หน้าแพ้ง่ายกับอาการและวิธีการทำให้หน้าแข็งแรงมากขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หน้าแพ้ง่ายกับอาการและวิธีการทำให้หน้าแข็งแรงมากขึ้น

“หน้าแพ้ง่าย” ปัญหาผิวที่เกิดจากสภาพผิวอันไวต่อสิ่งเร้าภายนอก จนทำให้มีอาการระคายเคืองและเป็นตุ่มนูนแดงหรือคัน โดยเฉพาะสาเหตุที่มาจากสารเคมีหรือสภาพอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ที่ทำให้หน้าแพ้ง่าย แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการทำให้หน้าแข็งแรงมากขึ้นนั่นเอง

หน้าแพ้ง่ายมีอาการอย่างไร

สาวๆ หลายคนทาครีมบำรุงผิวหน้าแล้วมีอาการแพ้ ก็มักจะเข้าใจว่าตัวเองมีสภาพผิวที่เรียกว่า “ผิวแพ้ง่าย” ทั้งที่จริงแล้วอาจจะเป็นแค่เพียงอาการแพ้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งที่อยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น หรือการใช้ในปริมาณที่มากเกินไป โดยเราสามารถสังเกตอาการของหน้าแพ้ง่ายได้ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • รู้สึกคันจากอาการผิวแห้ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย เมื่อผิวหน้าปราศจากเกราะป้องกันที่แข็งแรงมากพอ จึงก่อให้เกิดอาการระคายเคืองง่าย อันเนื่องมาจากสภาพผิวแห้งกร้านและมีความชุ่มชื้นไม่เพียงพอ
  • ผิวแดงทันทีเมื่อสัมผัสสิ่งกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นแค่เพียงลมแรงหรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าก็ตาม จะก่อให้เกิดอาการหน้าแพ้ง่ายที่เรียกว่า “ผิวหนังอักเสบชนิดโรซาเรีย” หรือภาวะเส้นเลือดฝอยที่ใบหน้าแตก และมักจะมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นที่บริเวณแก้ม จมูก และคาง
  • ผิวพุพองและแสบ เมื่อผู้ที่มีผิวหน้าแพ้ง่ายนั้นมีลักษณะผิวที่บอบบางกว่าคนทั่วไป จะส่งผลให้ผิวพรรณไวต่อสารเคมีและเกิดอาการระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์ได้ง่าย โดยในบางรายจะมีอาการผิวพุพองและรู้สึกแสบมากกว่าอาการอื่นๆ ทั่วไป
  • ผิวลอกจากการขาดความชุ่มชื้น เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำในผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทสารเร่งผลัดเซลล์ผิวเป็นระยะเวลานานๆ อย่างเช่นสารเรตินอยด์หรือกรดไกลโคลิก เป็นต้น

 วิธีการทำให้หน้าแข็งแรงมากขึ้น

  1. ทามอยซเจอร์ไรเซอร์เติมความชุ่มชื้น
  2. หยุดการรบกวนผิวหน้า
  3. ดูแลผิวด้วย 3 ขั้นตอน
  4. รับประทานผักผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน
  5. รับประทานอาหารเสริมบำรุงผิว

อาการหลักๆ ของผู้ที่มีผิวหน้าแพ้ง่ายก็คือ ผิวแห้งขาดความชุ่มชื้นจนก่อให้เกิดอาการระคายเคือง เมื่อเราทาครีมอะไรก็รู้สึกแสบผิวไปหมด ผิวหน้าแดงจัดแล้วหมองคล้ำง่ายเมื่อถูกแดด เนื่องจากผิวชั้นนอกบางลงจึงทำให้ความชุ่มชื้นลดน้อยลงไปด้วย

ดังนั้นเราจึงควรเติมความชุ่มชื้นกลับคืนสู่ผิว ด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีมอยซเจอร์ไรเซอร์เข้มข้น และควรเป็นครีมที่ได้จากธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่ดีและน่าพึงพอใจกว่าสารเคมีอย่างแน่นอน หรือครีมที่ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีความอ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางแพ้ง่าย

ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีเม็ดสครับ ขัดผิว ลอกผิว พอกผิว กรอผิว รวมถึงการทำเลเซอร์ผิวหน้า เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ผิวหน้าแพ้ง่ายมีอาการระคายเคืองมากขึ้น แต่ถ้ากำลังรักษาสิวก็อาจจะต้องยอมทายารักษาสิวบางชนิดที่ทำให้ผิวหน้าบางไปก่อน เมื่อรักษาสิวจนหายดีแล้วค่อยฟื้นฟูผิวให้แข็งแรงในภายหลังก็ยังไม่สายเกินไป

เพียงแค่ใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ครีมบำรุงประเภทมอยซเจอร์ไรเซอร์ และครีมกันแดดที่เป็นสูตรอ่อนโยน แล้วไม่ต้องใช้ครีมหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ สักระยะหนึ่งอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผิวหน้าแข็งแรงขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

อย่างที่ทราบกันดีว่าผักผลไม้นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญสำหรับผิวพรรณอย่างมากมาย และยังช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้นมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่ชื่อว่า “เบต้าแคโรทีน” จะช่วยทำให้ผิวสวยและแข็งแรงอย่างสังเกตเห็นได้ชัด

บางครั้งการรับประทานอาหารอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท “อีฟนิ่งพริมโรส” หรือ EPO น่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีของการบำบัดอาการผิวหน้าแพ้ง่ายให้กลับมาแข็งแรง และยังเป็นการเติมความชุ่มชื้นพร้อมกับลดการอักเสบได้ดีอีกด้วย

 เมื่อเราทราบถึงลักษณะอาการของหน้าแพ้ง่ายและวิธีที่จะช่วยให้ผิวหน้าแข็งแรงมากขึ้น ด้วยการปฏิบัติดูแลตัวเองได้แบบง่ายๆ ตามนี้แล้ว ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่ใช่อุปสรรคของการมีผิวสวยอีกต่อไปค่ะ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, sensitive-face-with-symptoms (https://www.nhs.uk/conditions/rosacea/)
Beth Sissons, sensitive-face-with-symptoms (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326444.php), September 25, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป