เราควรตรวจร่างกายประจําปีไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 25 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เราควรตรวจร่างกายประจําปีไหม?

กี่ครั้งแล้วครับ ที่คุณกล่าวลาเจ้าหน้าที่หลังเสร็จสิ้นการตรวจสุขภาพ ประจําปีว่า “แล้วพบกันใหม่ปีหน้าครับ” สําหรับคนส่วนมาก (แม้จะสุขภาพ ดี) การตรวจสุขภาพก็เป็นสิ่งที่ต้องทําประจําสม่ำเสมอ

ผลการสํารวจก็สนับสนุนแนวคิดนี้ครับ ผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าตนเอง ควรตรวจร่างกายประจําปี และหมอส่วนมากก็คิดว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป ทีรถยนต์เรายังเอาไปตรวจเช็คเป็นระยะ ร่างกายเราก็สมควรทําเช่นเดียวกัน เมื่อเราไปพบหมอ เราก็อยากให้หมอตรวจเช็คเราตั้งแต่หัว จรดเท้าทั้งภายในภายนอก เราอยากได้รับการตรวจเช็คที่ทํากันเป็นแบบแผน วัดความดัน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือดและองค์ประกอบ หาระดับ น้ำตาลในเลือด และแม้จะไม่ชอบ แต่ผู้หญิงทุกคนก็คิดจะตรวจภายใน เพื่อเช็คมะเร็งปากมดลูก เช่นเดียวกับผู้ชายที่ยอมให้หมอตรวจคลําต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก มันเป็นความมั่นใจที่ได้ “สอบผ่าน” การตรวจ สุขภาพ และพร้อมจะดําเนินชีวิตด้วยความสบายใจได้อีกหนึ่งปี

แต่แย่หน่อยที่มีหลักฐานสนับสนุนน้อยมากว่าคุณจําเป็นต้องตรวจแบบที่ว่ามานี้ทุกปี การตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปีนั้น เปลี่ยนเป็นแนะนํา ให้ตรวจทุก 3 ปี กําลังดีสําหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ วัดความดัน ทําทุก 2 ปี ยังได้ ตรวจคลําต่อมลูกหมาก ชักจะไม่แน่ใจแล้วด้วยซ้ำว่ามีประโยชน์จริงหรือเปล่า ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจล่ะ? ไม่มีประโยชน์หากไม่มีอาการทางหัวใจ หรือมีปัจจัยเสี่ยง ตรวจวัดระดับน้ำตาล ทางสมาคมโรคเบาหวานอเมริกันแนะนําให้ตรวจวัดทุก 3 ปี ยกเว้นกรณีที่คุณมีความดันโลหิตสูงหรืออ้วน จึงควรตรวจให้ถี่กว่านั้น แล้วการตรวจร่างกายอื่นๆ ล่ะ ควรให้หมอตรวจ ฟังปอดและหัวใจคุณปีละครั้งไหม ? คําตอบคือ ไม่จําเป็นครับ ไม่มีหลักฐาน สนับสนุนการตรวจร่างกาย ยกเว้นแต่คุณมีอาการผิดปกติอะไรที่รบกวน จิตใจ หมอและทีมสุขภาพไม่น้อยคิดว่า การเปลี่ยนไปตรวจอย่างเฉพาะ เจาะจงตามประวัติส่วนตัวและประวัติครอบครัวของแต่ละราย น่าจะดีกว่าการตรวจแบบเหมารวม

แม้ว่ามาตรการป้องกันหลายอย่างมีหลักฐานว่ามีประโยชน์ และเป็นไปตามคําแนะนําของหน่วยงานปฏิบัติการป้องกันแห่งสหรัฐ (USPTF) ทว่าการตรวจคัดกรองเหล่านี้ก็มีประโยชน์แต่เฉพาะในกลุ่มประชากรผู้มี ความเสี่ยงสูงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ผมจัดการตรวจคัดกรองหาโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี ในคนไข้หนุ่มสาวและวัยผู้ใหญ่ที่ยังมีกิจกรรมทางเพศ ทุกครั้งที่พวกเขามาตรวจร่างกาย เพราะถือว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ แต่ผมจะไม่ตรวจคนไข้สูงอายุที่อยู่กินกันมานาน ยกเว้นแต่เมื่อมีอาการเท่านั้น อีกอย่างหนึ่งคือ ผมจะถามคนไข้ทุกรายเรื่อง การสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ ถ้าสูบอยู่ อยากให้ช่วยเลิกสูบหรือไม่ ผมคิดว่านี่เป็นการตรวจคัดกรองที่น่าจะเป็นประโยชน์ครับ

งานวิจัยพบว่า คนที่ตรวจร่างกายเป็นประจํามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด โรคต่ำกว่าประชากรทั่วไป (แต่ทั้งนี้ก็ต้องถูกตรวจคัดกรองหาโรคสารพัด ซึ่งพบว่า ผลของการทดสอบเหล่านั้น มีประโยชน์น้อยมากหรือไม่มีเลย ในแง่การค้นพบโรค การกําจัดโรค และการป้องกัน) จริงอยู่ มีบางครั้งในชีวิตคนเรา ที่การไปตรวจเช็คประจําแบบนี้มีคุณค่าเช่น การไปพบหมอสม่ําเสมอตั้งแต่ยังเด็กจนย่างเข้าวัยรุ่น ตลอดช่วงที่พัฒนาทั้งทางร่างกาย และอารมณ์จิตใจ การตรวจพบหมอตลอดการตั้งครรภ์ ตรวจเมื่ออายุสูงวัย เป็นระยะ เพื่อคัดกรองมะเร็ง คอเลสเตอรอล และวัดความดันโลหิต แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่ว่าการตรวจร่างกายเป็นประจํา ทําให้พบความ ผิดปกติและภาวะต่าง ๆ หลายอย่างได้ ในคนที่ดูออกจะสุขภาพดีอีกทั้ง ไม่มีปัจจัยเสี่ยง เป็นการตรวจพบเนิ่น ๆ ก่อนจะแสดงอาการ ซึ่งการพบเร็วนี้น่าจะทําให้ผลการรักษาที่ดีกว่า กลับไม่เป็นจริงไปเสียทั้งหมด เนื่องจากส่วนใหญ่ของผลการตรวจที่ออกมาผิดปกติในผู้ที่ไม่มีอาการอะไร มักเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “ผลบวกลวง” ซึ่งทําให้ต้องมีการตรวจเพิ่มเติมต่อไป อีกหลายอย่างแล้วสุดท้ายก็ไม่พบอะไร ตลอดจนไม่ได้ทําให้สุขภาพดีขึ้น แต่อย่างใด

นอกเหนือไปจากการตรวจที่ไม่จําเป็นแล้ว ยังมีสิ่งที่เราไม่อาจมองข้ามทั้งบริษัทประกันและพวกหมอต่างตั้งคําถามว่า การตรวจที่ทั้งยืดเยื้อ และไม่มีประโยชน์ในแง่ปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้นนั้น คุ้มค่ากับเวลาและเงินที่เสียไปหรือไม่ ที่สุดแล้ว ค่าใช้จ่ายนี้ก็จะย้อนกลับไปยังผู้ประกันและบริษัท นายจ้างในรูปเบี้ยประกันที่สูงขึ้น แม้เราจะไม่ได้ควักจากกระเป๋าออกมาจ่ายตามรอบตรวจ แต่ที่คุณจ่ายก็คือค่าประกันสุขภาพที่หักจากรายได้และอีกอย่างที่สําคัญก็คือ ในเวลาที่คุณป่วยและต้องอดทนนั่งรอตรวจนั้น คุณอาจไม่ค่อยพอใจก็ได้หากรู้ว่า ที่ต้องคอยเพราะหมอกําลังตรวจสุขภาพ ให้ใครสักคนที่แข็งแรงดีและไม่จําเป็นต้องมาพบหมอด้วยซ้ำ

ดังนั้น ในเมื่อผลการวิจัยไม่ได้สนับสนุนการตรวจร่างกายเป็นประจํา ที่ทํา ๆ กันอยู่ เป็นไปได้หรือไม่ว่า คุณยังได้อะไรดีๆ อยู่บ้างเหมือนกัน จากการได้ไปพบหมอปีละหนในขณะที่คุณก็สบายดี ผมคิดว่าการพบหมอ นั้นมีคุณค่าครับ หากคุณได้ใช้เวลาส่วนใหญ่นั้น นั่งคุยกับหมอโดยยัง สวมเสื้อผ้าครบถ้วน ที่ควรทําแน่คือวัดความดันโลหิต (แม้ว่าคุณไม่จําเป็นต้องไปวัดที่สํานักงานแพทย์สักหน่อย มีบ่อยมากที่คนเราจะความดันขึ้น เวลาไปพบหมอ อย่างที่มีคําเรียกว่า “ปรากฏการณ์กลัวเสื้อกาวน์” (white Coat phenomenon) เพราะเครียดเมื่อไปอยู่ในสถานพยาบาล) ได้ตรวจหาระดับคอเลสเตอรอล และตรวจสอบว่าคุณได้รับวัคซีนครบตามกําหนด เรียบร้อยดี แต่ควรตั้งใจใช้เวลาพูดคุยกับหมอของคุณ เพราะนี้เป็นช่วง เวลาที่หมอจะได้เข้าใจวิถีชีวิตของคุณ ประวัติครอบครัวของคุณ ตลอดจน ช่วยคุณหาว่าพฤติกรรมใดที่จะทําให้คุณเจ็บป่วย การไปพบหมอเมื่อสบายดี เป็นระยะน่าจะเป็นหนทางสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความคุ้นเคยกันระหว่าง หมอกับคุณซึ่งจะมีประโยชน์มากเมื่อถึงคราวที่คุณป่วยไข้

ในการเตรียมตัวไปพบหมอ ให้จดคําถามที่คุณอยากถาม เตรียมรายละเอียดของประวัติครอบครัวให้พร้อม เพื่อค้นหาว่ามีโรคอะไรที่คุณ เสี่ยงบ้าง พิจารณาการใช้ชีวิตของคุณ คุณได้ออกกําลังมากน้อยแค่ไหน ดื่มเท่าไร นอนกี่ชั่วโมง ? อาหารที่กินเป็นอย่างไร ? คุยเปิดใจกับหมอว่า ปัญหาสุขภาพเรื่องใดที่คุณเป็นห่วงที่สุด และเป้าหมายสุขภาพของคุณ แล้วรอฟังคําแนะนํา นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณรู้สึกได้ว่าคุณกับหมอเข้าใจ กันดี ซึ่งสําคัญมากจริงๆ เมื่อคุณล้มป่วย หนทางไปสู่สุขภาพดีนั้น เริ่มต้นจากการมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ใช่จากตรงที่ถูกตรวจสารพัดอย่าง รวมทั้งแบบที่ต้องตรวจภายในให้เจ็บตัวโดยที่ไม่มีความจําเป็น มาตั้งใจฟัง คําแนะนําของหมอเรื่องออกกําลังให้มากขึ้น กินอาหารที่มีคุณค่า เลิกบุหรี่ และควบคุมความเครียดกันดีกว่า

หาก 90% ของการไปพบหมอของคุณถูกใช้ไปในห้องตรวจร่างกาย โดยที่คุณสวมเสื้อคลุมละก็ อย่าหลอกตัวเองเลยครับว่าที่ทําอยู่นั้นจะช่วย ให้สุขภาพคุณดีขึ้นไม่มีทางครับ 

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

คนไข้กับหมอทั่วไปส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า การตรวจร่างกายประจําปีมีประโยชน์ อยู่เหมือนกัน เมื่อดูตามหลักฐานแล้วนบว่า สําหรับผู้ที่สุขภานปกติ สิ่งที่ดีที่สุดที่จะได้ จากการไปตรวจ ไม่ใช่การพบโรคแต่เนิ่นๆ หากแต่คือ โอกาสที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างคนไข้กับหมอให้ดีขึ้น สอบถามหมอด้วยว่า การตรวจคัดกรองไหนบ้างที่เหมาะสม กับคุณ และทําไมถึงเหมาะ ถ้าคุณใช้เวลาส่วนใหญ่ของการตรวจร่างกายไปกับการพูดคุย ปรึกษาหมอก็ถือว่าได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าครับ  

มีการตรวจคัดกรองอะไรบ้างที่ควรทํา

  • ลองตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลเหล่านี้ คุณจะได้ทราบว่า ในอายุและ ปัจจัยเสี่ยงอย่างคุณ แนะนําให้ตรวจอะไรบ้าง
  • การตรวจเพื่อป้องกัน ตามคําแนะนําของหน่วยงานปฏิบัติ
  • การป้องกันแห่งสหรัฐอเมริกา (USPTF)องค์กรเพื่อการวิจัย
  • คุณภาพการบริการสุขภาพ     

18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diabetic Foot Exam Lab Test Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/diabetic-foot-exam/)
Annual Physical Exams: What to Expect. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/annual-physical-examinations)
A checkup for the checkup: Do you really need a yearly physical?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/a-checkup-for-the-checkup-do-you-really-need-a-yearly-physical-201510238473)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)