กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการแน่นโพรงจมูก

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการแน่นโพรงจมูก

มีหลายคนที่มีอาการแน่นโพรงจมูกเวลาที่เป็นภูมิแพ้หรือเป็นหวัด อาการแน่นโพรงจมูกนั้นเกิดจากการที่ทางเดินหายใจในจมูกนั้นเกิดการอุดตัน ซึ่งทำให้เกิดอาการอักเสบและปวดศีรษะ จมูกและใบหน้าได้ตามมา

โพรงจมูกนั้นอยู่เป็นคู่และพบได้ที่ 4 บริเวณของใบหน้า

  • Frontal ที่หน้าผาก
  • Ethmoid ที่ระหว่างดวงตาและหลังจมูก
  • Maxillary ภายในแก้ม
  • Sphenoid ด้านหลังดวงตาและด้านหลังศีรษะ

การรักษา

ถึงแม้ว่ามียาที่สามารถช่วยลดอาการได้ แต่ก็มีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการแบบไม่ต้องใช้ยาเช่นเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1.ไอน้ำ

อากาศที่แห้งและโพรงจมูกที่แห้งนั้นจะเพิ่มความดันในโพรงจมูกและทำให้เกิดอาการปวดหัว ไอน้ำนั้นจะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศและทำให้โพรงจมูกนั้นชื้นขึ้น ทำให้มูกนั้นบางลง

ลองอาบน้ำร้อนที่มีไอน้ำเพื่อช่วยลดอาการดังกล่าว หรืออาจจะใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศเพื่อช่วยบรรเทาอาการในระยะยาวก็ได้

หากต้องการผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ลองเติมน้ำมันยูคาลิปตัสลงในน้ำ ยูคาลิปตัสนั้นมีสาร cineole ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ช่วยให้ฟื้นตัวจากการเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบแบบฉับพลันได้เร็วขึ้น น้ำมันนี้ยังสามารถช่วยลดอาการคัดจมูกได้อีกด้วย

2.ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

วิธีการรักษาที่ใช้บ่อยของภาวะนี้ก็คือการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ น้ำเกลือนั้นมีเกลือที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในจมูกและลดอาการแน่นโพรงจมูกได้

3.พักผ่อน

การนอนพักผ่อนให้เพียงพอนั้นจะช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง การนอนนั้นกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ นอกจากนั้นในระหว่างที่นอนหลับ ร่างกายก็จะสามารถสร้างเม็ดเลือดขาวได้เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต่อการโจมตีเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย

ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือเครื่องดื่มที่จะกระตุ้นให้คุณตื่นตัวก่อนเวลานอน การให้ร่างกายได้พักนั้นจะช่วยลดอาการแน่นในโพรงจมูก ลดระยะเวลาในการพักฟื้นและทำให้คุณรู้สึกสดชื่นขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4.นอนหัวสูง

การนอนราบนั้นจะทำให้มีมูกสะสมอยู่ในโพรงจมูก เพิ่มความดันในโพรงจมูกและทำให้คุณนอนหลับได้ไม่เต็มที่ การนอนหัวสูงในตอนกลางคืนนั้นจะช่วยป้องกันการสะสมของมูกในโพรงจมูกและทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น

5.ดื่มน้ำ

การขาดน้ำนั้นจะทำให้โพรงจมูกนั้นแห้งและเพิ่มความดันในใบหน้า ควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้นในระหว่างวันหากรู้สึกว่าจะไม่สบาย น้ำจะช่วยลดการอุดตันในโพรงจมูกได้

ในขณะที่น้ำอาจจะเป็นทางเลือกแรกที่รับประทานแต่คุณก็อาจจะสามารถได้รับน้ำจากอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ ได้เช่น

  • ซุป
  • ก้อนน้ำแข็ง
  • ชา
  • ผักและผลไม้ที่มีน้ำมาก

6.เทคนิคการผ่อนคลาย

การแน่นโพรงจมูกนั้นอาจจะทำให้คุณรู้สึกปวดศีรษะ ใบหน้า และลำคอ แต่การใช้เทคนิคควบคุมการทำงานของร่างกายนั้นสามารถบรรเทาอาการดังกล่าวได้

พบว่าวิธีนี้สามารถบรรเทาอาการปวดหัว โดยการใช้เทคนิคการหายใจลึกๆ ร่วมกับการนั่งสมาธิเพื่อให้ร่างกายเกิดการผ่อนคลายและลดอาการปวด นอกจากนั้นโยคะ การนั่งสมาธิและเทคนิคการผ่อนคลายอื่นๆ ก็สามารถช่วยลดอาการปวดและแน่นจากภาวะนี้ได้เช่นกัน

7.ออกกำลังกาย

เช่นเดียวกับการเล่นโยคะ การออกกำลังกายนั้นจะช่วยลดความแน่นในโพรงจมูก กิจกรรมทางกายนั้นจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและช่วยลดอาการแน่นได้ชั่วคราวเพื่อช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายในระหว่างที่ป่วยนั้นจะทำได้ยากแต่มันก็จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ผลลัพธ์

อาการแน่นโพรงจมูกนั้นอาจจะเจ็บและทำให้ไม่สบายตัว นอกเหนือจากการใช้ยาลดอาการคัดจมูกและยาแก้ปวดแล้ว วิธีเหล่านี้ก็สามารถช่วยให้คุณฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเช่นกัน หากคุณยังคงมีอาการแน่นโพรงจมูกต่อเนื่องนานกว่า 1 สัปดาห์หรือมีอาการแย่ลงควรไปพบแพทย์ เพราะอาจจะแสดงว่ามีการติดเชื้อที่รุนแรงที่อาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to relieve sinus pressure: 8 home remedies and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321322)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป