กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคจิตเภท กับการสังเกตอาการและการวินิจฉัย

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคจิตเภท กับการสังเกตอาการและการวินิจฉัย

โรคจิตเภท คือ กลุ่มอาการของโรคจิตที่มีความผิดปกติของความคิด โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่าความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นจากการมีปัจจัยเสี่ยงด้านลักษณะทางพันธุกรรม ความผิดปกติของสมองจากสารเคมีในสมอง โครงสร้างสมอง หรือการได้รับความเสียหายของสมอง รวมไปถึงปัจจัยด้านการเลี้ยงดู บุคลิกภาพ และแรงกดดันจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว

สังเกตอาการโรคจิตเภทได้อย่างไร?

อาการของโรคจิตเภทแบ่งได้อย่างละเอียดเป็น 3 ระยะ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ระยะเริ่มมีอาการ  

มักมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และ อาจมีอาการนานเป็นเดือนหรือเป็นปี โดยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือด้านสัมพันธภาพ มักเก็บตัวมากขึ้น หมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่าง มีความคิด คำพูดแปลกๆ  ไม่สนใจดูแลความสะอาดของเสื้อผ้า ร่างกาย 

2. ระยะอาการกำเริบ

ส่วนใหญ่อาการมักกำเริบเมื่อผู้ป่วยเผชิญกับความกดดันทางจิตใจ ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด แต่ในบางรายอาการสามารถกำเริบได้เอง ในระยะนี้จะเห็นความผิดปกติของอาการได้ชัดเจน ได้แก่

  • อาการหลงผิด มักหลงผิดว่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวล้วนแต่เกี่ยวโยงกับตนเอง หลงผิดว่าตนเองเป็นเทพ หรือมีอำนาจบางอย่างมาบังคับให้ตนเองต้องทำตามอย่างฝืนไม่ได้ , หวาดระแวงว่าตนเองถูกกลั่นแกล้ง มีคนปองร้าย
  • อาการประสาทหลอน  คือจะรับรู้ทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งกระตุ้นทั้งทางรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส อาการประสาทหลอนที่พบบ่อย คือ เสียงแว่ว มักเป็นเสียงคนพูดกันเป็นเรื่องราวหรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิตัวผู้ป่วย, เห็นภาพหลอนอาจเห็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ เห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง, ประสาทหลอนทางจมูกและปาก เช่น ได้กลิ่นแปลกๆ หรือลิ้นรับรู้รสแปลกๆ, ประสาทหลอนทางผิวหนัง เช่น รู้สึกว่ามีแมลงไต่ตามตัว ยุบยิบๆ
  • อาการด้านความคิด  ผู้ป่วยมักมีความคิดในลักษณะที่มีเหตุผลแปลกๆ ไม่เหมาะสม ตนเองเข้าใจคนเดียว พูดจาไม่ต่อเนื่อง  ตอบไม่ตรงคำถาม  มีการวางคำในตัวประโยคสับสนจนฟังไม่เข้าใจ
  • อาการด้านพฤติกรรม ได้แก่ เก็บตัว ไม่อาบน้ำ  ผมเผ้ารุงรัง กลางคืนไม่นอน ชอบเดินไป-มา  ตะโกนโวยวาย หัวเราะหรือยิ้มกริ่มทั้งวัน แต่งเนื้อแต่งตัวแปลกๆ  หงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว

3. ระยะอาการหลงเหลือ

เมื่อได้รักษาอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนก็จะทุเลาลง หรืออาจเป็นนานๆ ครั้ง พูดจาฟังรู้เรื่องมากขึ้น แต่ยังมีความคิดแปลกๆ และอาจมีอาการด้านลบ เช่น อารมณ์เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น เฉื่อยชา จิตใจเหม่อลอย

ขั้นตอนการวินิจฉัยและรักษาโรคจิตเภท

ต้องอาศัยข้อมูลจากการซักถามประวัติ  เช่น ความเจ็บป่วยทางจิตในญาติๆ ประวัติส่วนตัว  การเลี้ยงดู  ลักษณะอุปนิสัย การปรับตัว  และพิจารณาอาการของผู้ป่วย คือ ต้องมีอาการในระยะอาการกำเริบตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือน  และมีอาการทั้ง 3 ระยะเป็นต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป

หากวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคจิตเภท แพทย์ก็จะให้การรักษาต่อไป ซึ่งโรคจิตเภทนั้นยากที่จะรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยมักต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต 

ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาจึงเป็นการบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ซึ่งอาจมีการใช้หลากหลายวิธีร่วมกันไป ทั้งยาต้านโรคจิต การบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจ การทำจิตบำบัด ครอบครัวบำบัด และการช็อคไฟฟ้า     

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นต่อไปคือการป้องกันอาการกำเริบ โดยดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้อาการกำเริบได้ และรู้วิธีสังเกตอาการก่อนที่จะมีอาการกำเริบขึ้น ร่วมไปกับการฟื้นฟูให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติที่สุดและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น การฝึกทักษะการใช้ชีวิตในสังคม การเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะในการสื่อสาร

คำถามที่ผู้ป่วยและญาติมักกังวลเกี่ยวกับโรคจิตเภท

Q: โรคจิตเภทสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
A: การรักษาโรคจิตเภท ผู้ป่วยต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง ตามแพทย์สั่ง ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายปี โดยยาจะช่วยควบคุมอาการและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กลับเข้าสู่สังคมได้ ดูแลตนเองและทำงานได้  หากขาดยาอาจทำให้โรคกำเริบซ้ำได้ และบางรายไม่ขาดยาก็มีอาการกำเริบซ้ำได้เช่นกัน

Q: จะต้องทานยาไปนานเท่าไร
A: ระยะเวลาในการรักษานั้น ในผู้ที่เป็นครั้งแรกหลังจากรักษาอาการดีขึ้นแล้วควรกินทานยาต่อไปอีกประมาณ 1 ปี หากผู้ป่วยมีอาการกำเริบครั้งที่สองควรทานยาต่อเนื่องไประยะยาว เช่น 5 ปี หากเป็นบ่อยกว่านี้อาจต้องทานยาต่อเนื่องไปตลอด

Q: ทำอย่างไรเมื่อผู้ป่วยไม่ยอมทานยา
A: ผู้ป่วยน้อยรายที่จะยอมรับว่าตนเองป่วย จึงมักจะไม่ทานยาทำให้อาการกำเริบซ้ำบ่อยๆ จนยากที่จะรักษาให้อาการดีขึ้น   ดังนั้นญาติจะต้องเป็นผู้ดูแลเรื่องการจัดยาให้ผู้ป่วยทานอย่างสม่ำเสมอ อาจบอกผู้ป่วยว่าเป็นยาบำรุงต้องทานต่อเนื่องทุกวัน หรือปรึกษาแพทย์ปรับเป็นยาน้ำที่สามารถละลายในน้ำดื่มหรือผสมในอาหารได้

Q: นอกจากเรื่องยา ญาติต้องช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไรบ้าง
A: ญาติต้องช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

  • ยอมรับ เข้าใจ ไม่ซ้ำเติม
  • คอยกระตุ้นให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ซักผ้า
  • ให้ช่วยทำงานบ้านง่ายๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ ถูบ้าน ล้างชาม
  • สนับสนุนให้ประกอบอาชีพเดิมที่เคยทำอยู่ตามความสามารถของผู้ป่วย เช่น ค้าขาย ทำสวน  หรือให้ประกอบอาชีพใหม่ใกล้บ้านตามความถนัด
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบ ญาติต้องพาไปพบแพทย์ หรือพูดคุยกับนักจิตวิทยา
  • พึงระวังพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยจิตเภท ด้วยการสังเกตพฤติกรรมเสี่ยง การจัดเก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นเครื่องมือให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตาย


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป