"รางจืด" สมุนไพรช่วยล้างพิษ จากตำราแพทย์แผนไทย

ศึกษาคุณสมบัติและวิธีใช้งานให้ดีก่อนใช้งานจริง เพื่อประโยชน์สูงสุด
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
"รางจืด" สมุนไพรช่วยล้างพิษ จากตำราแพทย์แผนไทย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • รางจืดป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณโดดเด่นในเรื่องการล้างพิษ ขับพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย เนื่องจากมีสารพิเศษที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส อันเป็นสาเหตุของโรคงูสงัด โรคเริม และการอักเสบต่างๆ ได้
  • วิธีใช้รางจืดเป็นยาแก้พิษ ทำได้โดยเอาใบสดครั้งละ 10-12 ใบมาคั้นผสมกับน้ำซาวข้าว แล้วใช้รากสดอายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ราก มาฝนผสมลงไปกับน้ำซาวข้าว เทรวมกันประมาณครึ่งแก้ว ดื่มในทันทีในขณะกำลังมีอาการจะช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นภายใน 15-60 นาที 
  • วิธีใช้รางจืดเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ และช่วยแก้พิษร้อน ทำได้โดยนำส่วนของรากและเถามารับประทาน
  • ผู้ที่ต้องการใช้รางจืดเพื่อบำรุงร่างกาย ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่เข้มข้นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำรางจืดติดต่อกันทุกวันเพราะจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล มีการสะสมของสารบางชนิดมากเกินควรจนส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ 

รางจืดจัดอยู่ในกลุ่มของว่านมงคลและเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสมุนไพรช่วยล้างพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอดีตแพทย์แผนไทยนิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับแก้พิษไข้ แก้พิษยาสั่ง พิษยาฆ่าแมลงและสัตว์ หรือแก้พิษเห็ด  

นอกจากสรรพคุณทางด้านแก้พิษแล้ว รางจืดยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่นๆ อีก ผู้คนจึงนิยมนำมาดื่มและรับประทานกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทาน หรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพรชนิดนี้ให้ดีที่สุด บทความนี้จะไปทำความรู้จักแบบทุกซอกทุกมุม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลักษณะของรางจืด

  • รางจืด หรือว่านรางจืด มีชื่อสามัญว่า Laurel Clockvine, Blue Trumphet Vine และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Thunbergia laurifolia Lindl. อยู่ในวงศ์เดียวกันกับเหงือกปลาหมอ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น รางเย็น คาย ทิดพุด ย่ำแย้ แอดแอ น้ำนอง จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ ดุเหว่า 
  • ลักษณะของต้น รางจืดเป็นพืชสมุนไพรประเภทไม้เถา หรือไม้เลื้อย ส่วนของเถา หรือลำต้นมีลักษณะกลมและเป็นปล้องสีเขียวเข้ม หรือเขียวสด ไม่มีขนปกคลุม เลื้อยเกาะกิ่งไม้อื่นๆ ได้โดยไม่มีมือจับเหมือนต้นมะระ หรือตำลึง แต่จะใช้วิธีพันตัวลำต้นขึ้นไป
  • แหล่งที่พบ สามารถพบพืชสมุนไพรชนิดนี้ได้ตามประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย พบมากตามป่าดิบชื้นของไทยเกือบทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็ว ใช้เพียงเถาปักชำก็สามารถขยายพันธุ์ได้แล้ว
  • ใบของต้นรางจืด จะออกเป็นใบเดี่ยวๆ ตรงข้ามกัน รูปทรงของใบคล้ายรูปหัวใจ บริเวณโคนใบมีความมนเว้าเข้าหากัน ปลายใบเรียวแหลม มีความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นที่มองเห็นได้ชัดออกจากโคนใบ 3 เส้น
  • ผลรางจืด เป็นฝักกลมมีปลายเป็นจงอย เมื่อแก่จัดแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก
  • ดอกของรางจืด ออกดอกเป็นช่อห้อยลงมาอยู่ตามซอกใบ ออกช่อละ 3-4 ดอกรวมกัน มีสีม่วง หรือม่วงอมฟ้า ด้านล่างจะมีใบประดับเป็นสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปจาน ส่วนดอกลักษณะเหมือนรูปแตรสั้น โคนกลีบเป็นสีเหลืองอ่อนลักษณะเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในมักจะมีน้ำหวานสะสมอยู่ 

ประโยชน์จากการรับประทานรางจืด

การรับประทานรางจืดให้ประโยชน์ที่เด่นๆ ในฐานะที่เป็นยาถอนพิษชั้นยอด นิยมนำเอาใบ ราก และเถาสดมาใช้ 

สรรพคุณทางด้านตัวยาที่นิยมนำเอามารับประทานกัน มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการที่ต้องการแก้ สามารถเอาใบสดมาคั้นผสมกับน้ำซาวข้าว ผสมเข้าด้วยกัน กรองเอาแต่น้ำดื่ม เพื่อช่วยล้างพิษ

ส่วนของรากและเถานิยมนำมากินเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ และช่วยแก้พิษร้อน 

รางจืดกับสรรพคุณกำจัดพิษ

ในรางจืดประกอบด้วยสารพิเศษที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส อันเป็นสาเหตุของโรคงูสงัด โรคเริม และการอักเสบต่างๆ ได้ 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้รางจืดถอนพิษในผู้ที่ได้รับสารอันตรายจากยาฆ่าแมลงในกลุ่มมออร์กาโนฟอสเฟต หรือผู้ที่ได้รับพิษจากแมงดาทะเล ได้ ทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีการตอบสนองที่ดีขึ้น ปริมาณของพิษในร่างกายลดลง และช่วยแก้ไขให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากการเสียชีวิตได้ 

นอกจากนี้รางจืดยังสามารถลดพิษของตะกั่วที่สะสมในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองในด้านความจำและการเรียนรู้ เนื่องจากรางจืดจะเข้าไปช่วยป้องกันการตายของเซลล์สมอง กำจัดพิษตะกั่ว และลดการเกิดสารอนุมูลอิสระ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การนำรางจืดไปใช้แก้พิษ

  1. หากเกิดพิษที่รุนแรงเข้าสู่ร่างกายจะนำใบรางจืดมารับประทานครั้งละ 10-12 ใบ ตำรวมกับน้ำซาวข้าว แล้วใช้รากสดอายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ราก มาฝนผสมลงไปกับน้ำซาวข้าว เทรวมกันประมาณครึ่งแก้ว ดื่มในทันทีในขณะกำลังมีอาการจะช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นภายใน 15-60 นาที แต่อาจะมีผลข้างเคียงตามมาจากพิษที่ร่างกายขับออกยังไม่หมด
  2. การใช้ใบรางจืดแห้งประมาณ 300 กรัม ผสมกับน้ำ 1 ลิตร นำไปต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว โดยนำมาดื่มขณะอุ่นๆ อยู่ จะช่วยกำจัดพิษได้
  3. ส่วนของรากฝอย สามารถนำเอามาหั่น นำไปผึ่งลมตากให้แห้ง บดให้เป็นผง ผสมน้ำดื่ม หรือจะปั้นเป็นเม็ดรับประทาน ประมาณ 5 กรัมต่อเม็ด รับประทานทุกๆ 1-2 ชั่วโมง สำหรับแก้พิษรุนแรง
  4. ในการใช้รางจืดแก้ไข หรือร้อนใน รวมไปถึงการถอนพิษไข้และพิษสุรา ใช้ใบรางจืดสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาชงกับน้ำดื่ม หรือทำเป็นเม็ดรับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้
  5. นำใบรางจืดตากแห้ง ทำเป็นชาสมุนไพร ดื่มวันละแก้วเพื่อบำรุงร่างกาย

ข้อควรระวังในการรับประทานรางจืด

การรับประทานรางจืดอย่างเหมาะสมและให้ปลอดภัยมากที่สุด หากเป็นการแก้พิษที่มีความรุนแรงจะต้องมีความรู้ในการนำรางจืดไปใช้อย่างถูกต้อง 

ส่วนในกรณีที่ไม่รุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการใช้เพื่อบำรุงร่างกาย ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่เข้มข้นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำรางจืดติดต่อกันทุกวันเพราะจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล มีการสะสมของสารบางชนิดมากเกินควรจนส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้

เมื่อรางจืดก็เป็นเหมือนกับสมุนไพรทั่วไปที่มีสรรพคุณหลายด้านทั้งช่วยรักษาและบำรุงร่างกาย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดในการนำไปใช้ ก็ควรทำการศึกษารายละเอียดต่างๆ และวิธีรับประทานอย่างถูกหลักก่อนทุกครั้ง 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Palipoch, Sarawoot & Tansatit, Tawewan & Preyavichyapugdee, Narin & Jaikua, Wipaphorn & Kosai, Piya. (2011). Effect of Thunbergia laurifolia (Linn) Leaf Extract Dietary Supplement Against Lead Toxicity in Nile Tilapia (Oreochromis niloticus). World Journal of Fish and Marine Sciences. 3. 1-9. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/258358837_Effect_of_Thunbergia_laurifolia_Linn_Leaf_Extract_Dietary_Supplement_Against_Lead_Toxicity_in_Nile_Tilapia_Oreochromis_niloticus)
Palipoch, Sarawoot & Tansatit, Tawewan & Preyavichyapugdee, Narin & Jaikua, Wipaphorn & Kosai, Piya. (2011). Protective efficiency of Thunbergia laurifolia leaf extract against lead (II) nitrate-induced toxicity in Oreochromis niloticus. Journal of Medicinal Plants Research. 5. 719-728. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/258358682_Protective_efficiency_of_Thunbergia_laurifolia_leaf_extract_against_lead_II_nitrate-induced_toxicity_in_Oreochromis_niloticus)
Thongsaard, Watchareewan & Marsden, Charles & Morris, Peter & Prior, Malcolm & Shah, Yasmene. (2005). Effect of Thunbergia laurifolia, a Thai natural product used to treat drug addiction, on cerebral activity detected by functional magnetic resonance imaging in the rat. Psychopharmacology. 180. 752-60. 10.1007/s00213-005-0053-0. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/7743419_Effect_of_Thunbergia_laurifolia_a_Thai_natural_product_used_to_treat_drug_addiction_on_cerebral_activity_detected_by_functional_magnetic_resonance_imaging_in_the_rat)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)