8 สัญญาณเตือนว่าร่างกายขาดวิตามินดี

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 สัญญาณเตือนว่าร่างกายขาดวิตามินดี

วิตามินดีเป็นวิตามินที่สังเคราะห์มาจากคอเลสเตอรอล และแสงอาทิตย์ นอกจากนี้เราสามารถพบวิตามินดีได้ในอาหารบางชนิดเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ปลาที่มีไขมันสูง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากนมชนิด Fortified ไข่ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ปริมาณของวิตามินดีที่เราควรได้รับต่อวันคือ 400-800 IU แต่มีการประมาณไว้ว่า มีคนกว่า 1,000 ล้านคนจากทั่วโลกที่มีวิตามินชนิดนี้ในเลือดต่ำ และหากร่างกายได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ มันก็จะส่งสัญญาณเตือนดังนี้

1. ป่วยบ่อย

หนึ่งในบทบาทสำคัญของวิตามินดีคือ การช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ทำให้คุณสามารถต่อสู้กับไวรัส และแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ถ้าคุณป่วยบ่อย โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน ไม่แน่ว่ามันอาจเกิดเพราะร่างกายมีระดับวิตามินดีต่ำก็ได้ค่ะ ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นได้พบความเชื่อมโยงระหว่างการขาดวิตามินดี และการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจอย่างโรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ และโรคปอดบวม โดยพบว่า การทานวิตามินดีแบบอาหารเสริมมากถึง 4,000 IU ต่อวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า

การที่คุณรู้สึกเหนื่อย บางทีมันอาจเกิดจากร่างกายได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอค่ะ ซึ่งโชคร้ายที่หลายคนมักมองข้ามสาเหตุนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีกรณีศึกษาพบว่า การมีระดับเลือดที่ต่ำสามารถทำให้คุณอ่อนเพลียได้ และมีหลายงานวิจัยที่มองหาความสัมพันธ์ระหว่างวิตามินดี และอาการเหนื่อยล้าในผู้หญิงวัยหนุ่มสาว โดยพบว่า ผู้หญิงที่มีระดับเลือดต่ำกว่า 20 ng/ml หรือ 21-29 ng/ml มีแนวโน้มที่จะมีอาการเหนื่อยล้ามากกว่าคนที่มีระดับเลือดสูงกว่า 30 ng/ml ในขณะที่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบความเชื่อมโยงระหว่างการมีระดับวิตามินดีต่ำและการเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า 

3. ปวดกระดูก

วิตามินดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาสุขภาพของกระดูก โดยสามารถช่วยให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ดีขึ้น การรู้สึกปวดที่กระดูก หรือหลังช่วงล่างอาจเป็นสัญญาณของการมีวิตามินดีในเลือดไม่เพียงพอ ทั้งนี้มีงานวิจัยหนึ่งได้ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างวิตามินดี และอาการปวดหลังในผู้หญิงที่ค่อนข้างมีอายุมากกว่า9,000 คน โดยพบว่า คนที่ร่างกายขาดวิตามินดีมีแนวโน้มที่จะปวดกระดูก ซี่โครง หรือข้อต่อมากเกือบ 2 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติ

4. ซึมเศร้า

อาการซึมเศร้าอาจเป็นสัญญาณของการขาดวิตามินดี ซึ่งนักวิจัยได้พบความเชื่อมโยงระหว่างการขาดวิตามินดีกับอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะในคนสูงอายุ และมีงานวิจัยที่อยู่ในการควบคุมพบว่า การให้วิตามินดีแก่คนที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่าปกติสามารถช่วยให้อาการซึมเศร้าบรรเทาลง โดยหมายความรวมถึงโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal depression) ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนที่มีอากาศหนาว

5. แผลหายช้า

การที่แผลตามร่างกายที่เกิดจากการผ่าตัด หรือการบาดเจ็บหายช้ากว่าปกตินั้นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายมีวิตามินดีต่ำค่ะ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า วิตามินดีมีส่วนช่วยเพิ่มการผลิตสารประกอบที่จำเป็นต่อการสร้างผิวใหม่ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเยียวยาบาดแผล

6. สูญเสียมวลกระดูก

วิตามินดีมีหน้าที่สำคัญในการดูดซึมแคลเซียม และเมทาบอลิซึมของกระดูก ทั้งนี้มีผู้สูงอายุหลายคนที่ถูกตรวจพบว่าสูญเสียมวลกระดูก ซึ่งเชื่อว่าตัวเองจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมมากขึ้น แต่อาจไม่ทันนึกว่า มันอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอเช่นกัน อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยชิ้นใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมทดลองเป็นผู้หญิงวัยกลางคนมากกว่า 1,100 คน ที่อยู่ในช่วงวัยทอง หรือหลังวัยทอง โดยนักวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างการมีระดับวิตามินดีต่ำและการมีมวลกระดูกต่ำ

7. ผมร่วง

ภาวะผมร่วงมักเกิดจากความเครียด และปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุพื้นฐาน แต่หากผมร่วงอย่างรุนแรง ไม่แน่ว่ามันอาจมีต้นเหตุมาจากโรคร้าย หรือการขาดสารอาหาร ทั้งนี้มีการค้นพบว่า อาการผมร่วงในผู้หญิงมีความเชื่อมโยงกับการมีวิตามินดีในร่างกายต่ำ

8. ปวดกล้ามเนื้อ

การหาสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อมักเป็นเรื่องยาก แต่มีหลักฐานที่ระบุว่า การขาดวิตามินดีอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งมีงานวิจัยที่ทำโดยใช้เด็ก 120 คน ที่มีร่างกายขาดวิตามินดี และมีอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยพบว่า การทานวิตามินดีเพียงหนึ่งโดส สามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้ประมาณ 57%

หากคุณลองสำรวจตัวเองแล้วพบว่ามีอาการข้างต้นมากกว่าครึ่ง คุณไม่ควรนิ่งนอนใจ และรีบไปพบแพทย์ค่ะ เพราะหากปล่อยไว้ล่ะก็ อาการก็จะยิ่งแย่ลง และทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา



1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป