กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ทำไมเราต้องตรวจเม็ดเลือดแดง?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ทำไมเราต้องตรวจเม็ดเลือดแดง?

เม็ดเลือดแดงคือพระเอกของน้ำเลือดซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อสัตว์ทุกชนิดที่มีกระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์

น้ำเลือดนั้นเปรียบเสมือนขบวนรถไฟที่ประกอบด้วยตู้โบกี้ที่บรรทุกผู้โดยสารและสินค้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากองค์ประกอบของตัวรถไฟคือตู้โบกี้ทั้งขบวนมันมีความสมบูรณ์แบบได้มาตรฐานและหากรางรถไฟ (หลอดเลือด) ก็เรียบร้อยดีก็เป็นอัน ได้ว่าน่าจะช่วยให้การหมุนเวียนขนส่งผู้คนและสินค้าไปถึงยังจุดหมายปลายทางได้โดยสมบูรณ์แบบครบถ้วนในปัญหาใดๆ

ในตอนนี้จะประกอบด้วยการตรวจเม็ดเลือดแดงซึ่งคล้ายกับการตรวจทุกซอกทุกมุมของตู้โบกี้ที่อยู่ในขบวนรถไฟว่ามีสภาพปกติอยู่ในมาตรฐานสากลหรือไม่ซึ่งนับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่สมควรทราบเป็นอย่างยิ่ง

Red Cell Index

(MCV, MCH, MCHC)

Red Cell Index แปลว่า ดัชนีเซลล์เม็ดเลือดแดง

Red Cell Index เป็นเพียงชื่อ จึงไม่มีค่าใดๆ

วัตุประสงค์

การหาดัชนีเซลล์เม็ดเลือดแดง ก็เพื่อจะทำให้ทราบข้อมูลข่าวสารของเม็ดเลือดแดง เกี่ยวกับ

1. ขนาดเม็ดเลือดแดง โดยพิจารณาจากค่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • MCV
  • RDW (Red Blood Cell Distribute Width) คือ ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง หามีค่า RCW สูง ก็แสดงว่า RBC มีหลากหลายชนิด (ซึ่งแสดงความผิดปกติ) ผิดจากคนสุขภาพดีที่มีเม็ดเลือดแดงขนาดมาตรฐาน เท่ากันทุกเซลล์เม็ดเลือดแดง
    แต่ผู้ที่มีหลายขนาด ทางการแพทย์จะเรียกสภาวการณ์เช่นนี้ว่า “anisocytosis” (ภาวะเม็ดเลือดแดงหลากขนาด) สรุปย่อว่า ย่อมทำให้เกิดโรคโลหิตจาง

2. น้ำหนักเม็ดเลือดแดง โดยพิจารณาจากค่า MCH

3. ความเข้มข้นของเฮโมโกลบิน โดยพิจารณาจากค่า MCHC

สรุป

1. การพิจารณาค่าทุกตัวของดัชนีเซลล์เม็ดเลือดแดงนั้นมีวัตถุประสงค์หลักก็คือประสงค์จะทราบว่า

  • เป็นโรคโลหิตจางหรือไม่?
  • หากเป็นก็ต้องการทราบต่อไปอีกว่าเป็นโรคโลหิตจางชนิดอะไร?

2. ในฐานะผู้ถูกตรวจ (เลือด) ที่ทราบผลว่าค่าดัชนีตัวหนึ่งตัวใดเช่น MCV สูงหรือต่ำกว่าปกตินั้นหมายความว่าอย่างไรก็เพียงพอต่อการรับฟังคำชี้แจงหรือใช้เป็นข้อมูลต่อการซักถามแพทย์เพื่อการรักษาต่อไป

สรุปว่าไม่ควรต้องลงไปในรายละเอียดและจดจำตัวเลขให้มากมายจนเกินไปนัก

3. หากถูกตรวจพบว่าเป็นโรคโลหิตจางชนิดไม่ร้ายแรงเกินไปนักก็โปรดอย่าได้กังวลใจจนเกินเหตุเนื่องจากสถิติในทางตำราวิชาการว่าด้วยเลือดมนุษย์หรือโลหิตวิทยา (Hamatology) นั้นบอกตัวเลขไว้ชัดเจนว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในจำนวนประชากรทั้งโลกขณะปัจจุบันนี้จะมีจำนวนประมาณเกือบหนึ่งในสามที่มีสภาวะเป็นโรคโลหิตจางอย่างใดอย่างหนึ่ง

เนื่องจากการแพร่กระจายของโรคเกิดจากกรรมพันธุ์อย่างแท้จริง

ใครที่เป็นโรคโลหิตจางที่ไม่ร้ายแรงนักก็อาจมีชีวิตที่เป็นปกติสุขเช่นคนทั่วไปได้เพียงแต่ใช้ความระมัดระวังเช่น ไม่เข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีออกซิเจนน้อยให้นานเกินไป ไม่ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ฯลฯ

4. ก่อนจะผ่านเรื่องดัชนีเซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell Index) ซึ่งเป็นเรื่องการตรวจวิเคราะห์เจาะจงเกี่ยวกับโรคโลหิตจางต่างๆนั้นผมมี ข้อมูลทางวิชาการมาเป็นของฝากให้ท่านผู้อ่านที่แม้จะมีสุขภาพดีหรืออาจเป็นโรคโลหิตจางอยู่บ้านในระดับใดก็ตามโปรดละลึกถึงความสำคัญของพืชผักที่มีใบสีเขียวเข้มจัดซึ่งแสดงว่าอุดมด้วยสารประกอบที่มีชื่อเสียงโด่งดังตัวหนึ่งชื่อ คลอโรฟิลล์ (cholorophyll) ว่าอาจจะช่วยบำรุงรักสาสุขภาพของเซลล์เม็ดเลือดแดงของท่านได้

โดยเหตุผลจากข้อมูลของโครงสร้างทางเคมีเมื่อเราได้กินพืชผักใบเขียวเข้าสู่ร่างกายในขณะที่ยังเขียวสด (ต้องไม่ถูกหนึ่งหรือไม่ถูกต้องจนเป็นสีน้ำตาลเช่น ในกรณีต้มจับฉ่าย) ย่อมจะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์หลายประการกล่าวคือ

  • ร่างกายใช้กระบวนการเพียงดินเอาท่านแมกนีเซียมออกแล้วแทนที่ด้วยธาตุเหล็กพร้อมทั้งปรับแต่งอีกเล็กน้อยก็จะได้เฮโมโกลบินอันเป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์แบบอย่างง่ายดาย
    โดยธรรมดาในร่างกายมนุษย์ขนาดปกติจะสะสมธาตุเหล็กไว้ตลอดเวลาเป็นจำนวนประมาณ 4 กรัมแต่หากเกรงว่าจะขาดธาตุเหล็กก็โปรดนึกถึงอาหารที่มีสีแดงเข้ม เช่น เลือดหมู เลือดไก่ เนื้อวัว เนื้อปลาแซลมอนสดที่มีสีแดงจัด
  • ถ้าแมกนีเซียมที่ถูกดึงออกไป (ก็ยังอยู่ในร่างกาย) ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การใช้บำรุงรักษาหัวใจของเจ้าของร่างกาย
  • วิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารอื่นย่อมมีบริบูรณ์ในพืชผักสดมากกว่าในพืชซึ่งสุกด้วยความร้อน ที่สำคัญก็คือสารอาหารประเภท วิตามินซี และเอนไซม์จากพืชจะหมดไปทันทีหากถูกความร้อน
  • อาหารที่เป็นพืชผักยอมให้สารเส้นใย (fiber) แก่ร่างกายซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลดโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ขนาดนี้คนไทยกำลังเป็นโรคนี้ในอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี) และอาจช่วยลดไขมันและน้ำตาลในกระแสเลือดได้ด้วย

Blood Group

วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจให้ทราบว่าเป็นเลือดใน หมู่เลือด (Blood Group) หมู่ใด

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. ในทางการแพทย์ปัจจุบันนี้ได้ตกลงกันแบ่งกลุ่มเลือดออกได้เป็น 4 หมู่ ก็คือ 1) A 2) B 3) AB และ 4) O
    เมื่อผลการตรวจปรากฏเป็นกลุ่มเลือดหมู่ใด ก็จะใส่ตัวอักษรลงในแบบฟอร์มเช่น A ก็เท่านั้นเอง ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแต่เจ้าของร่างกายต้องจำชื่อของหมู่เลือดให้ได้ เนื่องจากในรายการบัตรประจำตัวประชาชนจะมีช่องให้สำแดงว่า หมู่โลหิต...(เช่น A หรืออะไร ?)
    • หมู่เลือดใด (จะบริจาคหรือรับ) จะเข้ากันได้กับหมู่เลือดใด
    • เลือดยังแบ่งย่อยออกเป็นชนิด Rh ซึ่งจะมีผลต่อการให้เลือดและรับเลือดตามข้อที่ 2.

Rh Grouping

วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจให้ทราบว่าเป็นเลือด Rh(+) หรือ Rh(-) เนื่องจากจะเป็นข้อมูลสำคัญในการบริจาค หรือรับบริจาค (ให้) เลือด

อธิบายอย่างสรุป

1. ชนิดเลือด Rh จะมีเพียง 2 อย่างคือ Rh บวก (+) หรือ Rh ลบ (-) ซึ่งจะใช้ประกอบกับชื่อหมู่เลือด A, B, AB และ O ด้วย

โดยเหตุนี้ หมู่เลือดจึงถูกแบ่งย่อยออกได้เป็น 8 ชนิด คือ

A+ B+ AB+ O+

A- B- AB- O-

2. ชนิดเลือดทั้ง 8 ชนิดจะสามารถให้และรับกันได้อย่างไรจึงจะไม่เกิดอันตรายมีดังนี้

หมู่เลือดผู้รับ

ผู้ให้ต้องมีหมู่เลือด

AB+

ทุกหมู่เลือด

AB-

O- A- B- AB-

A+

O- O+ A- A+

A-

O- A-

B+

O- O+ B- B+

B-

O- B+

O+

O- O+

O-

O-

RBC Morphology

RBC Morphology หมายถึงโครงสร้างที่แปรผันของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell, RBC) ในแบบฟอร์มพิมพ์แสดงไว้เป็นหัวข้อถึงไม่มีค่าใดๆ

ความผันแปรที่แตกต่างไปจากมาตรฐานของเซลล์ไม่เลือดแดงปกติย่อมอาจมีผลนำไปสู่โรคโลหิตจางหรือโรคเลือดที่ร้ายแรงอย่างอื่น

วัตถุประสงค์ของการหาโครงสร้างความแปรผันของ RBC

ก็เพื่อต้องการทราบความผิดปกติเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงใน 3 องค์ประกอบหลักดังนี้

  1. ขนาด ของเซลล์เม็ดเลือดแดง
  2. รูปร่าง ของเซลล์เม็ดเลือดแดง
  3. ผนังเซลล์ หรือผิวและสีของเซลล์เม็ดเลือดแดง

NRC

วัตถุประสงค์

เพื่อจะตรวจหาจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง "วัยทารก" ที่มีรูปร่างเล็กมากซึ่งยังมีนิวเคลียสปรากฏอยู่จึงได้ชื่อว่า "Nucleated Red Blood Cells" (หรือมักถูกเรียกย่อๆ ว่า NRC) ว่ามีจำนวนนับได้เท่าใดที่กำลังรถออกมาลอยอยู่ในปริมาตรเลือดซึ่งมีจำนวน WBC อยู่ 100 ตัว

ทั้งนี้ตำราหรืออาจารย์บางท่านก็เรียกศัพท์คำนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า "nRBCs..../100 WBC"

คำอธิบายยังสรุป

1. เซลล์เม็ดเลือดแดงวัยทารกชนิดที่ถูกเรียกว่า Nucleated Red Blood Cells หรือ NRC นั้น มันปรากฏมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากเม็ดเลือดแดงซึ่งโตเต็มวัยกล่าวคือในขณะที่ยังเล็กมาก เนื่องจากมีเพียงนิวเคลียสจึงทำให้ NRC ส่วนน้อยที่อาจหลุดลอยออกมาอยู่ในกระแสเลือดไหลเวียนปะปนอยู่กับเซลล์เม็ดเลือดขาวจนตรวจดูด้วยสายตา (ผ่านกล้องจุลทรรศน์) ก็ยังดูไม่ออกหรือแยกแยะไม่ได้ว่ามันเป็นเม็ดเลือดแดงที่อยู่ท่ามกลางเซลล์เม็ดเลือดขาว

หรือแปลว่า มันเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวปลอมที่ปะปนอยู่กับเซลล์เม็ดเลือดขาว

จึงสรุปว่าหาตัวเลือกโดยไม่แยกจำนวน NRC ออกมาให้ได้เสียก่อน ก็ย่อมจะมีผลทำให้การนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในแต่ละ 1 ลบ.มม. มีความเบี่ยงเบนคลาดเคลื่อนอยู่สูงเกินกว่าความเป็นจริง

2. จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือด (WBC) ที่อยู่สูงหรือต่ำกว่าค่าปกติย่อมบ่งชี้ให้เห็นถึงพยาธิสภาพของโรคต่างๆได้ค่อนข้างกว้างขวางนับเป็นข้อมูลชั้นต้นที่แพทย์ท่านอาจจะใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมืออื่นที่ละเอียดและแม่นยำต่อไป

3. ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ปัจจุบันได้เป็นที่รับทราบกันแพร่หลายแล้วว่าความผิดปกติของกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงอันเป็นผลจากโรคเลือดร้ายแรงบางโรคอาจมีส่วนที่ทำให้เม็ดเลือดแดงอ่อนเยาว์ (NRC) จำนวนหนึ่งมีโอกาสหลุดจากใครกระดูกลอดพ้นเข้าสู่กระแสเลือดได้

เฉพาะเท่าที่ทราบกันแน่ชัดในทางการแพทย์ปรากฏมีเชื้อโรคที่อาจยกตัวอย่างได้เช่นโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงสลาย (hymolytic anemia) สภาวะเกิดพังผืด (fibrosis) ที่ไขกระดูก โรคมะเร็งกระดูกชนิดแพร่กระจาย ฯลฯ

4. เพื่อแก้ปัญหาตามข้อ 3 ข้างต้น ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ท่ามีสูตรการคำนวณเพื่อจะหาจำนวน WBC ที่ได้รับการแก้ไข (หรือจำนวน WBC ที่ถูกต้อง) ให้ตรงกับความเป็นจริงได้ดังนี้

Corrected WBC =

โดยแต่ละคำ มีความหมายดังนี้

Uncorrected WBC count คือ จำนวน WBC ต่อเลือด 1 ลบ.มม. ที่ตรวจนับได้จากเลือดในชั้นต้น

Number of nRBCs per 100 WBC คือ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงเยาว์วัยที่ถูกคัดแยกด้วยอุปกรณ์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิเศษ ในที่นี้คือจำนวน NRB…/100 WBC ซึ่งเป็นหัวข้อการตรวจเลือดในข้อนี้ นั่นเอง

Corrected WBC คือ จำนวน WBC ต่อเลือด 1 ลบ.มม. ที่ถือว่า ได้รับการแก้ไข ปรับแก้ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงแล้ว

กรณีตัวอย่าง ตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยรายหนึ่ง เมื่อทำการตรวจนับ WBC ตามปกติได้จำนวน 17,400 เซลล์/ลบ.มม. ครั้นเมื่อตรวจคัดแยกเม็ดเลือดแดง “ทารก” ที่หลุดเข้าไปปะปนด้วย ได้จำนวน NBC 8 เซลล์/100 WBC อยากทราบว่า จำนวน WBC ที่ถูกต้อง น่าจะมีตัวเลขเป็นเท่าใด

วิธีคำนวณ จากสูตร

Corrected WBC =

=

=

= 16,111 เซลล์/ลบ.มม.

5. ตัวเลขหน่วยนับ WBC จำนวน 16,111 เซลล์/ลบ.มม. ในทีนี้ถือว่าเป็นจำนวนที่ถูกต้อง และสามารถนำไปพิจารณาว่า สูง หรือ ต่ำ กว่าค่าปกติได้ต่อไป

6. โดยเหตุผลจากทุกข้อที่ผ่านมา ในกรณีนี้ NRC…/100 WBC จึงไม่มีค่าปกติให้ต้องแสดงแต่อย่างใด


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม