กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

10 สาเหตุที่ทำให้คุณเมนส์ไม่มา

การขาดประจำเดือนไม่ได้หมายความถึงการตั้งครรภ์เสมอไป แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่คุณควรรู้เพื่อแก้ไขก่อนจะสายเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
10 สาเหตุที่ทำให้คุณเมนส์ไม่มา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ประจำเดือนไม่มา อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ หรือความผิดปกติอื่นๆ ก็ได้
  • ความเครียด เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา รวมไปถึงการเข้าสู่วัยทอง ความเจ็บป่วย หรือการเปลี่ยนแปลงตารางชีวิตกะทันหัน
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็อาจทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ จึงควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาสามารถทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ หากหลังจากใช้ยารักษาโรคต่างๆ แล้วประจำเดือนไม่มา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • หากคุณประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 2-3 เดือน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงได้ที่นี่)

ไม่มีอะไรที่จะทำให้ผู้หญิงเรารู้สึกหวาดกลัว หรือเป็นกังวลได้เท่ากับ "เมนส์ไม่มา" อีกแล้วยกเว้นแต่ว่า ผู้หญิงคนนั้นอยากตั้งครรภ์   ที่เป็นเช่นนี่เพราะสิ่งแรกที่เราคิดถึงเมื่อประจำเดือนไม่มาก็คือ "เรากำลังตั้งครรภ์หรือไม่"  

อย่างไรก็ดี การตั้งครรภ์ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ขาดประจำเดือนได้ แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกมากมาย  บางสาเหตุเราอาจนึกไม่ถึงก็ได้   

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

10 สาเหตุที่พบได้บ่อย หากเมนส์ไม่มาตามปกติ

1. ความเครียด

ความเครียดส่งผลต่อหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตของเรารวมถึงประจำเดือนด้วย บางครั้งหากเราเครียดมาก ร่างกายจะลดการหลั่งฮอร์โมน GnRH ทำให้เราไม่เกิดการตกไข่ และมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับต่ำทำให้ไม่มีประจำเดือน  

คุณอาจลองปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาล เพื่อช่วยหาวิธีผ่อนคลายและกลับมามีประจำเดือนอีกครั้งได้ บางครั้งอาจจะต้องรอหลายเดือนก่อนที่ร่างกายจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ

2. ความเจ็บป่วย

การเจ็บป่วยสั้นๆ อย่างกะทันหัน หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง  ล้วนแต่สามารถทำให้คุณเมนส์ไม่มา หรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติได้ หากคุณคิดว่า ประเดือนของคุณขาดเนื่องจากเหตุผลนี้ ควรปรึกษาแพทย์ว่า ประจำเดือนควรกลับมาเป็นปกติเมื่อไหร่

3. การเปลี่ยนแปลงตารางชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเปลี่ยนแปลงตารางชีวิตอาจทำให้นาฬิกาของร่างกายเกิดความสับสนได้ โดยเฉพาะหากเปลี่ยนการทำงานในตอนกลางวันเป็นกลางคืน หากคุณต้องมีการเปลี่ยนกะการทำงานและเกิดปัญหานี้ขึ้น 

ลองมองหาวิธีที่จะได้ทำงานในช่วงเวลาเดียวกันบ่อยๆ หรืออย่างน้อยก็เป็นกะที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง

4. การเปลี่ยนยา

หากคุณกำลังรับประทานยาชนิดใหม่และทำให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงนี้ ทั้งนี้ผลข้างเคียงนี้พบบ่อยสำหรับการคุมกำเนิดหลายๆ วิธี 

หากคุณเปลี่ยนแปลงการใช้ยาควรปรึกษาเรื่องผลข้างเคียงของยาต่อประจำเดือนของคุณทุกครั้งเพราะนี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้แม้คุณคิดว่า คุณอาจเปลี่ยนแปลงการรับประทานยาเพียงเล็กน้อยก็ตาม

5. น้ำหนักเกิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การที่คุณมีน้ำหนักเกินนั้นจะทำให้ฮอร์โมนของคุณเปลี่ยนแปลงประจำเดือน หรือทำให้เมนส์ไม่มาได้  ผู้หญิงส่วนใหญ่จะกลับมามีประจำเดือนและมีลูกได้ตามปกติเมื่อสามารถลดความอ้วนได้แม้ว่าจะยังคงมีน้ำหนักเกินอยู่ก็ตาม

6. น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

หากคุณมีไขมันในร่างกายไม่เพียงพอ  หรือน้ำหนักลดลงมากกว่า 10% ของ ideal body weight คุณก็จะไม่มีประจำเดือนที่สม่ำเสมอเช่นเดียวกัน หรือบางครั้งอาจทำให้เกิดการขาดประจำเดือนได้ โดยทั่วไปการเพิ่มน้ำหนักจะช่วยให้ประจำเดือนของคุณกลับเข้าสู่ปกติได้  

ทั้งนี้การมีไขมันในร่างกายไม่เพียงพอเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเมนส์ไม่มาที่พบบ่อยในผู้หญิงที่ออกกำลังกายอย่างหนัก หรือเป็นนักกีฬาอาชีพ ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับการกินอาหารที่ผิดปกติ เช่น Anorexia nervosa, bulimia nervosa ก็อาจมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอเช่นกัน

7. นับวันผิด

รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปรอบเดือนของผู้หญิงจะอยู่ที่ 21-35 วัน  โดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน ซึ่งไม่ได้เป็นจริงสำหรับทุกคน บางครั้งเราเชื่อว่า ประจำเดือนของเรามาช้ากว่าปกติแม้ว่าในความจริงแล้วมันอาจเกิดจากการที่เราคำนวนวันผิดพลาด 

หากคุณมีรอบเดือนที่ไม่สม่ำเสมอแต่รู้วันที่คุณตกไข่ ให้นับไปอีก 2 สัปดาห์หลังจากที่คุณมีการตกไข่ นั้นอาจจะทำให้สามารถติดตามประจำเดือนของตนเองได้ง่ายขึ้น

8. คุณกำลังเข้าสู่วัยทอง

ช่วงก่อนเข้าสู่วัยทองนั้นเป็นช่วงที่คุณกำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงจากวัยเจริญพันธุ์ไปเป็นวัยที่ไม่สามารถเจริญพันธุ์ได้เพราะรังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศน้อยลงๆ แต่กลไกของต่อมใต้สมองก็ยังกระตุ้นให้เกิดไข่ตกอยู่ได้บ้าง  เป็นผลให้ประจำเดือนเริ่มเกิดความผิดปกติ เช่น มาถี่ มาห่างขึ้น มากะปริดกะปรอย ได้

9. วัยทอง

วัยทองเป็นช่วงเวลาที่รังไข่จะไม่ฮอร์โมนเพศแล้ว  กลไกของต่อมใต้สมองก็ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ได้  ดังนั้นคุณจึงไม่มีการตกไข่ หรือมีประจำเดือนอีก วัยทองนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

โดยทั่วไปผู้หญิงมักเข้าสู่วัยทองเมื่ออายุ 45-51 ปี  หรือบางรายอาจเข้าสู่วัยทองเร็วเนื่องจากจะการผ่าตัด หรือการใช้สารเคมีเช่นยาเคมีบำบัดได้

10. การตั้งครรภ์

สุดท้ายแล้วการที่ประจำเดือนไม่มานั้นอาจหมายความว่า "คุณกำลังตั้งครรภ์"  ทั้งนี้การตรวจการตั้งครรภ์สามารถช่วยบอกได้ว่า คุณเมนส์ไม่มาจากการตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะและด้วยเลือดเพื่อตรวจหาฮอร์โมน beta-hCG

เมนส์ไม่มา แล้วต้องทำอะไรต่อไป?

หากคุณตั้งครรภ์ คุณควรไปฝากครรภ์ แต่หากผลทดสอบการตั้งครรภ์เป็นลบ ชุดทดสอบส่วนมากจะแนะนำให้คุณรออีกประมาณ 1 สัปดาห์แล้วทำการทดสอบซ้ำ หากผลการทดสอบครั้งที่สองยังเป็นลบ หรือคุณคิดว่าทราบสาเหตุที่ทำให้เมนส์ไม่มาแล้วนั้น 

คุณก็อาจไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย บางครั้งอาจต้องมีการตรวจเลือด หรือเริ่มใช้ยา เพื่อช่วยให้คุณกลับมามีประจำเดือนตามปกติ

ประจำเดือนไม่มาเป็นได้ทั้งสัญญาณของการตั้งครรภ์ และความผิดปกติอื่นๆ ในร่างกาย หากคุณประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 2-3 เดือน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อรพิน จิตคุณธรรมกุล, ภาวะขาดระดู (Secondary amenorrhea) (http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1099:secondary-amenorrhea&catid=45&Itemid=561), 2 มีนาคม 2558
ชำนาญ เกียรติพีรกุล, Abnormal Menstruation (http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=264:abnormal-menstruation&catid=39&Itemid=360), 13 พฤศจิกายน 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม