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน
  3. รู้จักอ่านฉลากโฆษณาสินค้าที่คุณซื้อมาบริโภค หากเขียนบนฉลากว่า “ไม่มีน้ำตาล”, “สกัดจากธรรมชาติ” หรือ “Organic Raw Sugar” หรือ “Honey” ก็คว้ามาทานได้เลย
  4. ลองเปลี่ยนมาดื่มน้ำเปล่าดับกระหายแทนน้ำหวานดูสิ
  5. เปลี่ยนของทานเล่นจากขนมนมเนยมาเป็นผลไม้
  6. การออกกำลังกายวันละ 30 นาทีช่วยลดความอยากน้ำตาลได้
  7. หยุดซื้อขนมหวานเข้าบ้าน!
  8. ลดความเครียด เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล ยากแก่การควบคุมปริมาณน้ำตาลให้เหมาะสม
  9. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะร่างกายจะสดชื่น ซึ่งนั่นทำให้ร่างกายไม่ต้องการเพิ่มความหวานมากจนเกินไป
  10. ตั้งเป้าหมายและมีความมุ่งมั่น ยิ่งหากคุณไม่ใช่ผู้ป่วย ปริมาณการทานหวานอาจไม่จำเป็นต้องเคร่งเครียดเท่าดังนั้น เพียงแค่รู้จักควบคุมและรู้เท่าทันสมดุลของการรับประทาน ก็นับว่าเจ๋งสุด ๆ แล้ว

ไม่จำเป็นต้องละเลิกการรับประทานน้ำตาลได้แบบ Dr. Raymond Francis และไม่จำเป็นต้องทำให้ได้ครบ 10 ข้อข้างต้น ขอแค่ลองปฏิบัติตามดูทีละข้อสองข้อ และเพิ่มจำนวนข้อขึ้นเรื่อย ๆ ทีละขั้นอย่างไม่เคร่งครัดจนเกินไป ลองดูสิ เพราะทั้งหมดนี้ ... ก็เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของคุณอย่างไรล่ะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Killer sweetener claim doubtful. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/food-and-diet/killer-sweetener-claim-doubtful/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)