มีเซ็กส์อย่างไรให้อยู่ห่างไกลโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีเซ็กส์อย่างไรให้อยู่ห่างไกลโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?

คุณคิดว่าการมีเซ็กส์แบบปลอดภัยหรือที่เรียกว่า Safe sex จะทำให้กิจกรรมบนเตียงสนุกน้อยลงหรือไม่? หากคำตอบคือใช่ คุณคิดผิดแล้วค่ะ การมีเซ็กส์แบบปลอดภัยยังคงทำให้คุณรู้สึกมีความสุข แต่คุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ อย่างโรคเริม หรือซิฟิลิสลดลง การมีเซ็กส์แบบปลอดภัยสามารถช่วยให้เรื่องบนเตียงดีขึ้น โดยช่วยเพิ่มการสื่อสาร และความเชื่อใจระหว่างคุณและอีกฝ่าย

วิธีมีเซ็กส์ที่ปลอดภัยที่สุด

วิธีช่วยป้องกันเชื้อ HIV หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือ การไม่ต้องมีเซ็กส์เลย นอกจากนี้การมีเซ็กส์โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเซ็กส์กับแค่คนเดียว และการไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่นก็นับว่าปลอดภัยเช่นกัน ในกรณีที่คนรักของคุณติดเชื้อ HIV หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ กิจกรรมทางเพศที่ปลอดภัยที่สุดประกอบไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การจินตนาการ หรือเซ็กส์โฟน
  • การสัมผัสร่างกายอีกฝ่ายอย่างอิโรติก  โดยอาจช่วยสำเร็จความใคร่ให้อีกฝ่าย หรือช่วยตัวเองทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน
  • ถูไถตามร่างกายของอีกฝ่ายโดยที่ยังสวมเสื้อผ้า
  • จูบ

Safe Sex คืออะไร?

การมีเซ็กส์แบบปลอดภัย คือ การที่เราไม่ให้อีกฝ่ายหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดหรือรูทวาร หรือไม่ให้น้ำที่หลั่งจากช่องคลอดเข้าไปในองคชาตหรือปาก นอกจากนี้มันยังหมายถึงการเลี่ยงไม่ให้อวัยวะเพศสัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อ รวมถึงการระวังถ้าตัวเองมีรอยบาด รอยแผล หรือมีเลือดไหลออกจากเหงือก เพราะมันสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ HIV การมีเซ็กส์แบบป้องกันทุกครั้งก็ถือว่าเป็น Safe sex เช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วย การทำออรัลเซ็กส์โดยใช้ถุงยาง หรือแผ่นยางอนามัย (Dental dam)

ถ้าคุณและคนรักมีผลเลือดเป็น HIV Positive ทั้งคู่?

คุณอาจคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องคำนึงถึง Safe sex ในกรณีที่คุณและคนรักติดเชื้อ HIV แต่การทำเช่นนี้จะช่วยปกป้องคุณจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ  สำหรับเรื่องทั่วไปที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการซื้อ การใช้ถุงยาง และอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ มีดังนี้

  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันชิ้นใหม่ในแต่ละครั้งและทุกครั้งที่มีเซ็กส์
  • ซื้อถุงยางแบบลาเท็กซ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันโรคเท่านั้น ซึ่งคุณสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
  • ใช้สารหล่อลื่นแบบชนิดน้ำกับถุงยางแบบลาเท็กซ์เท่านั้น เพราะการใช้สารหล่อลื่นชนิดน้ำมันหรือปิโตรเลียมเจล สามารถทำให้ถุงยางฉีกขาดได้
  • หากคุณแพ้ลาเท็กซ์ คุณอาจใช้ถุงยางแบบโพลียูรีเทนกับสารหล่อลื่นชนิดน้ำมัน
  • เก็บถุงยางในที่ๆ เย็น แห้ง และไม่โดนแสงแดด อย่าเก็บถุงยางไว้ในกระเป๋าเงินมากกว่า 2-3 ชั่วโมง
  • ไม่ใช้ถุงยางที่ขาด เหนียว เปลี่ยนสี หรือแพคเกจอยู่ในสภาพที่เสียหาย
  • ในระหว่างที่ทำออรัลเซ็กส์ ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันคลุมทั่วทั้งบริเวณอวัยวะเพศ
  • ถ้าคุณและคนรักมีเชื้อ HIV positive ให้คุณสวมถุงมือลาเท็กซ์ที่ใช้สำหรับผ่าตัดเมื่อสำรวจอวัยวะเพศของอีกฝ่าย เพราะบาดแผลเล็กๆ บนมือสามารถทำให้ติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อ

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sex activities and risk. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/sex-activities-and-risk/)
Prevention - STD. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/std/prevention/default.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป