กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มะเร็งกล้ามเนื้อลาย ในเด็ก (Rhabdomyosarcoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
มะเร็งกล้ามเนื้อลาย ในเด็ก (Rhabdomyosarcoma)

มะเร็งกล้ามเนื้อลาย คือมะเร็งที่เกิดกับเซลล์ตัวอ่อนที่จะพัฒนาเป็นเซลล์กล้ามเนื้อลาย เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย โดยพบมากในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง และส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยกว่า 10 ปี อาการที่พบได้บ่อยคือ  พบก้อนหรือมีอาการบวมเกิดขึ้น และอาการอื่นๆ จะขึ้นกับตำแหน่งของมะเร็งว่าเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดของร่างกาย

บทนำมะเร็งกล้ามเนื้อลาย

มะเร็งกล้ามเนื้อลาย (Rhabdomyosarcoma) คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อนที่จะพัฒนาเป็นเซลล์กล้ามเนื้อลาย  ซึ่งเป็นมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนชนิดหนึ่ง (soft tissue sarcoma) (เนื้องอก) ข้อมูลจากประเทศสหราชอาณาจักรพบเด็กน้อยกว่า 60 คนต่อปีที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งชนิดนี้ โดยส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยกว่า 10 ปี พบบ่อยในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีเด็กจำนวนมากในปัจจุบันที่มีชีวิตรอดจากมะเร็งในวัยเด็ก เพราะมียาและวิธีการรักษาใหม่ๆ และเราสามารถกระทำบางอย่างเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการป่วยเป็นมะเร็งในอดีตได้

มันเป็นเรื่องที่แย่ที่ต้องรับฟังว่าบุตรหลานของคุณป่วยเป็นมะเร็งตั้งแต่วัยเด็ก และคงเป็นความรู้สึกอัดอั้นอย่างมาก แต่อย่าลืมว่ามีบุคลากรทางการแพทย์และองค์กรให้การสนับสนุนต่างๆ ที่จะช่วยเหลือคุณในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งที่บุตรหลานของคุณเป็นรวมถึงวิธีการรักษาที่พวกเขาอาจได้รับจะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ดีขึ้น ซึ่งเราคาดหวังว่าคุณจะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากการอ่านบทความนี้ บุคลากรที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคเด็กจะให้ข้อมูลรายละเอียดที่มากขึ้นกับคุณได้ และถ้าคุณมีคำถามใดๆ ก็ตาม คุณควรสอบถามกับแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่ทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของบุตรหลานคุณเป็นอย่างดี

Sarcomas

ชาร์โคม่า (sarcomas) คือ มะเร็งที่พบได้น้อย ซึ่งเกิดกับเนื้อเยื่อค้ำจุนร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ หรือกระดูกอ่อน ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดหลัก ได้แก่:

  • มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue sarcomas) ซึ่งเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ ไขมัน เส้นเลือด หรือเกิดกับเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่ค้ำจุน ล้อมรอบ และทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
  • มะเร็งกระดูก (bone sarcomas) ซึ่งเกิดขึ้นกับกระดูกโครงร่าง

มะเร็งกล้ามเนื้อลาย (Rhabdomyosarcoma)

มะเร็งกล้ามเนื้อลาย คือ มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนในเด็กที่พบได้บ่อยที่สุด โดยก้อนเนื้องอกจะเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อเส้นใย และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย

บริเวณที่พบบ่อยที่สุดคือ รอบๆ ศีรษะและลำคอ, กระเพาะปัสสาวะ, อัณฑะ, มดลูก หรือช่องคลอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บางครั้งจะพบก้อนมะเร็งที่กล้ามเนื้อ หรือแขนขา, หน้าอก หรือ ในผนังช่องท้อง ถ้าพบมะเร็งที่บริเวณศีรษะหรือลำคอ อาจสามารถแพร่กระจายไปยังสมองหรือของเหลวรอบๆ ไขสันหลังได้

สาเหตุของมะเร็งกล้ามเนื้อลาย

สาเหตุของมะเร็งกล้ามเนื้อลายยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยต่อไป ในเด็กที่ป่วยเป็นโรคพันธุกรรมหายากบางชนิด เช่น Li-Fraumeni syndrome จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกล้ามเนื้อลายสูงขึ้น

อาการของมะเร็งกล้ามเนื้อลาย

อาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคนี้คือพบก้อน หรือมีอาการบวมเกิดขึ้น สำหรับอาการอื่นๆ จะขึ้นกับว่าโรคเกิดขึ้นกับส่วนใดของร่างกาย

  • ถ้ามะเร็งเกิดขึ้นที่ศีรษะหรือลำคอ บางครั้งจะทำให้เกิดการอุดตัน และมีน้ำมูกไหลจากจมูกหรือลำคอ และอาจทำให้ตาบวมได้
  • ถ้ามะเร็งเกิดขึ้นในช่องท้อง สามารถทำให้มีอาการปวด หรือไม่สบายท้อง และท้องผูกได้
  • ถ้ามะเร็งเกิดขึ้นที่กระเพาะปัสสาวะ อาจก่อให้เกิดอาการพบเลือดออกในปัสสาวะ และปัสสาวะลำบาก

จะวินิจฉัยมะเร็งกล้ามเนื้อลายอย่างไร

ในการวินิจฉัยมะเร็งกล้ามเนื้อลายต้องอาศัยหลายการทดสอบ/การตรวจร่วมกัน บุตรหลานของคุณอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเล็กเพื่อนำตัวอย่างจากก้อนมะเร็ง (biopsy) ไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งมักทำภายใต้การให้ยาสลบ

สำหรับการตรวจที่จะช่วยบอกขนาดที่แน่นอนของมะเร็งและเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกายหรือไม่ อาจได้แก่:

  • การเอกซเรย์ปอด
  • การอัลตราซาวด์
  • การทำซีทีสแกน (CT) หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI)
  • การตรวจเลือดและไขกระดูก

สำหรับการตรวจใดๆ ที่บุตรหลานของคุณจำเป็นต้องทำ คุณจะได้รับการอธิบายก่อนเสมอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระยะของโรคมะเร็ง

ระยะของโรคมะเร็งใช้เพื่ออธิบายขนาดของมะเร็งและเพื่อบอกว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปจากจุดเริ่มต้นหรือไม่ การทราบถึงระยะของโรคมะเร็งจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับบุตรหลานของคุณได้

ระบบการแบ่งระยะของโรคมะเร็งกล้ามเนื้อลายจะขึ้นกับ:

  • มะเร็งเกิดขึ้นที่ใด
  • มะเร็งเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง (localized disease) หรือมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (metastatic disease)

ในการแบ่งระยะของโรคมะเร็งกล้ามเนื้อลายสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแพทย์ที่ดูแลบุตรหลานของคุณจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการแบ่งระยะที่กำลังใช้อยู่

การรักษามะเร็งกล้ามเนื้อลาย

มะเร็งกล้ามเนื้อลายเป็นมะเร็งที่พบได้น้อย และควรได้รับการรักษาโดยแพทย์และสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งการรักษาจะขึ้นกับขนาดของก้อนมะเร็ง, ตำแหน่องของมะเร็งในร่างกาย และมะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่

วิธีในการรักษามะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนหลัก 3 วิธี ได้แก่ การใช้ยาเคมีบำบัด, การผ่าตัด และการฉายรังสี ซึ่งบุตรหลานของคุณอาจได้รับการรักษาหลายวิธีร่วมกัน

ยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัด คือยาที่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ โดยการให้เข้าสู่ร่างกายเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง ดังนี้:

  • ให้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอก
  • ให้หลังผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมาเป็นซ้ำ

ยาที่จะใช้และระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรคมะเร็งกล้ามเนื้อลาย

การผ่าตัด

หากสามารถทำได้ บุตรหลานของคุณจะได้รับการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกจากร่างกายทั้งหมด หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่สร้างความเสี่ยงหายกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง โดยการผ่าตัดจะขึ้นกับขนาดของก้อนมะเร็งและตำแหน่งของก้อนมะเร็งในร่างกาย ซึ่งศัลยแพทย์จะให้คำอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ได้ สำหรับยาเคมีบำบัดมักให้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งและทำให้ผ่าตัดออกได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ จะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีแทน

การฉายรังสี (radiotherapy)

การฉายรังสี คือการใช้รังสีพลังงานสูงฉายเข้าไปที่ร่างกายเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยให้เกิดผลอันตรายต่อเซลล์ปกติให้น้อยที่สุด การฉายรังสีอาจให้ตามหลังการผ่าตัดที่บริเวณที่เป็นมะเร็งก็ได้

ผลข้างเคียงของการรักษา

ผลข้างเคียงของการรักษาจะขึ้นกับวิธีในการรักษาที่ได้รับ และบริเวณของร่างกายที่ทำการรักษา ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาในประเด็นนี้กับคุณก่อนเริ่มการรักษา โดยผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะเป็นเพียงผลชั่วคราว และจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อการรักษาสิ้นสุดลง

ยาเคมีบำบัดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ผมร่วง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่จะช่วยให้บุตรหลานของคุณรู้สึกดีขึ้น โดยจะบรรเทาอาการที่เกิดจากก้อนมะเร็งให้กับบุตรหลานของคุณ

การฉายรังสีสามารถทำให้บุตรหลานของคุณอ่อนเพลีย และทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทำการรักษาอาจมีสีแดงหรือสีเข้มขึ้นได้ สำหรับอาการข้างเคียงอื่นๆ จะขึ้นกับบริเวณของร่างกายที่ทำการรักษา โดยแพทย์หรือพยาบาลจะให้ข้อมูลในประเด็นนี้กับคุณได้

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นช้า

มีเด็กจำนวนน้อยที่อาจเกิดผลข้างเคียงในระยะยาวจากการรักษาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปแล้วหลายปี โดยขึ้นกับชนิดของการรักษาที่บุตรหลานของคุณได้รับ ซึ่งแพทย์หรือพยาบาลจะอธิบายเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นช้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ และทำการนัดเด็กมาตรวจติดตามอาการเป็นประจำเพื่อติดตามอาการแสดงของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นช้า (late effects)

โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นช้า อาจได้แก่ การเติบโตของกระดูกลดลง, เป็นหมัน, การทำงานของหัวใจและไตผิดปกติไป และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆ ในอนาคตเล็กน้อย

การวิจัยทางคลินิก

มีเด็กหลายคนที่ได้รับการรักษาที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยทางคลินิก โดยการศึกษาวิจัยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ดีที่สุดของโรคนั้นๆ โดยมักเปรียบเทียบระหว่างการรักษาใหม่กับการรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน

ในการศึกษาวิจัยจะดำเนินการโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสำหรับรักษามะเร็งในเด็ก ถ้ามีความเหมาะสมเพียงพอ แพทย์จะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับการเข้าร่วมการศึกษาวิจัยทางคลินิกและคอยตอบคำถามที่คุณสงสัย ซึ่งคุณจะได้รับเอกสารอธิบายสิ่งต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

การตัดสินใจเข้าร่วมการศึกษาวิจัยเป็นเรื่องของความสมัครใจ ซึ่งคุณจะต้องใช้เวลาให้มากพอเพื่อตัดสินใจว่าการเข้าศึกษาวิจัยนั้นเหมาะสมสำหรับบุตรหลานของคุณ

ก่อนที่งานวิจัยจะได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการได้ งานวิจัยนั้นจะต้องผ่านการอนุมัติโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ซึ่งจะปกป้องผลประโยชน์ของผู้เข้าร่วมการวิจัย ถ้าคุณตัดสินใจให้บุตรหลานของคุณเข้าร่วมการวิจัย แพทย์หรือพยาบาลจะอธิบายเกี่ยวกับการรักษาที่จะได้รับและอธิบายถึงความหมายที่มีผลต่อตัวเด็ก ทั้งนี้คุณอาจตัดสินใจไม่เข้าร่วมการวิจัย หรือตัดสินใจถอนตัวออกจากการวิจัยเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งคุณจะยังคงได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้นๆ

การตรวจติดตามอาการ

ภายหลังการรักษา แพทย์จะนัดหมายให้เด็กเข้ามาตรวจติดตามอาการเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่ามะเร็งไม่กลับมาเป็นซ้ำ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง คุณไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์บ่อยเช่นเดิม

ถ้าคุณกังวลเกี่ยวกับสภาวะของบุตรหลานและการรักษาที่จะได้รับ สิ่งที่ดีที่สุดคือการพูดคุยเรื่องนี้กับแพทย์ที่ทำการรักษา ซึ่งเป็นผู้ที่ทราบสถานการณ์ของบุตรหลานคุณมากที่สุด

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-types-in-children/rhabdomyosarcoma


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rhabdomyosarcoma. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/001429.htm)
Pediatric Rhabdomyosarcoma. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5486973/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)