ชวนอ่าน 8 เหตุผลที่ทำให้เล็บของคุณเปราะง่าย

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ชวนอ่าน 8 เหตุผลที่ทำให้เล็บของคุณเปราะง่าย

การดูแลเล็บได้กลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรความงามของสาวๆ หลายคน การมีเล็บที่ดูสะอาดสะอ้าน และมีสีสันสดใสชวนมองไม่เพียงแต่ทำให้คุณดูดีขึ้นเท่านั้น แต่มันยังช่วยทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะเล็บเป็นอีกหนึ่งบริเวณที่คนอื่นสามารถสังเกตได้ง่าย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการหลายรายได้คิดค้นทรีทเมนต์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงเล็บ แต่บางคนก็อาจพบว่า เล็บของตัวเองก็ยังคงไม่สวย หรือดูมีสุขภาพไม่ดี อย่างไรก็ดี บางทีมันอาจเกิดจากนิสัยบางอย่างของคุณก็ได้ค่ะ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1. ล้างเล็บไม่เหมาะสม

แม้ว่าการใช้ยาทาเล็บสามารถช่วยเนรมิตให้เล็บของคุณมีสีสันมากขึ้น แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่คุ้นชินกับการกำจัดยาทาเล็บโดยการลอกออก การทำเช่นนี้อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ความจริงแล้ว มันกลับทำลายชั้นพื้นผิวที่ปกป้องโครงสร้างภายในเล็บของคุณ ส่งผลให้เล็บเปราะง่ายได้ในที่สุด ทั้งนี้การใช้น้ำยาล้างเล็บถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในกรณีที่สารเคมีไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อเล็บ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. กัดเล็บ

การมีนิสัยที่ชอบกัดเล็บถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เล็บแตกหักหรือเปราะค่ะ แม้ว่าการกัดเล็บเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยคลายเครียด หรือความวิตกกังวลสำหรับบางคน แต่มันกลับทำให้โครงสร้างเล็บเสียรูป และสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ร้ายแรง นอกจากนี้การที่สารเคลือบตามธรรมชาติบนเล็บถูกทำลาย ก็สามารถเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของเล็บ

3. ไม่ใส่ถุงมือป้องกัน

หลายคนอาจไม่ทันคิดว่า การถือผลิตภัณฑ์เคมีที่ใช้สำหรับทำความสะอาดสามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพเล็บของคุณ สารหลายชนิดในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่งผลต่อสารเคลือบเล็บ และทำให้ผิวหนังชั้นนอกเสียหาย อย่างไรก็ดี มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรใส่ถุงมือป้องกันสารเคมีในขณะที่ทำงานบ้าน โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องสัมผัสกับผงซักฟอก น้ำยาฟอกขาว หรือผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน

4. ใช้เล็บในการทำสิ่งต่างๆ   

การมีเล็บอาจช่วยให้คุณทำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่คุณไม่ควรใช้เล็บเป็นเครื่องมือค่ะ เมื่อคุณใช้เล็บแกะสลาก เปิดฝาบรรจุภัณฑ์ หรือทำอะไรก็ตาม มันจะทำให้โครงสร้างเล็บอ่อนแอ และเพิ่มโอกาสที่เล็บจะเกิดการแตกหัก ทางที่ดีให้คุณใช้อุปกรณ์อื่นๆ ในการทำสิ่งเหล่านี้ ถ้าจะให้ดี คุณก็ควรใส่ถุงมือด้วยค่ะ

5. ไม่เติมความชุ่มชื้นให้เล็บ

การที่เล็บของคุณดูแห้งและไม่มีชีวิตชีวานั้น ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะว่าร่างกายขาดน้ำก็ได้ค่ะ เล็บมีความเหมือนกับผิวหนังตรงที่มันจำเป็นต้องได้รับการเติมความชุ่มชื้นเป็นประจำเพื่อเติบโต และลดความเสียหายที่เกิดจากสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ให้คุณทาโลชั่นที่พื้นผิวของเล็บ และอย่าลืมดื่มน้ำให้มากขึ้นค่ะ

6. ไม่สนใจผิวหนังชั้นนอก

ผิวหนังรอบๆ เล็บ หรือ Cuticles นั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของเล็บ เพราะมันช่วยปกป้องเล็บจากปัจจัยภายนอก ซึ่งมีบางคนที่ละเลยการดูแลเล็บส่วนนี้ อย่างไรก็ดี คุณควรทำให้เล็บส่วนนี้มีความชุ่มชื้นเสมอ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อ Cuticles โดยเฉพาะ หากต้องการกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ให้คุณใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Cuticle remover ค่ะ

7. ใช้เจลทาเล็บมากเกินไป

การใช้เจลทาเล็บมากเกินไปสามารถส่งผลเสียต่อโครงสร้างของเล็บจริง แม้ว่ามันจะทำให้เล็บดูดี และติดทนนานขึ้น แต่มีสารอาหารสำคัญหลายชนิดที่สลายไปเมื่อคุณเช็ดมันออก อย่างไรก็ดี มันเป็นเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณควรให้ผู้เชี่ยวชาญทำให้ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาเพื่อทำความสะอาดเล็บให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอันตรายต่อเล็บจริง

8. ตะไบเล็บไม่ถูกต้อง

การตะไบเล็บเป็นวิธีที่ช่วยทำให้เล็บเป็นทรงสวย ในกรณีที่คุณทำถูกวิธี แต่ปัญหาคือ มีบางคนใช้ตะไบทำความสะอาดพื้นผิวของเล็บ ซึ่งมันสามารถทำให้เล็บอ่อนแอ เปราะบาง และแม้แต่เกิดการติดเชื้อ หากคุณไม่รู้วิธีการตะไบเล็บที่ถูกต้อง คุณก็อาจไปให้ช่างทำเล็บที่มีความชำนาญทำแทนค่ะ

หากคุณพบว่าตัวเองมีนิสัยตามที่เรากล่าวไปล่ะก็ ถ้าอยากให้เล็บแข็งแรง และมีสุขภาพดีไปนานๆ คุณก็ควรรีบปรับปรุงตัวเองด่วน ไม่อย่างนั้นคุณอาจต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง

ที่มา : https://steptohealth.com/8-reasons-your-nails-are-brittle/


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Brittle Nails: Causes, Treatment, and Prevention. Healthline. (https://www.healthline.com/health/brittle-nails)
Yaemsiri S, et al. (2010). Growth rate of human fingernails in healthy American young adults. DOI: (https://doi.org/10.1111/j.1468-3083.2009.03426.x)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)