ความเสี่ยงที่ต้องรู้ ก่อนใช้ "น้ำมันกัญชา"

ก่อนใช้น้ำมันกัญชารักษาโรค ควรศึกษาข้อเท็จจริงและผลเสียต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้
เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเสี่ยงที่ต้องรู้ ก่อนใช้ "น้ำมันกัญชา"

กัญชา เป็นพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในคัมภีร์ของแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพียงแต่ในสังคมไทยมองว่ากัญชาเป็นสารเสพติด ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2552  ทำให้การใช้กัญชาเพื่อการรักษาถูกจำกัดการใช้ จนกระทั่งในปัจจุบันมีกระแสการใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ทำให้สมุนไพชนิดนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง

น้ำมันกัญชาคืออะไร มีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างไร?

จากการแยกสารบริสุทธิ์ในกัญชาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พบว่า กัญชามีส่วนประกอบของสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabiniod) มากที่สุด สารกลุ่มนี้มีสารออกฤทธิ์ชื่อ THC (Tetrahydrocannabinol) เป็นสารสำคัญ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท คลายความเครียด ความกังวล แก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยระงับอาการปวดทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน และช่วยเพิ่มความอยากอาหาร ด้วยเหตุผลนี้ทำให้มีการนำสารกัด THC จากกัญชามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของยาแผนปัจจุบัน สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทางเคมีบำบัดแล้วมีผลข้างเคียงดังกล่าวนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพจากน้ำมันกัญชา

ตามหลักการใช้กัญชาเพื่อการรักษาในคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ ไม่ปรากฏการใช้กัญชาเป็นสมุนไพรเดี่ยวในการรักษา จะต้องเข้าตำรับยาร่วมกับสมุนไพรตัวอื่น เพื่อให้ตำรับยาชนิดนั้นๆ มีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น และช่วยทำให้การออกฤทธิ์ของยาไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ การใช้นำมันกัญชาเพื่อรักษาอาการต่างๆ ควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ที่ผ่านการอบรมการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด และต้องมีใบอนุญาต เนื่องจากหากได้รับสาร THC เกินขนาดอาจทำให้มีอาการกระหายน้ำ ตอบสนองต่อความรู้สึกช้า สายตามองเห็นไม่ชัดเจน ตาพร่า จนกระทั่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นได้

สารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์

ปัจจุบันมีการผลิตสารกัดจากต้นกัญชาที่ใช้ทางการแพทย์ เป็นโครงการต้นแบบภายใต้การควบคุมดูแลจากองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการการหาสายพันธุ์ของต้นกัญชา การปลูก การสกัดสารสำคัญหรือสารที่มีฤทธิ์ทางการรักษา จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ได้ผลิตภัณฑ์จากกัญชา เบื้องต้นผลิตภัณฑ์จะอยู่ในรูปแบบของน้ำมันกัญชา ในอนาคตอาจมีการพัฒนาเป็นรูปแบบแคปซูล รูปแบบยาเหน็บทวารหนักแก้อาการริดสีดวง หรืออาจอยู่ในรูปแบบของยาสูดดมแก้อาการลมชัก ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ขณะนี้แผนงานดังกล่าวยังอยู่ใยระยะที่ 1 คือระยะการวิจัยและการพัฒนา คาดการณ์ว่าจะได้น้ำมันกัญชาที่ผ่านการศึกษาให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยลอตแรกประมาณช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม 2562 นี้

ดังนั้นตอนนี้หากมีผู้อ้างว่าผลิตน้ำมันกัญชารักษาโรคออกมาให้ใช้ได้แล้ว จึงไม่ควรรีบลองด้วยทันที โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัวหรือกำลังรับการรักษาอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะเปลี่ยนแผนการรักษา เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
องค์การเภสัชกรรม, ใกล้ความจริง น้ำมันกัญชาเมดิคัลเกรดจากต้นอ่อน-ออกดอก สู่สารสกัดเพื่อผุ้ป่วย (https://www.gpo.or.th/LinkClick.aspx?fileticket=nPpXS7Rf34s%3D&tabid=414&mid=1297&fbclid=IwAR1S3LB_CaNAlQY-V_39Al25ZLGbnnW1Ux5IjaP56C1vfl5UzaeOiKxzi3k), เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2562.
ผู้จัดการออนไลน์, กัญชาทางการแพทย์ก้าวแรกของไทย..เปิดใจ “นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์” (https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000033822?fbclid=IwAR3iBEQvxnXxGAlKIH_XKdhglRZ0ZgL7CzrpJXV4TFfkvO9Yc8ly2oH7JbA), 8 เมษายน 2562.
ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์,ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กัญชากับการรักษาโรค (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/?fbclid=IwAR2KGZsl_mSbgjfgmFThcYJR70Y7_OOmHHy6Tn675J2tr6h-fp46YITaIi8), 17 มิถุนายน 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคจากการเสพกัญชา
โรคจากการเสพกัญชา

อาการแสดงเมื่อเสพติดกัญชา ภาวะเสพติดกัญชา

อ่านเพิ่ม