สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับส่าไข้ (Roseola)

ความรู้พื้นฐานทางกุมารเวช
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับส่าไข้ (Roseola)

ส่าไข้ (หรือไข้ผื่นกุหลาบ) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่แล้วจะพบในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 3 ปี พบได้บ่อยแค่ไหนน่ะหรือ ? เป็นที่คาดกันว่ากว่า 25% ของการไปพบแพทย์ฉุกเฉินด้วยเรื่องไข้ในเด็กเล็กมีสาเหตุมาจากส่าไข้

อาการของส่าไข้

เด็กที่เป็นส่าไข้มักมีเพียงอาการไข้สูง โดยมักสูงถึง 104 ฟาเรนไฮต์ (40 เซลเซียส) และประมาณสามถึงสี่วันต่อมาหลังจากที่ไข้ลงแล้ว เด็กจะมีผื่นนูนแดงทั่วตัว ผื่นนี้มักคงอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน และที่ต่างจากผื่นอื่น ๆ ในเด็กคือ ผื่นของส่าไข้จะไม่มีอาการคัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เด็กบางคนที่ติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดส่าไข้จะมีอาการของการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยด้วย เช่น อาการน้ำมูกไหล ไอ ต่อมน้ำเหลืองโต กระสับกระส่าย และท้องเสีย อาการและอาการอื่น ๆ อาจรวมถึงอาการชักจากไข้และกระหม่อม(ส่วนที่นุ่มบนศีรษะ-fontanelle) โป่ง  เด็กบางคนที่เป็นส่าไข้จะมีตุ่มแดงที่เพดานอ่อนของปากหรือที่โคนลิ้นไก่ (Nagayama’s spot) ร่วมด้วย

สิ่งที่พบได้บ่อยกว่าคือการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการส่าไข้โดยที่ไม่มีอาการใด ๆ โดยทาง AMA รายงานว่าประมาณสองในสามของเด็กที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ

ผื่นส่าไข้

นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าผื่นส่าไข้มักเริ่มขึ้นหลังจากไข้ลงแล้ว ยังมีลักษณะอื่น ๆ ที่ควรมองหาเพื่อให้คุณรู้ว่าผื่นนั้นเป็นผื่นส่าไข้จริงๆ  ผื่นส่าไข้มักเริ่มขึ้นที่ลำตัวและหลังของเด็ก หลังจากนั้นจะลามไปที่ใบหน้า แขน และขา ผื่นมักจะได้รับการบรรยายว่าดูเหมือนจุดเล็ก ๆ สีชมพูหรือแดงซึ่งบางครั้งอาจรวมกันจนเป็นปื้นใหญ่ได้

การวินิจฉัยส่าไข้

เมื่อเด็กที่ติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดส่าไข้เพิ่งจะมีไข้ ก็อาจวินิจฉัยได้ยาก คุณจะสามารถวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อขึ้นผื่นที่มีรูปแบบจำเพาะหลังจากไข้ลงแล้ว และถึงตอนนั้น เด็กก็มีอาการดีขึ้นแล้ว

ถึงแม้จะเป็นเรื่องง่ายที่จะสงสัยว่าเด็กเล็กที่มีไข้จะเป็นส่าไข้ แต่ให้เตือนตนเองไว้เสมอว่าการติดเชื้ออื่น ๆ ก็ทำให้มีไข้ได้เช่นกัน อาจต้องตรวจเพาะเชื้อจากเลือดและปัสสาวะเพื่อแยกการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซึ่งร้ายแรงกว่าออกไปก่อน  โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ถึงแม้ว่ากุมารแพทย์จะสงสัยว่าเป็นโรคส่าไข้อยู่แล้วก็ตาม

ไม่มีการตรวจจำเพาะสำหรับการวินิจฉัยส่าไข้ แต่การตรวจนับเม็ดเลือดก็อาจแสดงให้เห็นเม็ดเลือดขาวที่ลดต่ำลง (leukopenia)

การรักษาส่าไข้

ไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคนี้ และเด็กส่วนใหญ่ก็ฟื้นตัวได้เองโดยไม่มีปัญหาใด ๆ  ยาลดไข้ เช่น acetaminophen หรือ ibuprofen จะเป็นประโยชน์เมื่อลูกของคุณมีไข้

คุณต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับส่าไข้

สิ่งอื่น ๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับส่าไข้ ได้แก่

  • คุณควรติดต่อกุมารแพทย์เมื่อลูกเล็กของคุณเป็นไข้ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • ส่าไข้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า exanthema subitum (sixth disase) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส HHV-6 (human herpesvirus 6) และยังคาดว่าเชื้อ HHV-7 ก็น่าจะทำให้เกิดส่าไข้ได้เช่นกัน
  • มีการบรรยายผื่นส่าไข้ที่รู้จักกันดีว่าเป็น “ผื่นกุหลาบ” เนื่องจากเกิดขึ้นทันทีบนร่างของเด็ก
  • ส่าไข้ต่างจากการติดเชื้ออื่น ๆ ในเด็กคือไม่สัมพันธ์กับฤดู ดังนั้นเด็กจึงติดเชื้อนี้ได้ตลอดทั้งปี และไม่ได้ติดต่อได้ง่าย ถึงแม้บางคนจะเชื่อว่าเชื้อไวรัสสามารถส่งต่อผ่านทางสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจและน้ำลายเมื่อพวกเขามีไข้ ส่วนบางคนคิดว่าเด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อจากผู้ที่ไม่มีอาการ (มักเป็นสมาชิกในครอบครัว) อย่างไรก็ตาม การระบาดนั้นพบได้ยาก
  • ถึงแม้ว่าลูกของคุณจะไม่สามารถไปที่ศูนย์ดูแลเด็กในช่วงที่มีไข้ได้ แต่อ้างอิงจากทาง CDC “เด็กที่มีผื่นโดยที่ไม่มีไข้สามารถกลับไปที่ศูนย์ดูแลเด็กได้”
  • คาดว่าประมาณ 1/3 ของอาการชักจากไข้ในเด็กเล็กมีสาเหตุมาจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคส่าไข้
  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนมักได้รับภูมิคุ้มกันการติดส่าไข้จากแอนติบอดีของแม่ และเด็กที่มีอายุมากกว่า 2-3 ปี ก็มักมีภูมิคุ้มกันแล้ว กลุ่มที่อันตรายที่สุดคือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน

ลูกของคุณเคยเป็นส่าไข้แล้วหรือยัง ?


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Roseola Infantum/Sixth Disease Management and Treatment. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15785-roseola-infantumsixth-disease/management-and-treatment)
Roseola: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320357)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?

ECMO หมายถึง การค้ำจุนชีวิตสำหรับผู้ที่ป่วยหนัก ผ่านการพัฒนามาอย่างมาก

อ่านเพิ่ม