ชวนอ่าน 8 สาเหตุที่ทำให้คุณเรอ

เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ชวนอ่าน 8 สาเหตุที่ทำให้คุณเรอ

“ การเรอ ” ถือเป็นปฏิกิริยาอย่างหนึ่งของร่างกายที่ทำให้อากาศจากกระเพาะอาหารถูกขับออกมาผ่านทางช่องปาก และมักเกิดขึ้นเมื่อกระเพาะอาหารขยายตัวหลังจากมีการกลืนก๊าซเข้าไปในร่างกายมากเกินไป ซึ่งการเรอจะช่วยคลายความรู้สึกอึดอัดได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม มีหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้คุณเรอ ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่การทานอาหารบางชนิด หรือการเป็นโรคร้าย แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1. เครื่องดื่มบางชนิด

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถูกนำมาใช้ผลิตน้ำอัดลม โซดา เบียร์ หรือเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ที่มีฟอง ดังนั้นการบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้จึงทำให้มีอากาศในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น และมันจะถูกขับออกทางปาก นอกจากนี้การจิบน้ำหรือเครื่องดื่มชนิดร้อนก็สามารถทำให้คุณกลืนอากาศเข้าไป และทำให้เรอออกมาเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. แผลในกระเพาะอาหาร

ในบางครั้ง การเรอสามารถเป็นสัญญาณของการมีแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งการติดเชื้อสามารถทำให้เกิดแผลได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าตอนนี้คุณมีแผลในกระเพาะอาหาร คุณก็อาจเรอมากผิดปกติ และรู้สึกอิ่มหรือท้องอืดหลังจากทานอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากนี้คุณอาจรู้สึกเจ็บท้องหลังทานอาหาร ซึ่งแผลมักจะหายภายใน 2 เดือนเมื่อเข้ารับการรักษา

3. วิธีการทานอาหาร

ถ้าคุณทานอาหารปริมาณมากในครั้งเดียว หรือทานเร็วเกินไป คุณก็จะกลืนอากาศส่วนเกินเข้าไปด้วย ซึ่งอากาศส่วนมากจะไม่ได้เข้าไปในกระเพาะอาหาร และจะคงอยู่ในหลอดอาหารจนกว่าคุณจะเรอออกมา อย่างไรก็ดี คุณควรทานอาหารให้ช้าลง และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด รวมถึงตักอาหารทีละน้อยๆ

4. โรคแพ้แลคโตสในนม

มีหลายคนที่ร่างกายไม่มีโปรตีนที่ช่วยย่อยสลายแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่พบได้ในนม ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนั้น ลำไส้ของคุณจะไม่สามารถย่อยอาหารที่มีนมได้อย่างสมบูรณ์ แต่แลคโตสจะไปหมักหมมอยู่ในกระเพาะอาหาร และนั่นก็จะทำให้เกิดก๊าซส่วนเกิน ส่งผลให้คุณเรอได้นั่นเอง นอกจากอาการที่ว่านี้ คุณอาจรู้สึกว่าท้องบวมและเจ็บ หากรู้ตัวว่าแพ้แลคโตสในนม คุณก็ควรอยู่ให้ห่างจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม และเลือกยี่ห้อที่มีการระบุว่าปลอดแลคโตส หรือคุณอาจทานยาที่ช่วยแลคโตสก็ได้ค่ะ

5. กรดไหลย้อน

ในบางครั้ง กรดในกระเพาะอาหารอาจไหลย้อนกลับมาที่ลำคอของคุณ ซึ่งมันมีแนวโน้มเกิดขึ้นเมื่อคุณตั้งครรภ์ เป็นโรคอ้วน หรือกระเพาะอาหารไม่ย่อยอาหารได้เร็วเท่าที่ควร เมื่อคุณรู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ในลำคอ คุณก็จะพยายามกลืนเพื่อกำจัดอาการดังกล่าว ซึ่งการทำเช่นนี้อาจทำให้คุณเรอได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม หากอาการยังอยู่ในระดับเบา การทานยาลดกรดที่ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ หรือแพทย์อาจจ่ายยาที่มีฤทธิ์แรงขึ้น แต่หากอาการของโรคกรดไหลย้อนอยู่ในระดับร้ายแรง แพทย์อาจรักษาโดยวิธีผ่าตัดค่ะ

6. โรคหอบหืด

อาจฟังดูแปลก แต่การเรอสามารถเป็นสัญญาณของโรคหอบหืด สำหรับสาเหตุที่เป็นเช่นนี้คือ ถ้าทางเดินหายใจของคุณเกิดการอักเสบ ร่างกายจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้อากาศเข้าไปในปอด ซึ่งมันจะทำให้เกิดแรงดันส่วนเกินที่กระบังลม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถบังคับให้ก๊าซเข้าไปในคอและทำให้คุณเรอได้นั่นเอง

7. ความเครียด

การมีปัญหากับลำไส้สามารถพบได้มากในคนที่วิตกกังวลหรือมีอาการซึมเศร้า ถ้าคุณประหม่า คุณอาจกลืนอากาศเข้าไปในร่างกายเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางคนอาจตั้งใจทำ แต่ก็อาจไม่รู้ตัวว่ามีก๊าซเข้าไปในร่างกายเป็นจำนวนมาก และนั่นก็นำไปสู่การเรอได้ในที่สุด หากคุณสามารถจัดการกับความเครียดได้ คุณก็อาจเรอน้อยลง

8. ติดเชื้อ

H. pylori เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุในช่องท้อง ซึ่งมันสามารถนำไปสู่การเกิดความรู้สึกเจ็บหรือบวม อีกทั้งยังกระตุ้นให้กระเพาะอาหารผลิตกรดออกมามากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ คุณอาจเรอมากกว่าปกติ หรืออาจสังเกตว่าอาการปวดตื้อในท้องไม่หายไปอย่างสมบูรณ์แม้ว่าผ่านไปหลายสัปดาห์แล้ว หากแพทย์ตรวจพบว่าคุณมีเชื้อโรคชนิดที่ว่า เขาก็อาจจ่ายยาปฏิชีวนะให้ค่ะ นอกจากนี้ยาที่ช่วยหยุดการผลิตกรดในกระเพาะอาหารก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

        หากมองเพียงผิวเผิน การเรออาจเป็นเพียงหนึ่งในรูปแบบของการระบายอากาศในร่างกายเท่านั้น แต่ถ้าพิจารณาให้ถี่ถ้วน เราจะพบว่าการเรอก็สามารถเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าคุณกำลังเป็นโรคร้ายหรือมีปัญหาสุขภาพ หากคุณหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของการเรอแล้วแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ

ที่มา : https://www.webmd.com/digestiv...


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why Do You Burp? What Your Burps Can Tell About Your Health. Health.com. (https://www.health.com/condition/digestive-health/cause-of-burping-health)
Belching: Causes, Emergency Issues, and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/belching)
Burping & Excessive Belching: Why It Happens & How To Make It Stop. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/burping-reasons#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)