กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

บรรเทาไข้หวัดคัดจมูก ด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณก็ทำเองได้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
บรรเทาไข้หวัดคัดจมูก ด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณก็ทำเองได้

ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน บางวันอากาศขมุกขมัวบางวันลมแรง ด้วยสภาพอากาศแบบนี้ จึงอาจทำให้เป็นไข้หวัดได้ และเป็นเมื่อไรก็มักหายช้าทุกที แม้จะกินยาแล้วก็ตาม ดังนั้นจะเป็นการดีหากมีวิธีการอย่างอื่นมาช่วยบรรเทาไข้หวัด เพื่อจะได้หายไวขึ้น ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากรู้ตัวว่ากำลังเป็นไข้หวัด สิ่งแรกคือควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้ก่อนเลย เพราะถ้าดื่มเข้าไปตอนที่ร่างกายอ่อนแอ ก็จะหายช้ากว่าเดิม อีกทั้งมีผลต่อการสูบฉีดเลือดลมให้ไหลเวียนภายในร่างกายมากกว่าปกติ หัวใจจะเต้นเร็วส่งผลให้นอนไม่หลับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. จิบชาร้อน

เครื่องดื่มที่ดีตอนป่วยมากที่สุดก็คือ ชาเขียวร้อน หรือชาดำร้อน ที่จะช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น และหากเจ็บคอ และคัดจมูกก็ควรเพิ่มน้ำมะนาว และน้ำผึ้งลงไปด้วย โดยน้ำมะนาวจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ลดน้ำมูกและเสมหะ ส่วนน้ำผึ้งจะทำให้ชุ่มคอ และอาการเจ็บคอก็จะดีขึ้น

3. บำรุงด้วยธาตุสังกะสี

หากป่วยจนไม่มีแรงทำอะไร ให้ทานอาหารประเภทโปรตีน และแร่ธาตุสังกะสี เพราะจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น กระบวนการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ กลับมาทำหน้าที่ตามปกติ สำหรับอาหารประเภทนี้ก็ได้แก่จำพวก ปลา ไข่ไก่ และโยเกิร์ต ส่วนอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และนม เป็นต้น

4. หมั่นทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว

สาเหตุที่เราป่วยอาจเพราะติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เกิดมาจากความสกปรกรอบตัว ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดบ้านเรือนให้เรียบร้อย และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวที่หยิบใช้บ่อยอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็น ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน โทรศัพท์ อุปกรณ์แต่งหน้า หรือแม้แต่โต๊ะทำงาน ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยลดจำนวนเชื้อโรคไม่ให้สะสมเพิ่มในร่างกาย

5. ล้างมือให้บ่อยขึ้น

แต่ละวันมือต้องหยิบจับสิ่งของมากมาย เช่น ราวบันได ห่วงจับบนรถสาธารณะ ลูกบิดประตูที่ทำงาน พวงมาลัยรถยนต์ หรือแม้แต่รองเท้า และก็ต้องใช้มือหยิบอาหารเข้าปากด้วย ดังนั้นเชื้อโรคต่างๆอาจติดมือมาได้ ทางที่ดีจึงควรล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารก็จะเป็นการดี

6. ออกกำลังกายให้เหงื่อออก

สำหรับคนที่มีไข้ควรต้องพักผ่อนให้มาก แต่หากมีแค่อาการไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ก็ควรบริหารกายอย่างน้อย 15 นาทีต่อวัน ร่างกายจะได้อุ่นขึ้น มีการขับของเสียออกมาในรูปของเหงื่อ และหากทำแบบนี้ทุกวันก็จะช่วยบรรเทาอาการหวัดได้

7. นวดกระตุ้นเลือดลม

เมื่อร่างกายอ่อนแอ ระบบไหลเวียนเลือดจะทำงานผิดปกติไปด้วย ดังนั้นการนวดผ่อนคลายตัวเองบ้าง เช่น นวดศีรษะให้ตัวเองด้วยการใช้นิ้วโป้งทั้งสองนวดบริเวณขมับไล่ไปจนถึงระหว่างคิ้วนานประมาณ 5 นาที หรือไปนวดผ่อนคลายอย่างน้อยเดือนละครั้ง ซึ่งการนวดจะเป็นการกระตุ้นเลือดลมให้ไหลเวียนดี และร่างกายสามารถผลิตออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดแดงส่งผลให้มีสุขภาพดี

8. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับตอนกลางคืนเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูตัวเอง ดังนั้นการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปกติแล้วควรนอน วันละ 7-8 ชั่วโมง แต่สำหรับคนป่วยสามารถนอนได้มากกว่า 1-2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามไม่ควรนอนติดเตียงทั้งวัน ควรได้ลุกขึ้นมาบริหารร่างกายให้เลือดลมไหลเวียนบ้างก็จะดี

อาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายที่ฟ้องออกมาไม่ว่าจะเป็นการปวดหัว เป็นไข้ เป็นหวัด คือการบอกให้รู้ว่ากำลังใช้งานร่างกายหนักเกินไป ควรที่จะพักผ่อนบ้าง เพราะหากสุขภาพเสียไปแล้วการฟื้นฟูให้กลับมาดีเหมือนเดิมจะทำได้ยากกว่า


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Natural Remedies for Congestion Relief and Stuffy Nose. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/cold-flu/treatment/natural-congestion-remedies/)
How to get rid of a stuffy nose: 10 possible treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/313808)
Healthy Habits to Help Prevent Flu. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/flu/prevent/actions-prevent-flu.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)