แนะนำหลักการ เลือกซื้อรองเท้า สำหรับเต้นแอโรบิค ใส่ออกกำลังกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แนะนำหลักการ เลือกซื้อรองเท้า สำหรับเต้นแอโรบิค ใส่ออกกำลังกาย

นั้นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญในการออกกำลังกาย ด้วยการเต้นแอโรบิกชนิดก็คือ การเลือกซื้อรองเท้าสำหรับเต้นแอโรบิก เพราะถ้ารองเท้าไม่ดีจะทำให้คุณรู้สึกปวดเข่า ข้อเท้า และส้นเท้าได้ ยิ่งถ้าเต้นบนพื้นที่ไม่ได้มาตรฐานด้วยแล้วยิ่งอันตรายต่อหัวเข่าของคุณ เพราะแรงกระแทกมันเยอะมาก โดยการเลือกซื้อรองเท้าแอโรบิกจะต้องเลือกดังนี้

ดูพื้นบริเวณส้นของรองเท้า

ดูว่าส้นเท้ามีส่วนที่ช่วยรองรับการกระแทก เวลาที่คุณกระโดดจั้มพ์ เพราะส่วนนี้จะช่วยผ่อนแรงที่คุณจะได้รัจากการกระโดดได้ ทำให้คุณไม่ปวดหลัง คุณอาจจะทดสอบง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยการเอาส้นรองเท้ากดลงบนฝ่ามือหรือกดลงบนพื้นเพื่อดูว่าส้นรองเท้ามีการยุบตัวหรือไม่ แล้วค่อยๆ เอานิ้วกดลงบนพื้นรองเท้าเพื่อดูว่ามีความยืดหยุ่นแค่ไหน เท่านี้ก็จะรู้แล้วว่ารองเท้าทีคุณกำลังเลือกซื้อนั้น มีระบบกันกระแทกบริเวณส้นเท้าดีแค่ไหน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พื้นบริเวณอุ้งเท้า

ต้องดูว่าบริเวณนี้ของรองเท้ามีส่วนสำหรับกันเท้าพลิกหรือไม่ เพราะการเต้นแอโรบิกจะมีการขยับหมุนเท้าไปมาดังนั้นจึงมีโอกาสที่เท้าจะพลิกอย่างมาก แต่ถ้ามีส่วนที่กันเท้าพลิกก็จะช่วยเซฟข้อเท้าคุณได้มาก

หัวรองเท้า

ให้ดูว่าบริเวณของหัวรองเท้านั้น เมื่อเอารองเท้าวางบนพื้นเรียบ หัวรองเท้าแอ่นขึ้นบนเล็กน้อยหรือไม่ แต่อย่าเลือกที่แอ่นมากเกินไปเพราะนั่นสำหรับรองเท้าวิ่ง โดยหัวรองเท้าที่แอ่นเล็กน้อยจะช่วยให้คุณจิกเท้าได้ง่าย และหมุนตัวได้คล่องแคล่วมากขึ้น ซึ่งแต่ละคนอาจชอบไม่เหมือนกัน บางคนปลายเท้าใหญ่ หัวรองเท้าก็ควรใหญ่ บางคนปลายเท้าเล็ก หัวรองเท้าก็ควรเป็นทรงเล็ก

ขอบรองเท้า

ให้ดูว่าขอบของรองเท้านั้นสูงมาถึงตาตุ่มหรือไม่ เพราะขอบที่สูงจนถึงตาตุ่มจะช่วยพยุงเท้าเอาไว้ทำให้เท้าไม่พลิก ทำให้ข้อเท้าไม่ได้รับอันตรายได้ง่าย

ขนาดของรองเท้า

ควรเลือกรองเท้าเต้นแอโรบิกให้ใหญ่กว่าเบอร์เท้าตัวเองปรกติ 1 เบอร์ เพราะเวลาที่เต้นแอโรบิกเท้าจะบวมมากกว่าปรกติ และควรใช้รองเท้าร่วมกับถุงเท้าหนาๆด้วย เพราะป้องกันแรงเสียดทานที่เท้าจะทำให้เท้าบาดเจ็บได้

ดูวันผลิต

นอกจากเรื่องของสรีระแล้ว ก็ควรดูวันที่ผลิตด้วย เพราะรองเท้าสำหรับเล่นกีฬานั้น มักจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ดังนั้นควรเลือกวันผลิตที่ใหม่ๆ ไม่ควรเลือกที่ผลิตเกิน 6 - 12 เดือน เพระเมื่อเอามาใช้งานซักระยะชิ้นส่วนต่างๆ ของรองเท้าก็เริ่มเสื่อมตามเวลาแล้ว

อย่าคิดว่ารองเท้าแพงเกินไป

รองเท้าสำหรับเต้นแอโรบิกก็จะมีราคาสูงกว่ารองเท้าธรรมดาประมาณ 2 เท่าตัว และอาจจะต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ด้วยประมาณทุกๆ 6 - 12 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่ถ้าเทียบกับอาการเจ็บป่วยจากการออกกำลังกายแบบใช้รองเท้าธรรมดา ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาจจะสูงกว่าค่าซื้อรองเท้าแอโรบิกดีๆ เสียอีก ดังนั้นจึงแนะนำให้ซื้อรองเท้ามาใช้ ให้เหมาะกับกิจกรรมการออกกำลังกายดีกว่า

การเลือกรองเท้ากีฬาดีๆ นอกจากจะช่วยให้คุณออกกำลังได้อย่างมีความสุข และไม่เกิดอาการบาดเจ็บแล้ว ยังช่วยให้คุณปนะหยัดเวลาในการไปหาหมอเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บได้ด้วยดังนั้นจึงต้องเลือกให้ดีและมีราคาที่เหมาะสม


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Choose the Right Gym Shoe. Health.com. (https://www.health.com/fitness/how-to-find-the-right-gym-shoe)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม