อ่านฉลากก่อนใช้ยาด้วยนะจ๊ะ

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
อ่านฉลากก่อนใช้ยาด้วยนะจ๊ะ

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลางดึกอันสงบเงียบ… หลายคน (รวมทั้งดิฉันด้วย ฮ่า…) กำลังหลับฝันหวาน…

“กริ๊งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง………………….”

ดิฉันงัวเงียตื่นมาขยี้ตา + เช็ดคราบน้ำลายมุมปาก (แหะ ๆ) อย่างงงงวยกับเสียงดังที่กำลังแผดก้องทั่วอาคาร ก่อนจะร้องแทบไม่เป็นภาษา ไม่ใช่เพราะนึกขึ้นได้ว่าตัวเองกำลังอยู่เวรดึก และต้องตื่นมาปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีผู้ป่วยมากดกริ่งรับยา แต่เพราะนึกขึ้นได้ว่าเสียงที่ดังอยู่ มันใช่เสียงกริ่งกดเรียกเพื่อรับยาซะที่ไหนล่ะ แต่ดันเป็นเสียงสัญญาณเตือนไฟไหม้นี่เฟ้ย!

แว้ก…ก…ก…ก……. @#$%^&*^%$#$%^&&^%

rx13

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

…คิดได้ดังนั้น สองขาของดิฉันก็รู้งาน พาให้เจ้าของขาวิ่งหน้าตาตื่นออกมาจากห้องพักเวรนอนทันที ซึ่งเมื่อวิ่งออกมาและมองผ่านกระจกหน้าเคาน์เตอร์จ่ายยา ก็เจอคุณป้าคนหนึ่งยืนยิ้มแหย ๆ อยู่หน้าปุ่มกดบอกสัญญาณไฟไหม้ ดิฉันกำลังอ้าปากจะถามไปว่า ‘ไฟไหม้ตรงไหนคะ’ คุณป้าก็ชิงพูดเสียงดังฟังชัดออกมาก่อน ด้วยเนื้อหาแบบละครจบหักมุมมั่ก ๆ ว่า…

หมอ… ป้ามารับยาจ้ะ

 

ดิฉันจึงถึงบางอ้อ…

โถ… คุณป้ากรดกริ่งสัญญาณไฟไหม้แทนกริ่งเรียกรับยา เวรกั้มมมมม…เวรกรรม!

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

rx10

 

เสียงดังกังวานของสัญญาณไฟไหม้ทำเอาหลายคนแตกตื่นกันใหญ่ คุณพี่คุณน้องพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินก็วิ่งมาที่ห้องยาเพื่อสอบถามหาต้นตอไฟไหม้ ก่อนจะวิ่งกลับไปหาวิธีปิดสัญญาณหลอก(ลวง)ด้วยอารมณ์ทั้งโล่งอกทั้งเซ็งอารมณ์ทั้งขบขันหลังรู้ความจริง กว่าเสียงจะสงบลงได้ก็กินเวลาไปพักใหญ่ เฮ้อ… ผู้ป่วยและพยาบาลบนหอผู้ป่วยชั้นอื่น ๆ จะขวัญกระเจิงกันขนาดไหนนะ ผู้ป่วยหนักจะไม่ตกใจจนลืมป่วย หอบเครื่องช่วยชีวิตวิ่งหนีไฟกันแล้วหรือนั่น จะเป็นอย่างไรดิฉันก็ไม่ได้ถามไถ่เพราะมัวแต่ยืนเพลียจิต …หัวเราะไม่ได้ ร้องไห้ไม่ออก… อยู่น่ะค่ะ …โฮ่ ๆ

 

จากเหตุการณ์นี้ ต่อไปถ้ามีใครจะมากล่าวหาว่าผู้ป่วยในชนบทไม่รู้หนังสือเมื่อเทียบกับผู้ป่วยในเมืองแล้วล่ะก้อ… ดิฉันคงต้องขอค้านหัวชนฝาล่ะค่ะ เพราะคุณป้าเจ้าของรอยยิ้มพิมพ์ใจท่านนี้ได้พิสูจน์ให้ดิฉันเห็นแล้วว่า ทักษะทางภาษาเลิศล้ำจริง ๆ มีอย่างที่ไหน… ป้ายบอก “รับยากรุณากรดกริ่ง” บนป้ายที่วางอยู่ข้าง ๆ ตะกร้ารับใบสั่งยาแท้ ๆ ไม่อ่าน มันคงง่ายเกินไปที่จะอ่านน่ะค่ะ …ดิฉันเดาว่างั้น (ฮ่า…) คุณป้าจึงได้เลือกไปอ่านคำว่า “PUSH” ตรงปุ่ม “Fire Alarm” ที่ฝาห้องอีกด้านแทน ธ่อ…

 

 

แหม… อดไม่ได้ที่จะหยิบยกเรื่องจริงไม่อิงนิยายเรื่องนี้มาจิกนิดกัดหน่อย นินทาผู้ป่วยบ่อย ๆ ทานข้าวอร่อยดี (ฮ่า…) rx03น่ะค่ะ ดิฉันล่ะเหนื่อยใจจริง ๆ ที่หลายต่อหลายครั้งอดคิดไม่ได้ว่าผู้ป่วยที่น่ารักของดิฉันไม่ค่อยรักการอ่านซักเท่าไหร่ แหม… ดิฉันก็ไม่ได้คาดหวังถึงการอ่านหนังสือเป็นเล่ม ๆ หรือตำรับตำราวิชาการนั่นหรอกค่ะ แต่ป้ายประกาศหรือฉลากยาน่ะ อ่านกันหน่อยได้ไหม… เภสัชกรคนสวย (ย้ำทุกตอนต้องมีคนเชื่อบ้างแหละ ฮ่า…) ขอร้อง..ง….ง……

 

แล้วเรื่องไม่อ่านฉลากยาน่ะก็เจอบ่อยนะคะ แต่ไม่ค่อยจะยอมรับกันดี ๆ เล้ย…

 

rx01ยาตัวนี้คุณลุงทานอย่างไรคะ

pt07หนึ่งเม็ดก่อนข้าวเช้า แล้วก็หนึ่งเม็ดก่อนข้าวเย็นน่ะคุณเภสัช โอ๊ย… ลุงใช้ยานี้มาหลายปีแล้ว ไม่มีทางทานผิดหรอกน่า

rx11อ้าว! คุณลุง เมื่อครั้งก่อนที่มาตรวจ น้ำตาลของคุณลุงลดต่ำมาก คุณหมอให้ลดขนาดเหลือเป็นก่อนข้าวเช้าเม็ดเดียว ทานวันละครั้งแล้วนี่คะ

pt04ฮ้า… จริงน่ะ อำกันเล่นใช่ไหมเนี่ย

rx08ไม่ได้อำล่ะค่ะ มิน่าล่ะ… คุณหมอให้ยาไปตั้งเยอะถึงได้หมดก่อนวันนัด แสดงว่าไม่ได้อ่านฉลากใช่ไหมคะเนี่ย…

pt07อ๊านนนนน… ลุงอ่านทุกครั้งแหละ

rx13ฮึ่ย… ยังจะเถียง! ถ้าอ่านทุกครั้งจะทานผิดได้ไงล่ะคะ

 

ก็อย่างที่ดิฉันเคยบอกผู้ป่วยหลายท่านมาก่อนแล้วค่ะว่า ยาน่ะมันมีช่วงขนาดของการใช้ น้อยไปก็ไม่ได้ผลรักษา มากไปก็เกิดอันตราย จะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกิดพิษน้อยสุดก็ควรต้องใช้ให้ถูกต้องตามขนาดที่แพทย์สั่ง จะมานั่งทางในนึกเอาว่าจะใช้เท่าไหร่ก็ใช้น่ะ …ไม่ควรอย่างยิ่งนะคะ!

 

แต่ก็นั่นแหละค่ะ ผู้ป่วยที่น่ารักของดิฉันหลายท่านก็เป็นผู้ป่วยสูงอายุ สายตาอาจจะฝ้าฟาง มองเห็นไม่ชัดเจน หรือบางท่านก็ร่ำเรียนเขียนอ่านมาน้อย ตามยุคสมัยที่ก่อนนั้นการเข้าถึงการศึกษามีจำกัด อ่านไม่ได้ หรืออ่านได้ยาก ลำบากนักก็เลยไม่อ่านซะเลย …ซะงั้น! ส่วนมากก็เลยใช้วิธีการจำเอา แต่ปัญหาที่พบมากก็คือผู้ป่วยสูงอายุแต่ละท่านไม่ได้มียาใช้ประจำกันแค่อย่างสองอย่างน่ะสิคะ บางท่านมียาที่ต้องใช้ประจำมากเสียจนชวนให้อิ่มแทนข้าวไปเลย แล้วยาพวกนี้ ก็จะมีการปรับขนาดการใช้ตามอาการเจ็บป่วย วิธีการใช้ก็เลยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สรุปว่า… จำยากน่ะแหละค่ะ

 

แล้วก็พบเป็นประจำว่าผู้ป่วยหลายท่านที่มีปัญหาในการอ่านฉลากยา ไม่ค่อยจะบอกให้แพทย์และเภสัชกรรู้ ดังนั้น บางครั้งในขณะจ่ายยา หากพบผู้ป่วยที่ใช้ยาผิดและน่าสงสัยว่าจะมีปัญหาดังกล่าว เภสัชกรจึงมักใช้เวลาพูดคุยหรือซักถามค่อนข้างนาน ผู้ป่วยท่านอื่น ๆ ที่รอรับยาอยู่ก็กรุณาทำใจร่ม ๆ สักนิดนะคะ เพราะบางทีก็มีน้ำเสียงหงุดหงิดบ่นลอยตามลมมาว่า…

ไม่รู้จะคุยอะไรนักหนา ให้ยายเอายากลับบ้านไปให้ลูกหลานอ่านให้ก็ได้หรอก

 

แหม… ไม่อยากได้ยินอย่างนี้เลยค่ะ  เพราะอดจะออกอาการ ‘องค์ลง’ ไม่ค่อยได้ …เหอ ๆ

rx10

 

ก็เข้าใจค่ะว่าทุกท่านอยากรับยาเร็ว ๆ จะได้รีบกลับบ้าน แต่วิธีการที่ท่านเสนอแนะมานั้นใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยทุกรายนะคะ โดยเฉพาะหากพบว่าผู้ป่วยรายไหนเคยมีปัญหาการใช้ยาผิดโดยไม่จงใจมาหลายครั้ง

เพราะพบว่าผู้ป่วยสูงอายุบางครอบครัวก็อยู่กันตามลำพังสองคนตายายจริง ๆ ลูกหลานซึ่งอยู่ในวัยแรงงานก็ไปทำงานหาเงินอยู่ต่างถิ่น หรือแม้จะอยู่ด้วยกัน แต่ก็ต้องรีบไปทำงานแต่เช้าตรู่และกลับมาเมื่อมืดค่ำ ไม่ได้มีเวลามาดูแลตลอดทั้งวัน

และผู้ป่วยสูงอายุที่ดิฉันพบว่ามีปัญหาในการใช้ยา ส่วนมากจะขี้เกรงใจค่ะ ไม่ต้องการให้ตัวเองเป็นภาระกับลูกหลาน จึงพยายามช่วยเหลือตัวเองมากกว่าจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ น่ะค่ะ

 

จริง ๆ แล้ว การอ่านฉลากยาไม่ออก หรืออ่านได้ลำบาก ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือต้องมาคิดเกรงใจนะคะ rx12หากผู้ป่วยท่านใดมีปัญหาดังกล่าว และไม่มีลูกหลานอยู่ดูแลใกล้ชิด อยากเรียนให้ทราบว่าท่านควรแจ้งเภสัชกรขณะที่รับยาด้วยค่ะ เพื่อที่เราจะมาหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน เพราะแนวทางหรือเครื่องมือที่ใช้มีหลากหลาย ตั้งแต่การเขียนสัญลักษณ์ที่ฉลาก การทำตัวอย่างยาที่ท่านต้องรับประทานในแต่ละมื้อ ตลอดจนการจัดเป็นซองยาชุดเฉพาะราย แต่ละวิธีการมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยค่ะ เราจึงต้องมาช่วยกันหาว่าแนวทางใดที่จะเหมาะสมกับท่านที่สุด

 

แหม… ตอนเริ่มพิมพ์ ดิฉันกะว่าจะเล่าสู่กันฟังเรื่องการอ่านฉลากยาให้ได้ประโยชน์นะคะ แต่ฝอยมากไปหน่อย (ฮ่า…) ก็เลยยาวมากกกกกกกแล้ว งั้นขอยกยอดไว้คราวหน้า …ถ้าไม่ขี้เกียจไปซะก่อนนะคะ (ฮ่า…)


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
OTC Drug Facts Label. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/drug-information-consumers/otc-drug-facts-label)
How to Read Over the Counter Drug Labels. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/understanding-drug-labels-1124112)
Tips to Prevent Poisonings | Home and Recreational Safety. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/homeandrecreationalsafety/poisoning/preventiontips.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป