กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

อาการแพ้ตามฤดูกาล

เรียนรู้เคล็ดลับการจัดการตนเอง เมื่ออาการภูมิแพ้กำเริบในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการแพ้ตามฤดูกาล

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ก็คือ อากาศรอบตัวคุณ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อาการภูมิแพ้มักจะกำเริบในช่วงที่อากาศกำลังปรับเปลี่ยนอุณหภูมิตามฤดูกาล
  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง มักจะมีอาการทางจมูกและระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก จามและไอเรื้อรัง มีน้ำมูกมาก
  • คุณสามารถบรรเทาอาการภูมิแพ้ด้วยการรับประทานยาได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณเองไม่ให้เอื้อต่อการเกิดสารก่อภูมิแพ้ด้วย เช่น ทำความสะอาดพัดลม เครื่องปรับอากาศ ทำความสะอาดบ้าน เปลี่ยนเครื่องนอน สวมเสื้อผ้าที่อบอุ่นและสะอาด
  • การตรวจภูมิแพ้อากาศ เพื่อให้รู้ว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ใดในอากาศบ้าง จะเป็นตัวช่วยในการป้องกันอาการโรคภูมิแพ้ให้กับตัวคุณเองได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

เมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิมีการปรับสูงต่ำตามฤดูกาล จึงเป็นสาเหตุให้ร่างกายของหลายๆ คนมีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเกิดอาการแพ้ขึ้นด้วย

สำหรับสาเหตุที่อาการภูมิแพ้มักจะกำเริบในช่วงที่ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงนั้น นั่นก็เพราะสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้น มาจากอากาศที่อยู่รอบตัวเราเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งระดับความชื้น ความแห้งของอากาศ ความหนาแน่นของฝุ่น ความอบอุ่นของร่างกายที่ไม่เหมือนเดิม อาการภูมิแพ้จึงเกิดขึ้นได้

อาการของโรคภูมิแพ้เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง

อาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง มักจะใกล้เคียงกับโรคภูมิแพ้อากาศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอากาศรอบตัวผู้ป่วยโดยตรง เช่น

วิธีรักษาอาการภูมิแพ้เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง

1. รักษาโดยใช้ยา

ยาสำหรับรักษาโรคภูมิแพ้จะแบ่งออกได้หลักๆ 2 ประเภท คือ ประเภทรับประทาน และประเภทพ่นจมูก 

สำหรับตัวยาสำหรับรับประทานส่วนมากจะเป็นยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ซึ่งเป็นยาที่จะไปยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่คอยกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่างๆ

ตัวยาต้านฮิสตามีนนั้นจะแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ยาต้านฮิสตามีนรุ่นแรก หรือกลุ่มดั้งเดิม (First generation antihistamine) เป็นกลุ่มยาแก้อาการภูมิแพ้รุ่นแรกที่ยังมีฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม อ่อนเพลีย และมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่ต้องขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือสารเคมีไม่ควรับประทานยากลุ่มนี้ เช่น
  • ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 (Second generation antihistamine) เป็นยาแก้อาการภูมิแพ้ที่พัฒนามาจากยาต้านฮิสตามีนรุ่นแรกไม่ให้รบกวนระบบประสาทส่วนกลางจนทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) เซทิรีซีน (Cetirizine) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)

นอกจากยาต้านฮิสตามีน และยาพ่นจมูกแล้ว การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy) ยังเป็นอีกวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ให้ดีขึ้นได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รวมถึงวิธีการผ่าตัด แต่วิธีการรักษานี้จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นจากการรักษาด้วยวิธีอื่นเท่านั้น หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) โรคผนังกั้นโพรงจมูกคด (Deviated nasal septum)

2. รักษาโดยการดูแลตนเอง

ถึงแม้จะรับประทานยาดีแค่ไหน แต่หากสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวคุณยังเอื้อต่อการเกิดสารก่อภูมิแพ้ โอกาสที่อาการภูมิแพ้ของคุณจะดีขึ้นก็ยังน้อยอยู่ดี

คุณสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งนอกจากการรักษาแล้ว คุณยังสามารถใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ทุกช่วงฤดูกาลด้วย

  • คอยฟังการพยากรณ์อากาศ หรืออุณภูมิที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน เพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัวรับมือกับอาการภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
  • ปิดประตู หน้าต่าง ช่องลมในบ้านในวันที่มีลมพัดแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองด้านนอกพัดเข้ามาในบ้าน วิธีนี้สำคัญอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสร หรือฝุ่น
  • หาพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศเพื่อให้อุณหภูมิห้องเย็นสบายในวันที่อากาศร้อนจั เพราะในช่วงฤดูร้อน จะเป็นช่วงที่มลภาวะเป็นพิษค่อนข้างสูง และอาจทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศรวมถึงภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจอาการทรุดลงกว่าเดิม 
  • ดูแลสภาพแวดล้อม และที่อยู่อาศัยของคุณให้ห่างไกลจากสารก่อภูมิแพ้ เพราะการอยู่ในที่ร่มมักจะทำให้อาการภูมิแพ้ของคุณแย่กว่าเดิมเสมอ ดังนั้นเพื่อให้สะดวกต่อการหลบอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปด้านนอก คุณสามารถปฏิบัติตามได้ดังต่อไปนี้
    • ใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้ไม้กวาดเพื่อไม่ให้ฝุ่นคลุ้ง
    • เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน พรมเช็ดเท้า รวมถึงทำความสะอาดผ้าม่านเพื่อไม่ให้เป็นที่รวมตัวของฝุ่นและเชื้อโรค และหากนอกบ้านมีแดด ให้คุณนำผ้าที่ซักไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อด้วย
    • หาเครื่องกรองอากาศมาใช้หากจำเป็น เพื่อให้ร่างกายของคุณรับแต่อากาศที่สะอาด
    • กำจัดแมลงภายในบ้านเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกกัดต่อย หรือทิ้งมูลไว้ในบ้านของคุณจนกลายเป็นสารก่อภูมิแพ้
    • ทำความสะอาดร่างกายสัตว์เลี้ยงหากคุณเลี้ยงไว้ในบ้าน เพื่อไม่ให้ขนและเชื้อโรคบนตัวสัตว์เลี้ยงกลายเป็นสารก่อภูมิแพ้ต่อคุณ
    • ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ใบพัดลม แผ่นกรองเครื่องปรับอากาศ ไม่ให้เป็นแหล่งรวมของฝุ่นละออง
    • กำจัดเชื้อราตามที่ชื้นภายในบ้าน เช่น ใต้อ่างล้างจาน รอบเครื่องปรับอากาศ ใต้พรม เพราะหากสปอร์ของเชื้อราเข้าสู่จมูกคุณแล้ว คุณอาจเกิดอาการภูมิแพ้ หรืออาการหอบหืดได้
  • ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ และควรใส่เสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี พยายามหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์เพราะอาจมีไรฝุ่นติดอยู่จนเกิดอาการภูมิแพ้
  • รับประทานอาหารอย่างเหมาะสมกับฤดูกาล และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ รวมถึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานที่เพียงพอ เพราะผู้ป่วยโรคภูมิแพ้บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหารในบางฤดูกาล
  • ลดน้ำหนัก เนื่องจากหากคุณมีน้ำหนักตัวกับไขมันรอบท้องมากเกินไป จะทำให้ปอดขยายได้ไม่สุด และทำให้กระบังลมเคลื่อนลงต่ำไม่ได้เท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ลึกเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ยิ่งหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว คุณยิ่งต้องมีเวลาให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้เกิดความอ่อนเพลีย เพราะร่างกายที่อ่อนเพลีย ถือว่ามีความเสี่ยงจะเกิดโรคภูมิแพ้ได้มากกว่าคนปกติ
  • สระผมและทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะละอองฝุ่น หรือละอองเกสรดอกไม้อาจติดอยู่ที่ผม โดยเฉพาะหากวันนั้นคุณใส่เจลตกแต่งทรงผม แล้วไม่ได้สระผมให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน ฝุ่นละอองที่ติดอยู่ตามตัวจะทำให้มีอาการไอ และคัดจมูกได้ตลอดคืน
  • ลองดื่มชา เช่น ชาเปปเปอร์มินท์ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบได้ หรือชาคาโมไมล์ ที่มีสรรพคุณช่วยแก้แพ้ตามธรรมชาติได้ 

นอกจากนี้ คุณอาจซื้อวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี แร่ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium) แร่ธาตุซีลีเนียม (Selenium) เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงด้วย

ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปทุกปีเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ดังนั้นการปรับตัว และเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้อาการของโรคภูมิแพ้ไม่รบกวนชีวิตประจำวันของคุณ

นอกจากนี้ หากคุณปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น ไม่เพียงแต่อาการภูมิแพ้ที่จะทุเลาลงเท่านั้น แต่ความสะอาด และสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณยังจะดีขึ้นกว่าเดิมด้วย

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจภูมิแพ้ ด้วยการเจาะเลือด เป็นยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/allergy-blood-test).
Judith Marcin, MD, Allergic Rhinitis (https://www.healthline.com/health/allergic-rhinitis), 12 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
"อาการแพ้รุนแรง" หนึ่งในประเภทของอาการแพ้ในโรคภูมิแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
"อาการแพ้รุนแรง" หนึ่งในประเภทของอาการแพ้ในโรคภูมิแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ทำความรู้จักอาการแพ้รุนแรง เมื่อโรคภูมิแพ้ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
อาการแพ้ไข่ หนึ่งในโรคภูมิแพ้อาหารที่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก
อาการแพ้ไข่ หนึ่งในโรคภูมิแพ้อาหารที่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก

ไม่ใช่แค่อาหารทะเลที่คนมักจะแพ้กัน แต่ "ไข่" ก็เป็นอาหารอีกประเภทที่มีคนแพ้ด้วย แพ้ไข่เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน บทความนี้มีคำตอบ

อ่านเพิ่ม