นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป
เขียนโดย
นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป

ใส่หูฟังนานๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือไม่?

ใส่หูฟัง ควรเปิดเพลงดังแค่ไหน ฟังนานแค่ไหนถึงจะพอดี ไม่เป็นอันตรายต่อหูของคุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ใส่หูฟังนานๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หากได้ยินเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล ติดต่อกันนาน 8 ชั่วโมงจะเป็นอันตรายต่อการได้ยิน เช่น เสียงนกหวีด เสียงจราจรที่มีความหนาแน่น เสียงจักรยานยนต์
  • แต่เสียงที่เกิน 100 เดซิเบล ไม่ควรได้ยินติดต่อกันนาน 15 นาที ซึ่งผู้ที่ใช้หูฟังมักจะใช้นานกว่า 15 นาทีเสมอ จึงอาจเป็นอันตรายได้
  • นอกจากนี้ หากใส่หูฟังที่แน่นเกินไปอาจทำให้เกิดเป็นแผลอักเสบหรือติดเชื้อได้ เพราะเมื่อใส่หูฟังนานๆ ทั้งความชื้นและเหงื่ออาจทำให้แบคทีเรียที่รูหูมีจำนวนมากขึ้น
  • การใช้หูฟังที่ถูกต้องคือ ฟังที่ระดับความดังไม่เกิน 60% ของความดังสูงสุด ไม่เกิน 60 นาที หรือใช้หูฟังตัดเสียงรบกวน จะทำให้ลดความดังเสียงได้ 
  • นอกจากการใช้หูฟังถูกวิธีแล้ว การหมั่นดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้คุณสามารถทราบอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ปัญหายังไม่ลุกลาม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1910 นาทาเนียล บอลด์วิน (Nathaniel Baldwin) ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นประดิษฐ์ชุดหูฟังวิทยุเป็นคนแรก ทำให้มีการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ใช้ควบคู่กับสมาร์ตโฟนหรือแล็ปท็อปที่ขาดไม่ได้ ก็คือ “หูฟัง” นั่นเอง

หูฟังของหลายค่ายต่างแข่งกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ทันสมัย มีลูกเล่นหลากหลาย หลายคนจึงใช้หูฟังติดหูเป็นเวลานาน ในบทความนี้จะอธิบายถึงว่า การใช้หูฟังนั้นเป็นอันตรายต่อการได้ยินหรือไม่ เปิดเพลงดังเท่าไรถึงจะเป็นอันตราย ใช้หูฟังได้นานแค่ไหนถึงจะปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การใส่หูฟังมีผลต่อการสูญเสียการได้ยินหรือไม่ อย่างไร?

การได้รับเสียงดังจนเกินไปย่อมเป็นอันตรายต่อการได้ยิน ทำให้สูญเสียการได้ยินจากเสียงได้ (Noise-induced hearing loss) เสียงจากหูฟังก็เช่นกัน หากผู้ฟังเปิดเสียงดังเกินไป ฟังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้สูญเสียการได้ยินได้

ตามคำแนะนำในผู้ที่ทำงานซึ่งต้องได้รับมลภาวะทางเสียง ของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อของประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control:CDC) กำหนดให้ไม่ควรได้รับเสียงความดัง 85 เดซิเบล ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง

ซึ่งมีการศึกษาวิจัยว่า หากได้รับเสียงดังเท่านี้เกินเวลา 8 ชั่วโมงจะเป็นอันตรายต่อการได้ยิน และในทุกๆ ความดังที่เพิ่มขึ้น 3 เดซิเบลจาก 85 เดซิเบลนั้น จะสามารถรับเสียงได้ติดต่อกันนานลดลงครึ่งหนึ่ง เพื่อความเข้าใจและประมาณความดังของเสียงต่างๆ ที่ชัดเจน จึงทำเปรียบเทียบดังตารางด้านล่าง

 

 
ความดังเปรียบเทียบความดังกับสิ่งใกล้ตัวระยะเวลาที่ไม่ควรได้รับเสียงติดต่อกันเกิน
85 dBเสียงนกหวีด, เสียงรถจักรยานยนต์, เสียงในที่มีการจราจรหนาแน่น8 ชั่วโมง
88 dB4 ชั่วโมง
91 dBเสียงแตรรถยนต์, เสียงเครื่องตัดหญ้า, เสียงเครื่องจักรในโรงงาน2 ชั่วโมง
94 dB1 ชั่วโมง
97 dBเสียงไซเรนในระยะประมาณ 30 เมตร, เสียงขุดเจาะถนน30 นาที
100 dB15 นาที

มีการสำรวจค่าเฉลี่ยของหูฟังที่คนทั่วไปฟัง พบว่ามีความดังประมาณ 100 เดซิเบล ซึ่งหมายความว่า ไม่ควรได้รับเสียงความดังนี้ติดต่อกันเกิน 15 นาที แต่โดยปกติแล้ว การฟังเพลงหรือใช้หูฟังในกิจกรรมต่างๆ มักจะเกิน 15 นาทีแน่นอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า พฤติกรรมการใช้หูฟังของคนทั่วไปนั้นเป็นอันตรายต่อการได้ยิน

หูฟังแต่ละประเภทมีผลต่อการสูญเสียการได้ยินต่างกันหรือไม่ อย่างไร?

การใช้หูฟังแต่ละประเภทนั้น ถ้าเสียงที่เข้าไปในหูมีความดังเท่าๆ กัน ก็จะมีผลต่อการสูญเสียการได้ยินไม่แตกต่างกัน แต่การออกแบบหูฟังแต่ละประเภททำให้เสียงที่เข้าสู่หูของผู้ฟังมีลักษณะต่างกัน

เช่น การใช้หูฟังแบบครอบหู (Headphones) จะมีค่าเฉลี่ยความดังที่ใช้ต่ำกว่าการใช้หูฟังแบบเอียร์บัด (Earbuds) ประมาณ 9 เดซิเบล นั่นหมายความว่า จะสามารถใช้หูฟังได้เป็นระยะเวลานานสูงสุดที่จะไม่เป็นอันตรายได้แตกต่างกันถึง 8 เท่า

นอกจากนี้ การใช้หูฟังประเภทได้ยินผ่านกระดูก (Bone conduction headphones) จะมีประโยชน์ในเรื่องของความปลอดภัยในการขับขี่พาหนะบนถนน เนื่องจากสามารถได้ยินเสียงผ่านเข้าไปในรูหูได้ปกติ ขณะกำลังใช้หูฟังชนิดนี้

โดยสรุปแล้ว หูฟังแต่ละชนิดมีการออกแบบให้ใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน ผู้ฟังควรเลือกชนิดที่เหมาะสม และควรหยุดพักบ้าง ไม่ฟังต่อเนื่องนานเกินไป

นอกจากเรื่องสูญเสียการได้ยิน การใส่หูฟังนานๆ ยังทำให้เกิดผลอะไรได้อีกบ้าง

โดยทั่วไปแล้ว ในรูหูมีเชื้อแบคทีเรียต่างๆ มากมาย แต่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เนื่องจากในสภาวะปกติ เชื้อแบคทีเรียไม่ได้เจริญเติบโตได้ดีพอที่จะเป็นอันตราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่เมื่อมีการใช้หูฟังนานๆ บ่อยๆ จะมีการสะสมของแบคทีเรียจากความชื้น เหงื่อจากการออกกำลังกาย และสิ่งต่างๆทำให้เชื้อแบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้น เป็นสาเหตุให้มีการติดเชื้อในบริเวณหูชั้นนอก (Otitis externa) ได้

นอกจากนี้การใช้หูฟังที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับรูหู เช่น ใส่หูฟังแน่นจนเกินไป อาจทำให้มีอาการเจ็บและเกิดเป็นแผลบริเวณรูหูได้ ซึ่งแผลจากการเสียดสีจากหูฟังก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการอักเสบติดเชื้อบริเวณหูชั้นนอกได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมใกล้ตัวอย่างการใส่หูฟังต่อเนื่องนานๆ ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผิดปกติได้ ดังนั้นจึงหมั่นระมัดระวังการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเป็นเวลานาน และหาโอกาสตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้พบความผิดปกติตั้งแต่ในระยะแรกๆ หรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์หากพบความผิดปกติบริเวณหู 

ข้อแนะนำการใช้งานหูฟังให้ปลอดภัย

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หูฟัง ทั้งการเลือกชนิดหูฟัง การปรับระดับความดัง และวิธีเก็บรักษาทำความสะอาด มีดังนี้

  • เปิดความดังของหูฟังไม่เกิน 60-70% ของความดังสูงสุด
  • แนะนำให้ใช้กฎ 60/60 หมายถึง ฟังที่ระดับความดังไม่เกิน 60% ของความดังสูงสุด เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที แล้วพักการใช้งานเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีก่อนการใช้ครั้งถัดไป
  • ใช้หูฟังแบบครอบหูแทนการใช้งานหูฟังแบบอื่นๆ เพื่อตัดเสียงรบกวนจากภายนอก จะได้ใช้ความดังของหูฟังในระดับที่ต่ำลง
  • ใช้หูฟังที่สามารถตัดเสียงรบกวนได้ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Noise-cancelling headphones หลักการทำงานคือการตัดเสียงรบกวนที่มีความถี่ต่ำออกไป เช่น เสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อม การจราจรที่หนาแน่น ผู้คนพูดคุยกันในที่สาธารณะ

โดยการปล่อยคลื่นที่ตรงกันข้ามกับคลื่นความถี่ต่ำนั้น ทำให้มีการแทรกสอดของคลื่นจากหูฟังและคลื่นจากเสียงรบกวน เมื่อมีเฟส (Phase) ที่ตรงกันข้ามกัน เสียงรบกวนนั้นจึงหายไป การใช้หูฟังชนิดนี้จึงทำให้ใช้ความดังในการฟังลดลงนั่นเอง

  • ทำความสะอาดหูฟัง ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์หมาดๆ เช็ดสิ่งสกปรกออกไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • ไม่ใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่น
  • เก็บรักษาหูฟังในที่แห้งและสะอาด

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sarah Glynn, Noise From Earphones Can Damage Your Ears (https://www.medicalnewstoday.com/articles/249646.php), 30 August 2012.
Joy Victory, How to prevent hearing loss from headphones or earbuds (https://www.healthyhearing.com/report/52503-Headphones-when-hearing-danger-is-closer-than-you-think), 29 May 2019.
American Academy of Otolaryngology–Head and Neck Surgery Foundation, Your Ear Gear and Hearing Health (https://www.enthealth.org/be_ent_smart/your-ear-gear-and-hearing-health/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป