คำแนะนำในการรับประทานอาหารเช้าสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คำแนะนำในการรับประทานอาหารเช้าสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ขั้นแรกเลยก็คือกินมันเข้าไป

แม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอาจจะสูงในตอนเช้า แต่คุณก็ไม่ควรอดอาหารเช้า งานวิจัยพบว่าการไม่รับประทานอาหารเช้านั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและภาวะดื้อต่ออินซูลิน และยังพบอีกว่าผู้ที่รับประทานอาหารเช้านั้นสามารถต้านทานการรับประทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงได้ระหว่างวันหลังจากนั้น ควรพยายามรับประทานอาหารเช้าที่เวลาเดียวกันในทุกวัน เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลในคงที่ตลอดทั้งวันนั้นย่อมหมายถึงการรับประทานอาหารให้สม่ำเสมอและคงที่ในทุกวัน

ทานอาหารรเช้าที่บ้าน

คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทานอาหารนอกบ้านได้แต่อย่างน้อย 1 มื้อที่คุณควรรับประทานอาหารที่บ้านก็คือมื้อเช้า เนื่องจากการทานอาหารเช้าตามร้านอาหารนั้นอาจจะให้พลังงานที่สูงมากโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ในขณะที่อาหารเช้าง่ายๆ ที่บ้านเช่นข้าวโอ๊ต 1 ถ้วยและนมไขมันต่ำ ½ แก้วนั้นให้พลังงานน้อยกว่ามาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เติมผลไม้ในซีเรียลเสมอ

คุณควรเริ่มจากการรับประทานซีเรียลชนิดที่ให้เส้นใยอาหารอย่างน้อย 5 กรัมต่อถ้วย (งานวิจัยพบว่าผู้ที่รับประทานธัญพืชเป็นประจำนั้นจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน) และคุณสามารถทำให้มันดียิ่งขึ้นได้โดยการเติมผลไม้สดครึ่งถ้วยลงในซีเรียลเช่นสตรอเบอร์รี่หรือบลูเบอร์รี่

โรย flaxseed 1-2 ช้อนโต๊ะลงบนซีเรียลหรือโยเกิร์ต

เมล็ด flaxseed นั้นอุดมไปด้วยโปรตีนและเส้นใยอาหารและยังดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดและหัวใจ นอกจากนั้นยังมีกรดไขมันที่ร่างกายนำไปใช้เหมือนกับกรดไขมันโอเมกา 3 ที่คุณจะได้จากการกินปลาอีกด้วย flaxseed ยังมี cholesterol ที่ต่ำและช่วยลดการอักเสบได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันอร่อย! ให้เก็บเมล็ดเหล่านี้ไว้ในตู้เย็นและนำมาบดให้ได้ปริมาณตามต้องการก่อนรับประทาน

ทานข้าวโอ๊ตหลายๆ วันใน 1 สัปดาห์โดยเฉพาะในหน้าหนาว

ข้าวโอ๊ตนั้นเป็นอาหารเช้าที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะให้เส้นใยอาหารถึง 4 กรัมต่อถ้วยซึ่งจะช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ งานวิจัยพบว่าการรับประทานข้าวโอ๊ตสัปดาห์ละ 5-6 ครั้งนั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ 39% ข้าวโอ๊ตยังช่วยให้คุณกินอาหารอย่างอื่นน้อยลงระหว่างวัน งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานข้าวโอ๊ตในตอนเช้านั้นรับประทานอาหาเที่ยงที่มีพลังงานน้อยกว่ากลุ่มที่ทานซีเรียลใส่น้ำตาลเป็นอาหารเช้าถึง 30%

ทานนมหรือโยเกิร์ตไขมันต่ำเป็นอาหารเช้า

นักวิจัยพบว่ายิ่งรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีมากขึ้นเท่าไหร่นั้นจะยิ่งทำให้มีโอกาสในการเป็นโรคกลุ่มเมตะบอลิกซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและหัวใจลดลง วิตามินดียังช่วยให้ร่างกายสร้างอินซูลินได้มากขึ้น และการรับประทานแคลเซียมเพิ่มขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการมีระดับ cholesterol ลดลง การดื่มนมและรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมนั้นยังช่วยลดน้ำหนักได้เช่นกัน

เลือกโยเกิร์ตรสธรรมดาไขมันต่ำแทนโยเกิร์ตผลไม้

คุณจะสามารถรับประทานคาร์โบไฮเดรตได้ลดลงถึง 11 กรัม อย่าโดนหลอกว่าโยเกิร์ตทุกชนิดนั้นจะให้พลังงานเท่ากับโยเกิร์ตรสธรรมดา เพราะมันให้พลังงานน้อยกว่าโยเกิร์ตรสวานิลลาถึง 50 แคลอรี

เลือกทานส้มแทนน้ำส้ม

น้ำผลไม้นั้นเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและไม่มีเส้นใยอาหารที่พบในผลไม้สด และผลไม้สดนั้นยังจะทำให้คุณอิ่มได้นานยิ่งขึ้นอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากคุณต้องการดื่มน้ำผลไม้ ให้ใช้แก้วขนาด 4 ออนซ์

น้ำส้มปริมาณ 4 ออนซ์นั้นจะให้คาร์โบไฮเดรต 12 กรัมซึ่งดีกว่าน้ำองุ่นที่ให้พลังงาน 16 กรัม

เติมซินนาม่อนในชาหรือกาแฟ

อีกวิธีหนึ่งในการรับประทานซินนาม่อนซึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เพิ่มขึ้นก็คือการเติมลงในชาหรือทานชาซินนาม่อนด้วยการต้มแท่งซินนาม่อนลงในน้ำร้อน หรือเติมผลซินนาม่อนครึ่งช้อนชาลงในผงกาแฟก่อนเริ่มชง

เตรียมข้าวโอ๊ตจำนวนมากในเช้าวันอาทิตย์

รับประทานเพียงเท่าที่ต้องการก่อนที่นำที่เหลือแช่ตู้เย็นไว้ ก่อนนำมาอุ่นเมื่อต้องการรับประทานในแต่ละวัน คุณสามารถเติมลูกเกดหรือซินนาม่อนได้หากชอบ วิธีนี้จะช่วยลดเวลาให้การเตรียมอาหารเช้าได้มาก

เติมรสชาติให้กับข้าวโอ๊ตด้วยตัวเอง

แทนที่จะซื้อข้าวโอ๊ตที่มีรสชาติต่างๆ ซึ่งมักจะหมายถึงว่ามีการเติมน้ำตาลและเกลือและใช้ข้าวโอ๊ตที่ผ่านการแปรรูปมากขึ้น ให้ลองเติมรสชาติให้กับข้าวโอ๊ตเองด้วยการหั่นแอปเปิ้ลหรือพีชลงไปเพื่อเพิ่มความหวานและเส้นใยอาหาร ก่อนโรยด้วยผงซินนาม่อนที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Easy Breakfast Ideas for Type 2 Diabetes. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/type-2-diabetes/diet/breakfast-ideas-for-diabetes/)
What to Eat for Breakfast When You Have Diabetes. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/best-breakfast-choices-and-diabetes-1087468)
Breakfast for type 2 diabetes: Smoothies, oatmeal, eggs, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317067)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป