ความสำคัญของจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความสำคัญของจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง

การวัดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมักจะวัดกันด้วยจำนวนที่มีในปริมาตรของน้ำเลือดขนาด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรและมีรายละเอียดดังนี้

1. รูปแบบ

การแสดงจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมันจะเขียนว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

RBC count...........million/cu.mm.

หรือเป็นตัวเลขค่าเดียวกันกับ

RBC count............. 106/ µL

หมายเหตุ คำว่า RBC count คือ red blood cell count ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่าจำนวนนับเซลล์เม็ดเลือดแดง

2. ค่าปกติ RBC count

ค่าปกติของ RBC count อาจมีความแตกต่างกันได้ตามเกณฑ์อายุและเพศดังนี้

  • ชาย = 4.2 - 5.4 106/ µL
  • หญิง =  3.6 - 5.0 106/ µL
  • เด็ก =  4.6 - 4.8 106/ µL

3. ค่า RBC count สูงกว่าเกณฑ์ปกติ

สาเหตุ

อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้...

  • ร่างกายขาดน้ำก็ย่อมมีผลทำให้มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรน้ำเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรมีระดับสูงขึ้นหรือแปลว่าน้ำเลือดข้นขึ้น
  • ร่างกายอาจขาดออกซิเจนเช่นการอยู่ในที่สูงเช่นอยู่บนยอด ภูเขาเป็นเวลานานเพราะความบางหรือความจางของออกซิเจนก็จะทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนไม่พอใช้จึงผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าปกติ เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงให้ทั่วทุกเซลล์ในร่างกายอย่างเพียงพอให้จงได้ อาการที่ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ไม่ว่ากรณีใดเช่นนี้. มีศัพท์เรียกเป็นการเฉพาะว่า ไฮป๊อกเซีย (hypoxia)
  • อาจจะเกิดจากโรคเลือดที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินปกติ มีศัพท์แพทย์เรียกโรคชนิดนี้ว่า "polycythemia vera"

การแก้ไขขั้นต้น

  • ในกรณีร่างกายขาดน้ำ ก็จำเป็นต้องรีบดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายมีเลือดที่ลดความเข้มข้นลงหรือในกรณีที่อยู่ในที่สูงซึ่งขาดออกซิเจนอย่างผิดปกติก็ควรกลับลงมาจากที่สูงนั้นในไม่ช้าไม่นานร่างกายก็จะคืนกลับสู่สภาพที่สมดุล เซลล์เม็ดเลือดแดงก็จะลดจำนวนลงสู่ระดับปกติ
  • ในกรณีอย่างนี้ ประชาชนในประเทศภูฏานซึ่งอยู่ในดินแดนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากจึงย่อมมีออกซิเจนเบาบางแต่ร่างกายของผู้คนในประเทศนี้นั้นจะเคยชินกับสภาวการณ์เช่นนั้นมาตั้งแต่ลืมตาดูโลกในการนี้ย่อมถือว่าเป็นเรื่องปกติ แปลว่าองค์พระราชาธิบดีจิกมีและประชากรของพระองค์ย่อมไม่เกิดอาการไฮป๊อกเซีย และการมีเซลล์เม็ดเลือดแดงสูงก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติหรืออาการผิดปกติแต่อย่างใด
  • สำหรับร่างกายของผู้ใดที่เริ่มเกิดมีเม็ดเลือดแดงสูงขึ้นอย่างผิดปกติต่อเนื่อง จนอาจเป็นเหตุทำให้โรคเม็ดเลือดคั่งเรื้อรังที่ปอด (chronic obstructive lung disease) หรือโรคหัวใจล้มเหลวเพราะเลือดคั่ง (congestive heart failure) ซึ่งหลวงมีอันตรายถึงชีวิตจึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาจากแพทย์โดยไม่ชักช้าและไม่ควรละเลยเป็นอันขาด

นี่คือประโยชน์จากการเจาะเลือดตรวจค่า CBC

4. ค่า RBC count ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

สาเหตุ

  • อาจเกิดสภาวะโลหิตจาง(anemia) ย่อมแสดงอาการซีดเซียว อ่อนเพลีย หายใจสั้นถี่ หมดเรี่ยวแรง
  • สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งอาจถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์หรือเกิดจากไขกระดูก (bone marrow) ซึ่งเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดแดงมาน้อยเกินไปนับเป็นโรคเลือดอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "erythroblastopenia"
  • สำหรับบางคนสภาวะเม็ดเลือดแดงมีจำนวนต่ำกว่าปกติอาจเกิดขึ้นภายหลังจากการรักษาโรคอื่นด้วยยาบางชนิด หรือรังสีบำบัด (radiation therapy)จนอาจทำให้ไปยับยั้งฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งจากไปชื่อ "อีรินโธรปอยเอติน" (erythropoietin) ซึ่งมีหน้าที่ปกติให้ต้องไปกระตุ้นไขกระดูกเพื่อผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยต่อเนื่องเมื่อฮอร์โมนตัวนี้ถูกยับยั้งก็ย่อมมีผลทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดต่ำลง
  • ในบางกรณีที่เซลล์เม็ดเลือดแดงลดจำนวนลงจากเดิมที่เคยมีอยู่ในระดับปกติโดยไม่ได้รับยาหรือรังสีบำบัดใดใดก็อาจมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากโรคไต (kidney disease) อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ที่เป็นสาเหตุทำให้ส่งฮอร์โมนอีริทโธรปอยเอติน ไปกระตุ้นไขกระดูกได้น้อยกว่าปกติ โดยเหตุนี้เซลล์เม็ดเลือดแดงจึงถูกผลิตออกมาได้น้อยจนตรวจพบได้

สรุปว่าหากตรวจพบว่า เลือดมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ ก็โปรดอย่าได้มองข้ามโรคไต ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญด้วยเหมือนกัน  นอกจากที่กล่าวในข้อที่ผ่านมาแล้วอาจเกิดจากการเสียเลือด (bleeding) หรือเกิดจากโรคมะเร็งไขกระดูก (bone marrow malignancy) หรือเม็ดเลือดแดงอาจถูกทำลายจากภูมิต้านทาน (antibodies) โรคใดโรคหนึ่งก็ได้

การแก้ไขขั้นต้น

  • สำหรับกรณีตามข้อ 4 สาเหตุที่ 3 เมื่อหยุดการรับยาหรือการรับรังสีบำบัดเมื่อใด ฮอร์โมนอีริทโธรปอยเอติน มันก็ควรเริ่มกลับไปทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกตามปกติเมื่อนั้นเซลล์เม็ดเลือดแดงก็น่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นสู่ระดับปกติ
  • จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนมากอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าเกณฑ์ปกติในบางกรณีอาจเกิดจากการขาดแร่ธาตุหรือสารอาหารบางอย่างในร่างกายก็ได้กล่าวคือ หากมีแต่เซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดเล็กอาจเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก  หากมีแต่เซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่อาจเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 และ/หรือกรดฟอริก (folic acid) สำหรับกรณีการมีแต่จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่เกินขนาดนั้นอาจก่อให้เกิดโรคเรื่องร้ายแรงอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "pernicious anemia" (โรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง)
  • สำหรับกรณีอื่นนั้นคงจำเป็นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านตรวจและรักษาตามอาการและสาเหตุต่อไป

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medicalnewstoday.com, Red blood cells (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319457.php), December 16, 2019
National Heart, Blood, and Lung Institute. Iron-Deficiency Anemia. (https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/iron-deficiency-anemia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม