ขนาดของรูม่านตาสามารถระบุความง่วงนอนและการขาดการนอนได้

การวัดขนาดของรูม่านตานั้นมักใช้ในงานวิจัย
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ขนาดของรูม่านตาสามารถระบุความง่วงนอนและการขาดการนอนได้

คุณอาจจะแปลกใจที่พบว่าการวัดขนาดของรูม่านตานั้นสามารถระบุความง่วงนอนและระดับของการขาดการนอนหลับได้ การวัดนี้เรียกว่า pupillometry เป็นวิธีวัดที่มักใช้ในงานวิจัย โดยเป็นการวัดขนาดของรูม่านตา โดยขนาดและการเปลี่ยนแปลงของม่านตานั้นมีความหมาย

ขนาดของม่านตานั้นถูกกำหนดโดยระบบประสาทที่กระทำต่อกล้ามเนื้อที่ส่งผลต่อม่านตา

ซึ่งผลของเส้นประสาทต่อม่านตานี้จะมีความเปลี่ยนแปลงในระหว่างพักและในช่วงที่ตื่น ตัวอย่างเช่น หากคุณตื่น ระบบประสาท sympathetic จะทำงานและทำให้ม่านตาขยาย ทำให้สามารถรับข้อมูลได้มากขึ้น หากคุณกำลังจะถูกสินโตจับกิน ระบบประสาทนี้ก็จะทำให้คุณสามารถมองเห็นมันได้ชัดเจนก่อนที่จะเข้ามาถึงตัวคุณ ในขณะที่ระบบประสาท parasympathetic นั้นจะทำงานในช่วงพักและผ่อนคลาย ทำให้ม่านตากลับมาสู่สภาวะปกติและมีขนาดเล็กลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

งานวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการไม่ได้นอน ขนาดของม่ายตาและความเสถียรของม่านตา โดยผู้ที่มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะสามารถคงขนาดม่านตาในที่มืดได้นาน 15 นาที แต่หากคุณไม่ได้นอน ขนาดของม่านตาก็จะมีความเสถียรลดลง คือจะมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการขยายและการหดตัวไปมาแทนที่จะคงอยู่ในขนาดที่เท่าเดิม

นอกจากนั้นการที่ขนาดของม่านตาโดยรวมของคุณหดลงนั้นอาจแสดงว่ามันอ่อนแรงในการคงขนาดที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้นขนาดของม่านตาและความเสถียรของขนาดของม่านตานั้นสามารถระบุความง่วงนอนและความรุนแรงของการไม่ได้นอนได้ อย่างไรก็ตามการวัดขนาดของม่านตานี้ไม่ได้ใช้กันทั่วไป แต่ใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยและต้องใช้อุปกรณ์ที่พบในห้องทดลองเท่านั้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน
รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร? มาจากไหน? แตกต่างจากฝุ่นละอองทั่วไปในอากาศอย่างไร? อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
ระบบประสาททำงานอย่างไร
ระบบประสาททำงานอย่างไร

ระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ และการตอบสนองของร่างกาย มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีกระบวนการทำงานอย่างไร อ่านเลย!

อ่านเพิ่ม