กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์

ระหว่างการตั้งครรภ์สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามแพทย์อาจแนะนำให้คุณงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ได้ถ้าคุณตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการคลอดลูกแล้ว ควรเว้นระยะเวลา 6   สัปดาห์แรกหลังการคลอด เพื่อให้แผลต่างๆ หายดี และมีความพร้อมทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง

หญิงตั้งครรภ์และฝ่ายชาย มักจะสงสัยว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่? จะทำให้เกิดการแท้งบุตรหรือไม่? จะทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่? มีท่าทางระหว่างมีเพศสัมพันธ์อะไรบ้างที่ต้องหลีกเลี่ยง? ซึ่งคุณสามารถหาคำตอบของคำถามต่างๆ ได้ที่นี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่?

เพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมชาติตามปกติที่สามารถมีระหว่างตั้งครรภ์ ถ้าการตั้งครรภ์ของคุณนั้นปกติดี การมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่อวัยวะเพศจะไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพราะทารกจะได้รับการปกป้องจากช่องท้องคุณและกล้ามเนื้อมดลูกของคุณเอง นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณยังถูกรองรับด้วยน้ำคร่ำที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำอีกด้วย

การหดตัวระหว่างการถึงจุดสุดยอดไม่เหมือนการหดตัวระหว่างการคลอดลูก อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัย แพทย์บางรายอาจแนะนำให้งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะเชื่อว่าฮอร์โมนในน้ำอสุจิที่ชื่อว่า พรอสตาแกรนดิน (prostaglandins) สามารถกระตุ้นการหดตัวได้ ยกเว้นผู้หญิงที่อายุครรภ์เลยกำหนดคลอดแล้ว และต้องการที่จะกระตุ้นให้เกิดการคลอด แพทย์บางรายเชื่อว่าพรอสตาแกรนดิน ที่อยู่ในน้ำอสุจิจะกระตุ้นให้เกิดการคลอดในครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดหรือเลยกำหนดคลอด เนื่องจากเจลที่ทำให้ปากมดลูกพร้อมและเหนี่ยวนำในเกิดการคลอดประกอบด้วยสารพรอสตาแกรนดิน แต่แพทย์บางรายก็เชื่อว่าน้ำอสุจิกับการคลอดนี้เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น และการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการคลอด

สำหรับการหดตัวเมื่อถึงจุดสุดยอดนั้นไม่เหมือนกับการหดตัวเพื่อการคลอด ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกังวล

เมื่อไรที่ไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์

แพทย์ของคุณอาจแนะนำไม่ให้คุณมีเพศสัมพันธ์ถ้าคุณมีการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ดังนี้:

  • คุณมีความเสี่ยงต่อการแท้ง หรือเคยมีประวัติแท้งบุตรก่อนหน้านี้
  • คุณมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด (มีการหดตัวก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์)
  • คุณมีเลือดออกทางช่องคลอด, มีตกขาว หรือมีการหดเกร็งผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือมีน้ำคร่ำรั่วออกมา
  • ปากมดลูกเปิดเร็วเกินไปขณะตั้งครรภ์
  • รกเกาะต่ำ
  • การตั้งครรภ์เป็นลูกแฝดขึ้นไป

โปรดจำไว้ว่า ถ้าแพทย์พูดว่า “ไม่ให้มีเพศสัมพันธ์” นั่นอาจหมายถึงอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการสำเร็จความใคร่ หรือการกระตุ้นทางเพศใดๆ ไม่เพียงแต่การสอดใส่ทางช่องคลอดเท่านั้น

เพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์

ประสบการณ์ของผู้หญิงทุกคนระหว่างตั้งครรภ์จะแตกต่างกันไป รวมทั้งความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องเพศด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บางรายไม่มีอารมณ์อยากมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ในขณะที่บางคนอาจมีอารมณ์อยากมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นขณะตั้งครรภ์ก็ได้

ระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติสำหรับความต้องการทางเพศที่จะมีขึ้นและหายไปขณะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง คุณอาจรู้สึกว่าตนเองใส่ใจในขณะที่ท้องของคุณกำลังโตขึ้น หรือคุณอาจรู้สึกเซ็กซี่มากกว่าปกติกับขนาดหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น

ให้บอกคู่ของคุณว่าคุณกำลังรู้สึกอย่างไรและควรทำอย่างไร คุณอาจจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ในท่าทางใดท่าทางหนึ่งที่คุณรู้สึกสบายและกระตุ้นอารมณ์ของคุณทั้งคู่ โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์

หลีกเลี่ยงการนอนราบขณะมีเพศสัมพันธ์หลังจากเดือนที่ 4 ไปแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักของทารกในครรภ์ไปกดหลอดเลือดขนาดใหญ่

อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกสบายมากขึ้นขณะมีเพศสัมพันธ์คือพยายามนอนข้างๆ กัน หรืออาจลองปรับตำแหน่งของคุณให้นั่งตรงขึ้น หรือขึ้นไปนั่งด้านบนขณะมีเพศสัมพันธ์

และแน่นอนว่า หากคุณไม่มั่นใจเกี่ยวกับประวัติทางเพศของคู่ของคุณ แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยเสมอ การตั้งครรภ์ไม่ได้ช่วยป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี, เริม, หูดหงอนไก่, หรือหนองในเทียม และการติดเชื้อเหล่านี้สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพศสัมพันธ์ภายหลังการคลอดลูกแล้ว

ช่วงเวลา 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด เรียกว่าระยะหลังคลอด (postpartum period) เพศสัมพันธ์ในช่วงนี้อาจเป็นสิ่งสุดท้ายในใจคุณ เหตุผลที่คุณอาจต้องการมีเพศสัมพันธ์ลดลง ได้แก่:

  • เป็นช่วงเวลาของการหายของแผลขณะคลอดทางช่องคลอด
  • เป็นช่วงเวลาของการหายของแผลขณะผ่าตัดคลอด
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด (postpartum bleeding) มักพบในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด
  • ความอ่อนเพลียภายหลังการตั้งครรภ์และระหว่างกระบวนการคลอด
  • ความต้องการของทารกของคุณ (เพิ่มขึ้นถ้าเป็นลูกแฝด หรือแฝดสาม)
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • เจ็บหน้าอกจากการให้นมลูก
  • ปัญหาทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum blues) ความกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก, หรือปัญหาความสัมพันธ์กับฝ่ายพ่อ

โดยทั่วไปการมีเพศสัมพันธ์จะปลอดภัยภายหลังจากที่แผลต่างๆ หายดีแล้ว และคุณรู้สึกว่าเนื้อเยื่อในช่องคลอดหายดีกลับมาเป็นปกติแล้ว โดยทั่วไปกระบวนการหายเป็นปกติเหล่านี้จะใช้เวลาหลายสัปดาห์ คุณสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ได้ แพทย์ส่วนใหญ่จะบอกว่าให้รออย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังการคลอดก่อนมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง และสิ่งที่สำคัญพอๆ กันก็คือ อารมณ์ความรู้สึกของคุณต้องพร้อม ร่างกายผ่อนคลายและรู้สึกสบายดี

สำหรับทั้งคุณและคู่ของคุณ จะต้องมีความอดทน เพราะความจริงแล้วคุณอาจมีความเครียดจากการเป็นพ่อแม่ในช่วงต้นๆ ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นปีกว่าที่คุณจะกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้อย่างมีความสุขเหมือนแต่ก่อน

https://www.webmd.com/baby/guide/sex-and-pregnancy#1


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sex in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/sex-in-pregnancy/)
Sex during pregnancy: Safety, effects, and information. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321648)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม