กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความหมายว่าของคำว่ามดลูกแฝด (Double Uterus) คืออะไร?

ความเสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตรสำหรับผู้หญิงที่มี มดลูกแฝด (Double Uterus หรือ Didelphic uterus)
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความหมายว่าของคำว่ามดลูกแฝด (Double Uterus) คืออะไร?

Didelphic uterus คือภาวะ มดลูกแฝด (Double Uterus) เป็นประเภทความผิดปกติ แต่กำเนิด ผู้หญิงบางคนที่มดลูกแฝด (Double Uterus) อาจมีปากมดลูก (cervices) และช่องคลอด(vagina)สองอัน ภาวะมดลูกแฝด (Double Uterus) ในผู้หญิงบางคนอาจเพิ่มโอกาสของการแท้งบุตร แต่โอกาสเกิดค่อนข้างน้อย เชื่อว่าจะเป็นภาวะทางพันธุกรรม หากคุณมีภาวะมดลูกแฝด (Double Uterus)  ควรสอบถามสมาชิกในครอบครัวว่ามีญาติผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ในหมู่ญาติมีอาการวินิจฉัยเดียวกัน

จะวินิจฉัยภาวะมดลูกแฝด(Double Uterus)ได้อย่างไร?

แพทย์อาจตรวจพบภาวะมดลูกแฝด (Double Uterus) ผ่านการศึกษาภาพถ่าย เช่น การตรวจโดยใช้รังสี (hysterosalpingogram)
การฉีดน้ำเกลือแทนสารทึบแสง และใช้อัลตร้าซาวด์ดูภาพแทน x-ray (sonohysterogram) อัลตราซาวนด์หรือแม้กระทั่ง MRI การวินิจฉัยอาจจำเป็นต้องได้รับการยืนยันโดยการผ่าตัดผ่านกล้องหรือการส่องกล้องเพื่อที่จะแยกความแตกต่างของมดลูกแฝด (Double Uterus) จากมดลูกลักษะเป็นปากแตร (bicornuate uterus)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพทย์อาจคาดว่าผู้หญิงที่มีมดลูกแฝด (Double Uterus) อาจมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานรุนแรงหรือมีการแท้งบุตรซ้ำ แต่จากสถิติ ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้ไม่มีอาการแสดงดังกล่าว ผู้หญิงที่มีมดลูกแฝด (Double Uterus) พร้อมกับช่องคลอดแฝดจะมีความเสี่ยงกับภาวะประจำเดือนไหลมาก และควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับการดูแลรอบประจำเดือน และอาจพบภาวะมีบุตรยาก มีปัญหาไตและอาจคลอดก่อนกำหนด

การรักษาภาวะมดลูกแฝด( Didelphic uterus)

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ภาวะมดลูกแฝด (Didelphic uterus) ไม่จำเป็นต้องมีการดูแลพิเศษ แต่ควรปรึกษาแพทย์ในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อดูสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือความเสี่ยงอื่น ๆที่จะเกิดกับทารก ผู้หญิงเหล่านี้ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการตั้งครรภ์ชนิดมีความเสี่ยงสูง
ก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์ผู้หญิงที่มีมดลูกแฝด (Double Uterus) ควรหารือกับแพทย์โดยละเอียด แพทย์อาจทำการผ่าตัดให้มดลูกเป็นอันเดียว หรือเอามดลูกที่ไม่แข็งแรงออกในผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ การผ่าตัดจะไม่ได้ ดำเนินการกับทุกคน ยกเว้นผู้หญิงที่เคยมีปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก  แพทย์อาจเพิ่มขั้นตอนดูแล เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด

โอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียครรภ์ในภาวะมดลูกแฝด (Double Uterus)

ผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกแฝด (didelphic uterus)  มีความแตกต่างกันในด้านความสมบูรณ์ ของภาวะตั้งครรภ์จนครบวาระ ผู้หญิงบางคนไม่เคยมีปัญหาใด ๆ และมีการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์จนกระทั้งคลอด บางคนอาจมีการแท้งบุตรหลายครั้งหรืออาจต้องเผชิญการคลอดก่อนกำหนด และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ของการสูญเสียครรภ์ในไตรมาสที่สอง ผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกแฝด (didelphic uterus)  อาจมีการพัฒนาการของภาวะตั้งครรภ์อย่างปกติ สมบูรณ์ และอาจได้พบบทความหรือข่าวเกี่ยวกับกรณีที่หายาก ของผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกแฝด (didelphic uterus) มีการตั้งครรภ์ในมดลูกทั้งสองอันและมีวันกำหนดคลอดที่แตกต่างกัน ในผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกแฝด (didelphic uterus) บางคนอาจมีมดลูกที่พัฒนาการไม่ดี และมีความเสี่ยงสูงของการแท้งบุตร หรือถ้ามีปากมดลูกที่มีปัญหา จะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการคลอดก่อนกำหนด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม